หมวดหมู่: น้ำมัน-แก๊ส

OIL10


ราคาน้ำมันดิบทรงตัวในระดับสูง หลังอุปสงค์ยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งและมากกว่าอุปทานที่เพิ่มขึ้น

บทวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมันประจำสัปดาห์ โดย บมจ.ไทยออยล์: ฉบับวันที่ 2 สิงหาคม 2564

                         

ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 71-76 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวที่กรอบ 73-78 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

                                          

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ ( 2 – 6 ส.ค. 64)

        ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มทรงตัวในระดับสูงต่อเนื่อง หลังตลาดน้ำมันมีแนวโน้มตึงตัวเนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากกลุ่มโอเปกและประเทศพันธมิตร นอกจากนี้ ราคายังได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มปรับลดลงต่อเนื่องเนิองจากความต้องการใช้ที่เติบโตขึ้นและปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับจำกัด อย่างไรก็ตามตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากความไม่แน่นอนเรื่องของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและคาดจะส่งผลต่อกดดันต่อการฟื้นตัวของความต้องการใช้น้ำมัน

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:

           ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวลดลง หลังโรงกลั่นในสหรัฐฯ คาดจะคงกำลังการผลิตในระดับสูงต่อเนื่องเพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำมันที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูกาลขับขี่ โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 23 ก.ค. ปรับลดลง 4.0 ล้านบาร์เรลมาอยู่ที่ระดับ 435.6 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลดลง 2.9 ล้านบาร์เรล และนับเป็นระดับที่ต่ำสุดตั้งแต่ ม.ค. 63 ขณะที่ปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง ณ จุดส่งมอบคุชชิ่ง โอกลาโฮมา ปรับลดลง 1.27 ล้านบาร์เรลสู่ระดับ 35.4 ล้านบาร์เรล ซึ่งนับเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 63 เช่นกัน

1aaa2OIL8 2W

           ตลาดน้ำมันดิบยังคงมีแนวโน้มตึงตัวต่อเนื่อง หลังความต้องการใช้น้ำมันมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นสูงกว่าปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากกลุ่มโอเปกพลัสซึ่งมีมติปรับเพิ่มปริมาณการผลิตขึ้นเพียงเดือนละ 4 แสนบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่เดือน ส.ค.64 เป็นต้นไปจนกว่าระดับการผลิตที่ทางกลุ่มมีการปรับลดตั้งแต่ต้นปี 64 จะหมดลงในเดือน ก.ย. 65  ซึ่งน้อยกว่าความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ทางกลุ่มผู้ผลิตจะมีการประชุมครั้งถัดไปเพื่อพิจารณาปริมาณการผลิตอีกครั้งในการประชุมวันที่ 1 ก.ย. 64

           การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้ายังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นและส่งผลกดดันต่อตลาดน้ำมันอย่างต่อเนื่อง โดยจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ทั่วโลกยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น นำโดยแถบเอเชียตะวันออกเฉียง และประเทศในแถบยุโรปที่แม้ว่าจะมีความคืบหน้าของการฉีดวัคซีนแล้วอย่างมาก ส่งผลให้รัฐบาลหลายประเทศ ยังคงใช้มาตรการจำกัดการเดินทางเพื่อควบคุมการระบาดของเชื้อสายพันธุ์ดังกล่าว โดยล่าสุด สหรัฐฯ ยังคงจำกัดการเดินทางข้ามประเทศ โดยไม่ให้เดินทางข้ามประเทศไปยังทวีปยุโรปและอังกฤษ เนื่องจากการปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่

           อุปทานน้ำมันดิบสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย หลังผู้ผลิตในสหรัฐฯ ปรับเพิ่มการขุดเจาะน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติขึ้นต่อเนื่องในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสูงกว่าระดับ 70 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล โดย Baker Hughes รายงานแท่นขุดเขาะน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 23 ก.ค. อยู่ที่ระดับ 488 แท่น ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่า 94% จากปีก่อนหน้าที่ระดับ 237 แท่น 

           ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มทรงตัวและคาดว่าจะไม่ส่งผลกดดันต่อราคาน้ำมันดิบ หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 0.0 – 0.25% และมาตรการเข้าซื้อสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 1.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อ เดือน ในการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ในวันที่ 27-28 ก.ค. ที่ผ่านมา จนกว่าตลาดแรงงานจะฟื้นตัวขึ้นสู่ระดับเป้าหมายการจ้างงานที่มีศักยภาพ ขณะที่ FED ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมาเป็นผลมาจากการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ภาพรวมอัตราเงินเฟ้อในระยะยาวยังต่ำกว่าเป้าหมายที่ระดับ 2%

           การเจรจาข้อตกลงนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านและ 6 ประเทศมหาอำนาจยังคงไม่มีความคืบหน้าจนกว่าประธานาธิบดีคนใหม่ของอิหร่านจะมาดำรงตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 ส.ค. 64 ล่าสุดทั้งสองฝ่ายยังคงมีความเห็นไม่ตรงกันในหลายประเด็น อาทิเช่น ปัญหาเรื่องความไม่สงบในตะวันออกกลาง และความกังวลของอิหร่านว่าสหรัฐฯ อาจจะมีการกลับมาใช้มาตรการคว่ำบาตรอีกครั้งในอนาคต หากมีการเปลี่ยนแปลงเช่นที่เกิดขึ้นในปี 2561

           เศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมจีน เดือน ก.ค. 64 ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการยูโรโซน เดือน ก.ค. 64 และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการสหรัฐฯ เดือน ก.ค. 64 และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (26 – 30 ก.ค. 64) 

         ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับเพิ่ม 1.88 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 73.95 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เช่นเดียวกันกับราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับเพิ่ม 2.23 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 76.33 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 74.0 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หลังได้รับแรงหนุนจากความต้องการใช้น้ำมันที่ยังคงมีแนวโน้มเติบโตสูงกว่าอุปทานที่เพิ่มขึ้นอย่างจำกัดของกลุ่มโอเปกและประเทศพันธมิตร

       นอกจากนี้ ราคายังได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่ปรับลดลงมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดย EIA รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์ก่อนหน้า ปรับลดลง 4.1 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลดลง 2.9 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตาม ราคายังคงเผชิญกับแรงกดดันต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ โดยเฉพาะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียง อังกฤษ และทวีปอเมริกา

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!