หมวดหมู่: อสังหาริมทรัพย์ฯ

ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์


REIC ชี้กำลังซื้ออ่อนแอ-แบงก์เข้มสินเชื่อทำตลาดอสังหาฯวูบ โอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศเพียง 72,954 หน่วย

ศูนย์ข้อมูลฯ ชี้กำลังซื้ออ่อนแอ-แบงก์เข้มสินเชื่อทำตลาดอสังหาฯวูบหนักยอดโอนร่วงต่ำสุดในรอบ 6 ปี

นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคาร และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) กล่าวว่า สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยไตรมาส 1/67 พบการชะลอตัวลงอย่างมากในด้านอุปสงค์ ทั้งจำนวนหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศที่หดตัวลง 13.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศเพียง 72,954 หน่วย จากไตรมาส 1/66 ที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ 84,619 หน่วย

ซึ่งต่ำสุดในรอบ 25 ไตรมาส หรือในรอบ 6 ปี (ปี 61 - ไตรมาส 1/67) โดยทุกระดับราคาที่อยู่อาศัยมีการโอนที่ลดลง โดยกลุ่มราคาที่มีการโอนลดลงมากที่สุดเป็นกลุ่มระดับราคา 5.01-7.5 ล้านบาท ที่ลดลง 20% รองลงมาเป็นกลุ่มระดับราคา 1.51-2 ล้านบาท ลดลง 19.80% และระดับราคา 3.01-5 ล้านบาท ลดลง 18.2% และระดับราคา 2.01-3 ล้านบาท ลดลง 18% ซึ่งส่วนใหญ่มาจากแรงฉุดของการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยแนวราบที่ติดลบ 18.9% ในไตรมาส 1/67 ส่วนคอนโดมิเนียมติดลบเล็กน้อย 0.6%

โดยการชะลอตัวของการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในไตรมาส 1/67 มาจากกำลังซื้งของประชาชนยังคงอ่อนแอลง ประกอบกับความเข้มงวดของสถาบันการเงินที่เป็นปัจจัยฉุดการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย โดยสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยปล่อยใหม่ในไตรมาส 1/67 มีจำนวนต่ำสุดในรอบ 25 ไตรมาสเช่นเดียวกัน

โดยสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่ติดลบ 20.5% อยู่ที่ 1.21 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากความสามารถในการกู้สินเชื่อของคนที่ซื้อที่อยู่อาศัยลดลง ควบคู่ไปกับความเข้มงวดของสถาบันการเงิน และมาตรการ LTV ที่ยังคงมีอยู่ ส่วนสินเชื่อที่อยู่อาศัยคงค้างทั่วประเทศในไตรมาส 1/67 อยู่ที่ 4.95 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียง 3.8% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ขณะที่การเปิดโครงการใหม่ของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในช่วงไตรมาส 1/67 ในกรุงเทพฯและปริมณฑล ลดลง 38.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือมีจำนวนหน่วยที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ในไตรมาส 1/67 จำนวน 13,312 หน่วย แบ่งเป็น บ้านแนวราบ 7,214 หน่วย ลดลง 16.9% และคอนโดมิเนียม 6,098 หน่วย ลดลง 53% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ซึ่งมีข้อสังเกตว่าผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ให้ความระมัดระวังในการดำเนินธุรกิจ เพราะภาวะเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอน และกำลังซื้อยังไม่ฟื้นตัวกลับมาอย่างชัดเจน ซึ่งยังคงเป็นเทรนด์การชะลอตัวอยู่ และสถาบันการเงินยังเข้มงวดการให้สินเชื่อ ประกอบกับภาวะอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวในระดับสูงนาน ทำให้ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ต่างระมัดระวังการลงทุน และการพิจารณาในด้านซัพพลายที่อยู่อาศัยของตลาดให้สอดคล้องกับดีมานด์ในตลาดด้วยเช่นกัน

สำหรับ การโอนกรรมสิทธิ์ของกลุ่มชาวต่างชาติ พบว่าคอนโดมิเนียมมียอดการซื้อจากชาวต่างชาติเพิ่มมากขึ้น และยังเป็นภาพการเติบโตทั้งการซี้อแการโอนกรรมสิทธิ์ของชาวต่างชาติต่อเนื่อง ท่ามกลางภาวะที่กำลังซื้อในประเทศที่อ่อนแอ

โดยกลุ่มลูกค้าชาวจีนยังคงมีการโอนกรรมสิทธิ์เป็นอันดับ 1 ในไตรมาส 1/67 ซึ่งมีการโอนกรรมสิทธิ์จำนวร 1,596 หน่วย เพิ่มขึ้น 41% แต่อันดับ 2 ที่เร่งตัวขึ้นมาค่อนข้างมาก คือ เมียนมาร์ ที่ขึ้นมาแซงรัสเซีย โดยชาวเมียนมาร์ โอนกรรมสิทธิ์ในไตรมาส 1/67 จำนวน 392 หน่วย เพิ่มขึ้น 10% ส่วนอันดับที่ 3 คือ รัสเซีย มีจำนวนหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ในไตรมาส 1/67 อยู่ที่ 295 หน่วย เพิ่มขึ้น 7%

โดยกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติถือว่าเป็นปัจจัยที่ยังคงช่วยหนุนตลาดที่อยู่อาศัยในประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มคอนโดมิเนียม สะท้อนให้เห็นความจำเป็นและโอกาสที่จะต้องดึงกำลังซื้อใหม่ๆให้เข้ามากระตุ้นตลาดที่อยู่อาศัยและภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศในระยะสั้น เพื่อให้มีผลกระมบเชิงลบที่น้อยต่อตลาด ในช่วงที่รอการฟื้นตัวของกำลังซื้อในประเทศ แม้ว่าจะยังมีความไม่แน่นอนว่ากำลังซื้อในประเทศจะฟื้นตัวขึ้นได้ดีหรือไม่ ซึ่งจำเป็นต้องเกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน

ด้านแนวโน้มไตรมาส 2/67 แม้ว่าทางรัฐบาลจะออกมาตรการสนับสนุนตลาดอสังหาริมทรัพย์ออกมาในช่วงต้นเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา แต่มาตรการดังกล่าวยังคงต้องใช้ระยะเวลาในการที่จะเริ่มเห็นผลอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพราะปัจจุบันกำลังซื้อในประเทศยังอ่อนแอ อัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับสูง ทำให้คนชะลอการซื้อที่อยู่อาศัย และเผชิญความเข้มงวดในการพิจารณาสินเชื่อของสถาบันการเงิน

ประกอบกับในช่วงไตรมาส 2/67 เป็นช่วงของเทศกาลที่มีวันหยุดยาวให้คนท่องเที่ยว รวมทั้งเป็นช่วงเปิดเทอม ทำให้คนมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เงินที่จะนำมาใช้ซื้อที่อยู่อาศัยถูกดึงออกไป ส่งผลให้ภาพของตลาดที่อยู่อาศัยในไตรมาส 2/67 ยังคงเป็นภาพการชะลอตัวต่อเนื่องต่อจากไตรมาส 1/67

"ตอนนี้ยังไม่มีปัจจัยบวกมาก แม้ว่ารัฐบาลจะมีมาตรการกระตุ้นอสังหาฯจากรัฐบาลออกมา แต่ก็ยังไม่ส่งผลบวกมาก ยังต้องรอผลของมาตรการ และเดือนเม.ย.ยังเป็นฤดูกาลท่องเที่ยว เดือนพ.ค.ก็เปิดเทอม เงินของคนก็ถูกดึงไปใช้ และคนที่จะซี้อบ้านก็ยังรอโปรโมชั่นของผู้ประกอบการ ทำให้ภาพตลาดที่อยู่อาศัยยังซึม แต่จะซึมยาวหรือไม่ก็ต้องรอดูว่าครึ่งปีหลังนี้จะพลิกกลับมาฟื้นได้ไหม" นายวิชัย กล่าว

อย่างไรก็ตาม ยังคงคาดหวังการฟื้นตัวของตลาดที่อยู่อาศัยในช่วงครึ่งปีหลังนี้ โดยมาจากผลของมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐที่มีโอกาสเห็นผลมากขึ้น รวมถึงภาพเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวกลับมาดีขึ้นอย่างชัดเจน ทำให้กำลังซื้อในประเทศกลับมาได้บ้าง และมีความมั่นใจในการซื้อที่อยู่อาศัยกลับมามากขึ้น

ประกอบกับทิศทางดอกเบี้ยนโยบายของไทยหากลดลงได้ 0.25% จะช่วยหนุนต่อการฟื้นตัวขึ้นของตลาดที่อยู่อาศัยได้ โดยที่ยังคาดว่าทั้งปี 67 อยู่ที่ 386,376 หน่วย เพิ่มขึ้น 5.5% จากปีก่อน และสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่อยู่ที่ 6.98 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 3% จากปีก่อน

 

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!