หมวดหมู่: เกษตร

 

มจธ. ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร พร้อมเปิด ฐานเรียนรู้โซลาร์เซลล์และการบริหารจัดการน้ำเพื่อสนับสนุนเกษตรทฤษฎีใหม่.รางบัว .จอมบึง .ราชบุรี

          ปัญหาสำคัญในการทำเกษตรกรรมหรือการเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในพื้นที่ห่างไกล คือ การไม่มีไฟฟ้าใช้ และการขาดแคลนน้ำ ดังกรณีไร่นาสวนผสมพื้นที่ 6 ไร่ 2 งาน ของลุงเปี๊ยก หรือ นายสาทิตย์ เปี่ยมพิชัย เกษตรกรบ้านหนองน้ำใส หมู่ 14 .รางบัว .จอมบึง .ราชบุรี เดิมประสบปัญหาน้ำประปาและไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ทำให้การใช้ชีวิตของครอบครัว ทั้งการทำไร่และการดูแลสัตว์เลี้ยงภายในไร่ที่ผ่านมาต้องอาศัยแสงสว่างจากตะเกียงน้ำมัน และกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่รถยนต์สำหรับชาร์จไฟ โดยจะต้องคอยนำแบตเตอรี่ไปชาร์จไฟในชุมชนที่มีไฟฟ้าทุกๆ สามวัน และยังประสบปัญหาน้ำไม่เพียงพอในการทำเกษตรช่วงฤดูแล้ง

 

5650 ลุงเปี๊ยก


          ลุงเปี๊ยก เล่าว่า พื้นที่ตรงนี้ เป็นที่ สปก. ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ขณะที่บ่อน้ำที่มีอยู่เป็นบ่อเก่า ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน น้ำในบ่อจะแห้งเนื่องจากสภาพบ่อที่เสื่อมโทรมและตื้นเขิน ทำให้น้ำไม่พอใช้ เวลาจะใช้น้ำก็ต้องนำเครื่องสูบน้ำมาติดตั้ง ส่วนพื้นที่ไหนที่ท่อไปไม่ถึงก็ต้องใช้วิธีหามน้ำหิ้วน้ำไปรดต้นไม้ เดิมพื้นที่บริเวณนี้เคยปลูกต้นยูคาลิปตัสโดยมีการใช้สารเคมีมาก่อน ซึ่งก่อนที่จะมาทำไร่นาสวนผสม ลุงก็เริ่มจากการปลูกอ้อย และมันสำปะหลังแต่ได้ผลผลิตน้อย เพราะปลูกพืชเชิงเดี่ยวทำให้พื้นที่เสื่อมโทรม ต้องประสบภาวะขาดทุนมาตลอด จนเป็นหนี้กว่าเจ็ดแสนบาท จึงหยุดทำเกษตรไป 4 - 5 ปี เพื่อหาแนวทางฟื้นฟูสภาพดินที่เสื่อมโทรมและหันมาทำเกษตรผสมผสาน จนประสบความสำเร็จ ทำให้พลิกชีวิตจากที่ติดลบ ปัจจุบันไม่มีหนี้แล้วและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

          “เมื่อรู้ว่าสาเหตุที่สภาพดินเสื่อมโทรมมาจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวและการใช้สารเคมี ทำให้ปลูกพืชอะไรก็ไม่ได้ หรือได้ผลผลิตน้อย จึงตัดสินใจหันมาศึกษาแนวคิดการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยเรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพจากกรมพัฒนาที่ดินและยังเดินทางไปตามแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพราะตั้งใจว่าจะทำพื้นที่ตรงนี้ ให้เป็นพื้นที่เกษตรอินทรีย์ 100% ใช้เวลากว่า 5 ปี จนสามารถฟื้นฟูพื้นที่ที่เคยเสื่อมโทรมให้กลับมาดีขึ้น เริ่มปลูกผัก ผลไม้ และข้าวได้ ทุกอย่างค่อยๆ ดีขึ้น จนกลายเป็นเกษตรผสมผสานอย่างแท้จริง โดยในพื้นที่มีปลูกพืชมากมาย ทั้งส้มโอ ชมพู่ มะม่วง มะพร้าว กล้วย เงาะ มังคุด การทำนาข้าวอินทรีย์ และเลี้ยงปลา เลี้ยงวัว จนปี 2560 สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้จัดตั้งให้เป็นศูนย์ต้นแบบเกษตรทฤษฎีใหม่

 

5650 แปลงนาข้าวอินทรีย์

นาข้าวอินทรีย์

 

5650 บรรยากาศไร่นาสวนผสม

บรรยากาศภายในไร่นาสวนผสม

 

          ประกอบกับทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้เข้ามาช่วยสนับสนุนและถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่องของการบริหารจัดการน้ำและการใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาดหรือโซลาร์เซลล์ เมื่อปี 2562 โดยได้เข้าติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ ที่เรียกว่าชุดนอนนา เพื่อให้ไฟแสงสว่างและมีไฟฟ้าใช้ภายในบ้าน นอกจากนี้ยังได้ทำการขุดลอกบ่อ พร้อมกับแนะนำการใช้โซลาร์เซลล์สูบน้ำเพื่อลดต้นทุนแรงงาน และสอนการใช้ระบบการสั่งงานผ่านมือถือ ซึ่งเราสามารถสั่งการได้ทุกที่ทุกเวลา ทำให้สะดวกมากขึ้น ปัจจุบันได้เปิดเป็นฐานเรียนรู้ฯ เพื่อให้เป็นพื้นที่เรียนรู้และถ่ายทอดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวให้กับเกษตรกรในบริเวณใกล้เคียงและผู้สนใจลุงเปี๊ยก กล่าว

 

5650 พิธีเปิดฐานเรียนรู้โซล่าร์เซลล์

 

          โดย มจธ. ได้มีพิธีเปิด ฐานเรียนรู้โซลาร์เซลล์และการบริหารจัดการน้ำเพื่อสนับสนุนเกษตรทฤษฎีใหม่ .รางบัว .จอมบึง .ราชบุรี ภายใต้โครงการ การประยุกต์เทคโนโลยีรั้วไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับเลี้ยงสัตว์ขึ้น นำโดย รศ.ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มจธ. คณะผู้บริหารจาก มจธ. ราชบุรี คณะนักวิจัยห้องปฏิบัติการ ห้องปฏิบัติการ Center of Translational Agriculture Research (CTAR) พร้อมด้วยนักวิจัยจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นอกจากนี้ยังได้รับความสนใจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ องค์การบริหารส่วนตำบาลรางบัว สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) เกษตรอำเภอจอมบึง สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 10 ราชบุรี สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอจอมบึง กำนันตำบลรางบัว และเกษตรกรในชุมชน เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา

 

5650 อนุสรณ์ รัตนะธนโอภาส หัวหน้าโครงการ

 

          ด้าน นายอนุสรณ์ รัตนะธนโอภาส ในฐานะหัวหน้าโครงการ การประยุกต์เทคโนโลยีรั้วไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับเลี้ยงสัตว์กล่าวว่า โครงการดังกล่าว เป็นความร่วมมือของ 3 หน่วยงาน มจธ. คือ ศูนย์ส่งเสริมและสนับสนุนมูลนิธิโครงการหลวงและโครงการตามพระราชดำริ ร่วมกับศูนย์วิจัยและบริการเพื่อชุมชนและสังคม (ศวช.) และศูนย์บริการทางการศึกษาราชบุรี โดยการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เนื่องจากพื้นที่ในตำบลรางบัวส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ชาวบ้านที่เลี้ยงวัวจะต้อนฝูงวัวออกไปหากินตามชายป่านอกชุมชน ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง และล้อมคอกวัวด้วยรั้วไฟฟ้าที่ต่อกับแบตเตอรี่รถยนต์ บางรายต้องนอนเฝ้าสัตว์เลี้ยงในเวลากลางคืน คณะผู้วิจัยจึงได้คิดโครงการนี้ขึ้นมาว่าน่าจะมีระบบผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กแบบอิสระในพื้นที่ ที่สามารถต่อเข้ากับรั้วไฟฟ้าเพื่อให้เกษตรกรได้ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเบื้องต้น เช่น หลอดไฟ พัดลม และชาร์จโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น นอกจากนี้ได้รับโจทย์จากศูนย์เรียนรู้ฯ ของลุงเปี๊ยกว่า มีครัวเรือนพักอาศัยอยู่ภายในศูนย์ แต่ไม่มีไฟฟ้าใช้ จึงได้ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดเล็ก ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ และระบบไม่สลับซับซ้อน อุปกรณ์สามารถหาซื้อได้ในตลาดทั่วไป ที่สำคัญเกษตรกรจะต้องสามารถทำหรือประกอบและสามารถซ่อมแซมเองได้ไม่ยุ่งยาก ซึ่งก่อนการใช้งานทีมงานได้มีการถ่ายทอดความรู้และอบรมวิธีการใช้งานให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการในเบื้องต้น จึงเป็นที่มาของ ชุดโซลาร์เซลล์สูบน้ำควบคุมด้วยเทคโนโลยี IoT และชุดนอนนา 

 

5650 ฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการณ์แก่เกษตรกรรายย่อย

 

          และนำมาสู่การเปิดฐานเรียนรู้ฯ ดังกล่าวขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาฐานเรียนรู้สำหรับใช้เป็นพื้นที่ศึกษา ดูงาน ถ่ายทอดและขยายผลเทคโนโลยีสะอาดและบริหารจัดการน้ำสำหรับพื้นที่ที่นอกเขตชลประทาน ให้กับเกษตรกรที่ประสบปัญหา และยังสามารถใช้เป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำ รวมถึงการบริหารจัดการน้ำที่ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าในต้นทุนที่ต่ำ เพื่อให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน สอดคล้องกับบริบทของชุมชนตำบลรางบัว และที่สำคัญ คือ คาดหวังให้ฐานเรียนรู้แห่งนี้ เป็นต้นแบบของการทำเกษตรทฤษฎีใหม่บนฐานวิทยาศาสตร์ องค์ความรู้ต่างๆ และขยายผลเทคโนโลยีให้กับเกษตรกรและผู้สนใจต่อไป โดยแบ่งฐานกิจกรรมหลักออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) ฐานกิจกรรมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพเกษตรกร ประกอบด้วย ชุดโซลาร์เซลล์สูบน้ำควบคุมด้วยเทคโนโลยี IoT และชุดนอนนา 2) ฐานกิจกรรมการเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่และการพึ่งพาตนเอง ประกอบด้วย ฐานนาข้าวอินทรีย์ สวนเกษตรผสมผสาน เลี้ยงปลา ธนาคารวัว ฐานการทำน้ำหมักชีวภาพ และฐานการเรียนรู้การจัดการน้ำ/ปรับปรุงบ่อจิ๋ว

 

5650 ชุดนอนนา

ชุดนอนนา

 

          นายอนุสรณ์ ยังได้กล่าวถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพเกษตรกรว่า ในส่วนของ ชุดนอนนา เป็นระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบอิสระขนาดเล็กเหมาะสำหรับพื้นที่ที่สายไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ แผงโซลาร์เซลล์ ขนาด 100 W ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า กล่องควบคุมหรือคอนโทรลชาร์จเจอร์ ขนาด 20 A จะเป็นกล่องปรับแรงดันไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ให้เหมาะสม และแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนฟอสเฟต ขนาด 40 Ah เพื่อกักเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ในเวลากลางคืน ใช้งบประมาณ 5,000 บาท โดยขนาดชุดดังกล่าวสามารถใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ได้ทันที อาทิ พัดลม ทีวี หลอดไฟ LED อุปกรณ์ชาร์จโทรศัพท์ และ Wi-Fi ได้เพียงพอในแต่ละวัน ซึ่งในการออกแบบการใช้แผงโซลาร์เซลล์และขนาดของแบตเตอรี่นั้นขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ไฟฟ้าและชั่วโมงการใช้งานของแต่ละบ้าน ทั้งนี้การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ถือเป็นทางเลือกที่เหมาะสม และสะดวกสำหรับเกษตรกรรายย่อย สามารถเข้าถึงแหล่งพลังงานไฟฟ้าได้แม้อยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลสายส่งไฟฟ้าเข้าไม่ถึง และสามารถคืนทุนได้ภายใน 3-4 ปี

 

5650 ชุดโซลาร์เซลล์สูบน้ำควบคุมด้วยเทคโนโลยีIoT

ชุดโซลาร์เซลล์สูบน้ำควบคุมด้วยเทคโนโลยี IoT

 

          สำหรับชุดโซลาร์เซลล์สูบน้ำควบคุมด้วยเทคโนโลยี IoTหรือ เทคโนโลยีระบบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ควบคุมด้วยเทคโนโลยี IoT นั้น นายอนุสรณ์ กล่าวว่า เนื่องจากระบบโซลาร์เซลล์เป็นเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์เรื่องของต้นทุนค่าพลังงาน ประกอบกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคเกษตร และปริมาณน้ำต้นทุนมีไม่พอใช้ในช่วงฤดูแล้ง โดยแนวทางในการแก้ไขเรื่องน้ำ นอกจากปรับปรุงบ่อเก่าที่ตื้นเขินและขยายขนาดของบ่อเพิ่มเพื่อให้ได้ความจุเพียงพอในการกักเก็บน้ำในพื้นที่ไร่นาสวนผสมของลุงเปี๊ยกแล้ว ยังออกแบบระบบสูบน้ำที่ใช้กับแผงโซลาร์เซลล์ เป็นแบบระบบต่อตรงเข้ามาทดแทนปั๊มน้ำที่ใช้น้ำมัน ซึ่งปัจจุบันมีต้นทุนค่าพลังงานค่อนข้างสูง และสร้างมลภาวะ ถือเป็นการใช้พลังงานสะอาดร่วมกับการบริหารจัดการน้ำเข้ามาสนับสนุนการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ นอกจากนี้ยังได้นำระบบควบคุมสั่งงานด้วย IoT ผ่านมือถือ เพื่อช่วยลดการใช้แรงงาน เกษตรกรไม่ต้องเดินหาบน้ำหรือเข้ามาในพื้นที่ทุกวัน โดยสามารถสั่งการ ควบคุม ตั้งเวลา เปิด-ปิด รดน้ำพืชผลได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ด้วยงบประมาณที่เกษตรกรรายย่อยสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งประกอบด้วย แผงโซลาร์เซลล์ ปั๊มสูบน้ำ และชุดคอนโทรล ในงบประมาณเพียง 10,000 บาท ถือเป็นชุด Start up หรือชุดเริ่มต้นสำหรับสูบน้ำ ให้น้ำพืชแบบอัตโนมัติ บนพื้นที่ไม่เกิน 1 ไร่ ปัจจุบันเริ่มมีเกษตรกรในพื้นที่ให้ความสนใจติดตั้งใช้งานระบบ และยังเป็นการสร้างอาชีพใหม่ให้กับชุมชนอีกด้วย

 

A5650

 Click Donate Support Web 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100GC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!