หมวดหมู่: เกษตร

1AA1A3A1LSDV


กระทรวงเกษตรประกาศแผนการกระจายวัคซีน 5 ล้านโด๊ส ครอบคลุม 65 จังหวัด ได้รับผลกระทบจากโรคลัมปี - สกิน รมช.ประภัตรเผยกรมปศุสัตว์ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลิตวัคซีน LSDV คาดพร้อมใช้งานใน 60 วัน

        นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สถานการณ์ความคืบหน้าการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคลัมปี – สกิน (LSDV) 5 ล้านโด๊สที่นำเข้ามานั้น วัคซีนล็อตแรกกว่า 1 ล้านโด๊ส มาถึงประเทศไทยแล้ว ตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2564 และจะทะยอยเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้กรมปศุสตว์ ได้จัดทำแผนการจัดสรรวัคซีนสำหรับกระจายวัคซีน 5 ล้านโด๊ส ให้กับ 65 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากโรคลัมปี – สกินเรียบร้อยแล้ว   ดั้งนี้

    พื้นที่ปศุสัตว์เขต 1 จังหวัดกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธายา จังหวัดอ่างทอง จังหวัดลพบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดชัยนาท และจังหวัดสระบุรี มีประชากรโค - กระบือ รวม 463,803 ตัว ได้รับการจัดสรรวัคซีน 224,100 โด๊ส

  พื้นที่ปศุสัตว์เขต 2 จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดนครนายก และจังหวัดสระแก้ว มีประชากรโค - กระบือ รวม 269,287 ตัว ได้รับการจัดสรรวัคซีน 130,100 โด๊ส

  พื้นที่ปศุสัตว์เขต 3 จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดยโสธร จังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดอำนาจเจริญ มีประชากรโค - กระบือ รวม 3,359,880 ตัว ได้รับการจัดสรรวัคซีน 1,623,300 โด๊ส

  พื้นที่ปศุสัตว์เขต 4 จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวักกาฬสินธุ์ จังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร มีประชากรโค - กระบือ รวม 2,334,733 ตัว ได้รับการจัดสรรวัคซีน 1,127,900 โด๊ส

  พื้นที่ปศุสัตว์เขต 5 จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำพูน จังหวัดลำปาง จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีประชากรโค - กระบือ รวม 839,412 ตัว ได้รับการจัดสรรวัคซีน 405,600 โด๊ส

  พื้นที่ปศุสัตว์เขต 6 จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดตาก จังหวัดสุโขทัย จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดพิจิตร และจังหวัดเพชรบูรณ์ มีประชากรโค - กระบือ รวม 779,635 ตัว ได้รับการจัดสรรวัคซีน 376,600 โด๊ส

  พื้นที่ปศุสตว์ เขต 7 จังหวัดราชบุรี จังหวัดกาณจนบุรี จังหวัดสุพรรณ จังหวัดนครปฐม จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีประชากรโค - กระบือ รวม 1,166,145 ตัว ได้รับการจัดสรรวัคซีน 563,400 โด๊ส

  พื้นที่ปศุสัตว์ เขต 8 จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดกระบี่ จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร จังหวัดตรัง และจังหวัดพัทลุง มีประชากรโค - กระบือ รวม 706,502 ตัว ได้รับการจัดสรรวัคซีน 341,300 โด๊ส

  พื้นที่ปศุสัตว์ เขต 9 จังหวัดสงขลา จังหวัดสตูล จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส มีประชากรโค - กระบือ รวม 429,852 ตัว ได้รับการจัดสรรวัคซีน 207,700 โด๊ส

  นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันผลิตวัคซีนป้องกันโรคลัมปี – สกินขึ้นมาเองแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดลองผล โดยคาดว่าจะสามารถนำมาใช้งานจริงได้ภายใน 60 วัน ซึ่งจะเข้ามาเสริมกับวัคซีนที่นำเข้ามา ทำให้ปริมาณวัคซีนให้เพียงพอต่อประชากรสัตว์ของประเทศ และคาดว่าสถานการณ์การระบาดของโรคลัมปี - สกินนั้น จะจบลงภายในสองเดือน

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แถลงความคืบหน้ามาตรการเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบสัตว์ตายจากโรคลัมปี - สกิน รมช.ประภัตรประกาศหากสัตว์ป่วยตายจริงตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564 พร้อมเยียวยาอย่างทั่วถึง และเป็นธรรม

       นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการแถลงข่าว ความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ โค - กระบือ เสียชีวิตจากโรคลัมปี – สกิน ณ  ห้องประชุม 112 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยจากรายงานของกรมปศุสัตว์ สำหรับสถานการณ์การระบาดของโรคลัมปี - สกิน ในโค - กระบือนั้น กรมปศุสัตว์ได้มีมาตรการต่างๆ ในการควบคุมโรค ทำให้สถานการณ์การระบาดเริ่มดีขึ้นตามลำดับ โดยขณะนี้พบการระบาดสะสม รวม 65 จังหวัด เกษตรกรได้รับผลกระทบ 268,371 ราย โค - กระบือป่วยสะสม 581,747 ตัว รักษาหายแล้ว 441,543 ตัว อยู่ระหว่างการรักษา 90,879 ตัว ป่วยตายสะสม 51,073 ตัว (ข้อมูล ณ วันที่ 7 กันยายน 2564)

      สำหรับ อัตราการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบโค - กระบือ เสียชีวิตจากโรคลัมปี - สกิน ตามหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564 นั้น

       โค ได้ไม่เกินรายละ 5 ตัว อายุน้อยกว่า 6 เดือน 13,000 บาท อายุ 6 เดือนถึง 1 ปี 22,000 บาท อายุมากกว่า 1 ปีถึง 2 ปี 29,000 บาท อายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป 35,000 บาท

       กระบือ ไม่เกินรายละ 5 ตัว อายุน้อยกว่า 6 เดือน 15,000 บาท  อายุ 6 เดือนถึง 1 ปี 24,000 บาท อายุมากกว่า 1 ปีถึง 2 ปี 32,000 บาท  อายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป 39,000 บาท

       สำหรับ ประกาศหลักเกณฑ์ปลีกย่อยฯ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป แต่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ขอยกเว้นการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดลองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2563 และหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564 ไปยังกระทรวงการคลัง ทำให้สามารถเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโรคลัมปี –สกิน ย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564 ครอบคลุมทั้งเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน และยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน รวมถึงกรณีที่เกษตรกรไม่ได้เก็บหลักฐานการตายของสัตว์ไว้ ก็สามารถไปแจ้งที่ปศุสัตว์อำเภอ เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการทำประชาคม หากทำประชาคมครบ 3 วันแล้ว ไม่มีผู้คัดค้าน ก็สามารถรับเงินเยียวยาได้ นอกจากนี้กรณีที่เกษตรกรได้รับเงินเยียวยาไปแล้วในเรทอัตราเยียวยาเก่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะทบทวนอีกครั้ง เพื่อจ่ายเงินเยียวยาส่วนต่างเพิ่มเติมให้เท่ากันอัตราการเยียวยาใหม่ ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประมาณการค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกร กรณี โค - กระบือ ป่วยตายด้วยโรคลัมปี - สกิน ไว้ที่ 1,018,009,150 บาท

     “พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงต่อสถานการณ์การระบาดของโรค และได้สั่งการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แก้ไขปัญหา และดูแลเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบให้เร็วที่สุด ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้เร่งดำเนินการอย่างเต็มที่ โดยขณะนี้ มี 4 จังหวัด ที่เกษตรกรส่งเอกสารเข้ามาครบแล้ว และกรมปศุสัตว์ตรวจสอบข้อมูล ผ่านความเห็นชอบตามขั้นตอนครบถ้วนแล้ว ได้แก่ จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดสระแก้ว เป็นเกษตรกร 2,576 ราย สัตว์ตาย 2,800 ตัว ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำลังทยอยจ่ายเงินเยียวยา จำนวน 29,772,000 บาท “ รมช.ประภัตร กล่าว

      ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการสั่งวัคซีน LSDV ป้องกันโรคลัมปี สกิน เข้ามาเพิ่มอีก 5 ล้านโด๊ส โดยมีการนำเข้ามาถึงประเทศไทยแล้ว ล็อตแรก 2.5 ล้านโด๊ส และจะทยอยเข้ามาอีกในล็อตที่สองและล็อตที่สาม จนครบ 5 ล้านโด๊ส ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้มีการวางแผนจัดสรรวัคซีนไว้แล้ว ยึดตามหลักรวดเร็ว ทั่วถึง เป็นธรรม ตามสัดส่วนของจำนวนประชากรสัตว์ทั่วประเทศ โดยขณะนี้หน่วยงานในสังกัดของกรมปศุสัตว์ในพื้นที่ต่างๆ มีการทำแผนวัคซีนเรียบร้อยแล้ว และสามารถดำเนินการได้ทันที

กระทรวงเกษตรประกาศแผนการกระจายวัคซีน 5 ล้านโด๊ส ครอบคลุม 65 จังหวัด ได้รับผลกระทบจากโรคลัมปี - สกิน รมช.ประภัตรเผยกรมปศุสัตว์ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลิตวัคซีน LSDV คาดพร้อมใช้งานใน 60 วัน นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สถานการณ์ความคืบหน้าการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคลัมปี – สกิน (LSDV) 5 ล้านโด๊สที่นำเข้ามานั้น วัคซีนล็อตแรกกว่า 1 ล้านโด๊ส มาถึงประเทศไทยแล้ว ตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2564 และจะทะยอยเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้กรมปศุสตว์ ได้จัดทำแผนการจัดสรรวัคซีนสำหรับกระจายวัคซีน 5 ล้านโด๊ส ให้กับ 65 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากโรคลัมปี – สกินเรียบร้อยแล้ว ดั้งนี้ พื้นที่ปศุสัตว์เขต 1 จังหวัดกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธายา จังหวัดอ่างทอง จังหวัดลพบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดชัยนาท และจังหวัดสระบุรี มีประชากรโค - กระบือ รวม 463,803 ตัว ได้รับการจัดสรรวัคซีน 224,100 โด๊ส พื้นที่ปศุสัตว์เขต 2 จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดนครนายก และจังหวัดสระแก้ว มีประชากรโค - กระบือ รวม 269,287 ตัว ได้รับการจัดสรรวัคซีน 130,100 โด๊ส พื้นที่ปศุสัตว์เขต 3 จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดยโสธร จังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดอำนาจเจริญ มีประชากรโค - กระบือ รวม 3,359,880 ตัว ได้รับการจัดสรรวัคซีน 1,623,300 โด๊ส พื้นที่ปศุสัตว์เขต 4 จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวักกาฬสินธุ์ จังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร มีประชากรโค - กระบือ รวม 2,334,733 ตัว ได้รับการจัดสรรวัคซีน 1,127,900 โด๊ส พื้นที่ปศุสัตว์เขต 5 จังหวัดเชียงราย จังหวัดลำพูน จังหวัดลำปาง จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีประชากรโค - กระบือ รวม 839,412 ตัว ได้รับการจัดสรรวัคซีน 405,600 โด๊ส พื้นที่ปศุสัตว์เขต 6 จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดตาก จังหวัดสุโขทัย จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดพิจิตร และจังหวัดเพชรบูรณ์ มีประชากรโค - กระบือ รวม 779,635 ตัว ได้รับการจัดสรรวัคซีน 376,600 โด๊ส พื้นที่ปศุสตว์ เขต 7 จังหวัดราชบุรี จังหวัดกาณจนบุรี จังหวัดสุพรรณ จังหวัดนครปฐม จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีประชากรโค - กระบือ รวม 1,166,145 ตัว ได้รับการจัดสรรวัคซีน 563,400 โด๊ส พื้นที่ปศุสัตว์ เขต 8 จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดกระบี่ จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร จังหวัดตรัง และจังหวัดพัทลุง มีประชากรโค - กระบือ รวม 706,502 ตัว ได้รับการจัดสรรวัคซีน 341,300 โด๊ส พื้นที่ปศุสัตว์ เขต 9 จังหวัดสงขลา จังหวัดสตูล จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส มีประชากรโค - กระบือ รวม 429,852 ตัว ได้รับการจัดสรรวัคซีน 207,700 โด๊ส นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันผลิตวัคซีนป้องกันโรคลัมปี – สกินขึ้นมาเองแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดลองผล โดยคาดว่าจะสามารถนำมาใช้งานจริงได้ภายใน 60 วัน ซึ่งจะเข้ามาเสริมกับวัคซีนที่นำเข้ามา ทำให้ปริมาณวัคซีนให้เพียงพอต่อประชากรสัตว์ของประเทศ และคาดว่าสถานการณ์การระบาดของโรคลัมปี - สกินนั้น จะจบลงภายในสองเดือน

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!