หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV2 copy copy


โครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่าย ระยะที่ 2 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอดังนี้

  1.       อนุมัติให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ดำเนินโครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่าย ระยะที่ 2 วงเงินลงทุนรวม 77,334 ล้านบาท โดยใช้เงินกู้ในประเทศจำนวน 57,999 ล้านบาท และเงินรายได้ กฟภ. จำนวน 19,335 ล้านบาท
  2. เห็นชอบให้ กฟภ. กู้เงินในประเทศ ภายในกรอบวงเงิน 57,999 ล้านบาท เพื่อเป็นเงินลงทุนของโครงการดังกล่าว โดย กฟภ. จะทยอยดำเนินการกู้เงินตามความจำเป็นจนกว่างานจะแล้วเสร็จ

                

สาระสำคัญของเรื่อง                  

มท. รายงานว่า

  1.       ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบและอนุมัติโครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่าย ระยะที่ 1 (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 1 พฤศจิกายน 2559) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบไฟฟ้าและก่อสร้างสถานีไฟฟ้าให้สามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นได้อย่างเพียงพอ และเพิ่มประสิทธิภาพ ความมั่นคงและความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า และลดปัญหาในการปฏิบัติการ และบำรุงรักษา เป็นต้น นั้น โครงการดังกล่าวมีผลความคืบหน้าในภาพรวมของทั้งโครงการ (เดือนธันวาคม 2562) คิดเป็นร้อยละ 13.54 โดยมีวงเงินที่เบิกจ่ายแล้ว 20,226.99 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 32.27 และวงเงินอยู่ระหว่างดำเนินการ 40,567.66 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 64.72 คงเหลือ 1,884.06 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.01

    อย่างไรก็ตาม พื้นที่ให้บริการของ กฟภ. มีมากถึงร้อยละ 99 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ประกอบกับการใช้พลังงานไฟฟ้าและจำนวนผู้ใช้ไฟฟ้ามีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้จำนวนสถานีไฟฟ้ามีไม่เพียงพอ และสายจำหน่ายแต่ละวงจรต้องจ่ายไฟเป็นระยะทางไกลจึงเกิดปัญหาไฟตกไฟดับและหน่วยสูญเสียสูง ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนและส่งเสริมการกระจายกิจการอุตสาหกรรมไปสู่ส่วนภูมิภาค ทำให้ความต้องการไฟฟ้ามีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้น กฟภ. จำเป็นต้องมีการลงทุนก่อสร้างสถานีไฟฟ้า ระบบสายส่ง และระบบจำหน่าย รวมถึงการเพิ่มเสถียรภาพการจ่ายไฟเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถรองรับและตอบสนองต่อแผนการพัฒนาประเทศของรัฐบาลในการพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้อย่างเหมาะสม เพียงพอ กฟภ. จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่าย ระยะที่ 2

  1.    โครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่าย ระยะที่ 2 ของ กฟภ. ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ กฟภ. ในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2562 แล้ว มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

หัวข้อ    รายละเอียด

วัตถุประสงค์      

  1. พัฒนาระบบไฟฟ้าและก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแห่งใหม่ ให้เป็นสถานีไฟฟ้าอัตโนมัติ (Substation Automation System) ตามมาตรฐาน International Electrotechnical Commission 61850 (IEC 61850) เพื่อให้สามารถจ่ายไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย สอดคล้องตามมาตรฐานสากล และรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นได้อย่างเพียงพอ
  2. เพิ่มประสิทธิภาพความมั่นคงและความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า ลดปัญหาการปฏิบัติการและบำรุงรักษา และลดหน่วยสูญเสียในระบบจำหน่าย
  3. ปรับปรุงและเชื่อมโยงระบบจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่ธุรกิจ อุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม และพื้นที่สำคัญให้มีขีดความมั่นคงของระบบไฟฟ้าที่สูงขึ้น

เป้าหมาย               ก่อสร้างสถานีไฟฟ้า ระบบสายส่ง 115 เควี ระบบจำหน่ายแรงสูง 22/33 เควี และระบบจำหน่ายแรงต่ำ

พื้นที่ดำเนินการ      ประกอบด้วยพื้นที่รับผิดชอบของ กฟภ. 12 เขต ทั่วประเทศ สรุปได้ ดังนี้

  1. ภาคเหนือ 3 การไฟฟ้าเขต ประกอบด้วย กฟภ. เขต 1 จังหวัดเชียงใหม่ กฟภ. เขต 2 จังหวัดพิษณุโลก และ กฟภ. เขต 3 จังหวัดลพบุรี
  2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 การไฟฟ้าเขต ประกอบด้วย กฟภ. เขต 1 จังหวัดอุดรธานี กฟภ. เขต 2 จังหวัดอุบลราชธานี และ กฟภ. เขต 3 จังหวัดนครราชสีมา
  3. ภาคกลาง 3 การไฟฟ้าเขต ประกอบด้วย กฟภ. เขต 1 จังหวัดอยุธยา กฟภ. เขต 2 จังหวัดชลบุรี และ กฟภ. เขต 3 จังหวัดนครปฐม
  4. ภาคใต้ 3 การไฟฟ้าเขต ประกอบด้วย กฟภ. เขต 1 จังหวัดเพชรบุรี กฟภ. เขต 2 จังหวัดนครศรีธรรมราช และ กฟภ. เขต 3 จังหวัดยะลา

ปริมาณงาน       

รายการ  ภาค

เหนือ    ตะวันออก

เฉียงเหนือ         กลาง     ใต้        รวม

  1. ปริมาณงานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าและระบบสายส่ง 115 เควี
  2. ก่อสร้างสถานีไฟฟ้า/ลานไก (สถานีแปลงไฟฟ้า)(แห่ง) 14 14           28           13           69

2) เพิ่ม/เปลี่ยน หม้อแปลง

(เอ็มวีเอ) 325         50           300         200         875

3) สายส่งรองรับสถานีไฟฟ้า (วงจร-กิโลเมตร)     326         250         370         288         1,234

4) ติดตั้ง

Capacitor1 115

เควี (ชุด) -              1             2             -              3

  1. ปริมาณงานก่อสร้าง/ปรับปรุงสถานีไฟฟ้า และระบบไฟฟ้า 115 เควี เพื่อเพิ่มความมั่นคง

1) สายส่งลูปไลน์2 (วงจร-กิโลเมตร)     28           230         152         136         546

2) ปรับปรุงสถานีไฟฟ้า (แห่ง)              -              2             16           4             22

3) ติดตั้ง Load Break Switch3

115 เควี (ชุด)         -              13           10           7             30

 

  1. ปริมาณงานก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบจำหน่ายแรงสูง 22/33 เควี

1) ก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบจำหน่ายแรงสูง (วงจร-กิโลเมตร )             2,556      2,545      3,225      2,286               10,612

2) ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน/ตัดตอน (ชุด) 2,995      618         1,141      902         5,656

3) ติดตั้งอุปกรณ์ปรับปรุงแรงดัน (ชุด)  396         284         31           306         1,017

4) ติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับการควบคุมระยะไกล (ชุด) 632         923         2,200      701         4,456

 

  1. ปริมาณงานก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบจำหน่ายแรงต่ำ

1) ก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบจำหน่ายแรงต่ำ

(วงจร-กิโลเมตร)     4,819      6,039      3,506      3,896      18,260

2) ก่อสร้าง/ปรับปรุงระบบจำหน่ายแรงสูงสายแยกย่อย (วงจร-กิโลเมตร)         2,500      2,527      2,084               2,489      9,600

3) ติดตั้ง/ปรับปรุงหม้อแปลงจำหน่าย (เอ็มวีเอ)  668         839         684         729         2,920

4) ติดตั้งอุปกรณ์อื่น ๆ (ชุด)   3,998      26,597    1,049      21,511    53,155หมายเหตุ : 1Capacitor หมายถึง ตัวเก็บประจุ

        2ลูปไลน์ หมายถึง สายส่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการจำหน่ายไฟฟ้า

        3Load Break Switch หมายถึง อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร

 

ระยะเวลาดำเนินการ        6 ปี (พ.ศ. 2563 - 2568)

แผนการดำเนินการ         

  1.       การจัดโครงสร้างองค์กรเพื่อใช้ในการบริหารโครงการ : ประกอบด้วยคณะทำงาน 2 ส่วน คือ ส่วนกลางและการไฟฟ้าเขต โดยส่วนกลางจะดูแลรับผิดชอบด้านการจัดหาอุปกรณ์หลัก งบประมาณ และภาพรวมของโครงการ ส่วนการไฟฟ้าเขตจะดูแลรับผิดชอบด้านระบบจำหน่ายทั้งด้านการเบิกจ่ายงบประมาณ และการดำเนินงานให้เป็นไปตามโครงการ
  2. การจัดซื้อที่ดิน : จะดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบและวิธีปฏิบัติของ กฟภ. โดยวิธีเฉพาะเจาะจง ซึ่งในการดำเนินการจัดหาที่ดิน ผู้อำนวยการ กฟภ. เขต จะแต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาที่ดินเพื่อดำเนินการจัดหา ตรวจสอบ และสำรวจบริเวณหรือตำแหน่งที่ดินเป้าหมาย สอบถามราคาที่ดิน ประเมินราคาที่ดิน และสรุปข้อมูลจัดหาที่ดินที่เหมาะสมสำหรับการก่อสร้างสถานีไฟฟ้า เสนอคณะกรรมการจัดซื้อที่ดินโดยวิธีเฉพาะเจาะจง เพื่อพิจารณานำเสนอขออนุมัติจัดซื้อที่ดินต่อไป โดยเมื่อได้รับอนุมัติให้จัดซื้อที่ดินแล้ว คณะกรรมการตรวจรับที่ดินจะดำเนินการตรวจสอบที่ดิน และโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของ กฟภ. ต่อไป
  3.      การจัดหาวัสดุอุปกรณ์และจ้างเหมาดำเนินการ : วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างจะเป็นไปตามมาตรฐานของ กฟภ. ซึ่งส่วนใหญ่จะซื้อจากภายในประเทศเป็นหลัก โดยการจัดหาจะดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
  4. การก่อสร้าง : ดำเนินการตามมาตรฐาน กฟภ. และมีวิศวกรของ กฟภ. เป็นผู้ควบคุมดูแลให้คำแนะนำและแก้ไขปัญหาอุปสรรคอย่างใกล้ชิด สำหรับการก่อสร้างระบบจำหน่ายจะดำเนินการโดยหน่วยธุรกิจก่อสร้างของ กฟภ. หรือจ้างเหมาเอกชน ทั้งนี้ จะต้องอยู่ในการควบคุมดูแลของการไฟฟ้าเขต
  5.      การติดตามผลการดำเนินการ : สำนักงานโครงการจะติดตามประสานงานกับการไฟฟ้าเขต ฝ่ายปฏิบัติการและบำรุงรักษา การไฟฟ้าหน้างาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมข้อมูลและสรุปรายงานผลการดำเนินงานตลอดเวลาของการดำเนินโครงการจัดส่งให้กองโครงการ ฝ่ายวางแผนระบบไฟฟ้า รวบรวมจัดทำรายงานผลความก้าวหน้าของโครงการทุกไตรมาส เพื่อรายงานผู้บริหารระดับสูงของ กฟภ. และจัดส่งให้ สศช. สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กค. และสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.)

      โดยรายงานผลความกาวหน้าของโครงการจะประกอบด้วย  แผนการดำเนินโครงการ สถานะการจัดซื้อ/จัดจ้าง จัดทำสัญญา ผลการก่อสร้างและการเบิกจ่ายงบประมาณ พร้อมทั้งปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการ ทั้งนี้ ในระหว่างการดำเนินโครงการ กฟภ. จะติดตามและตรวจสอบความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจริงกับที่ได้คาดคะเนไว้ตอนเริ่มจัดทำโครงการตลอดเวลาเพื่อปรับเปลี่ยนแผนดำเนินโครงการ เช่น การออกแบบ การกำหนดแผนการก่อสร้าง การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ เป็นต้น ให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนไป เพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

ค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มา        วงเงินลงทุนรวม 77,334 ล้านบาท ประกอบด้วย

  1. เงินกู้ในประเทศ 57,999 ล้านบาท
  2. เงินรายได้ กฟภ. 19,335 ล้านบาท

      ทั้งนี้ การดำเนินการโครงการฯ ไม่ก่อให้เกิดภาระต่องบประมาณ หรือภาระทางการคลังในอนาคต ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ

พ.ศ. 2561 มาตรา 27

ผลตอบแทนของโครงการ      1. ผลตอบแทนทางการเงินของโครงการ สรุปได้ ดังนี้

ผลตอบแทน           อัตรา

ผลตอบแทน (ร้อยละ)            อัตราส่วน

ผลประโยชน์ต่อเงินลงทุน

(B/C Ratio)            มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) (ล้านบาท)

ทางการเงิน (FIRR) 9.55        1.03        16,993

ทางเศรษฐศาสตร์

(EIRR)    17.18      17.18      35,2522. ผลตอบแทนของโครงการแยกตามภาคต่างๆ ได้ ดังนี้

ภาค      ผลตอบแทน

ทางการเงิน        ผลตอบแทน

ทางเศรษฐศาสตร์

FIRR (ร้อยละ)        B/C Ratio              EIRR

(ร้อยละ)  B/C Ratio

เหนือ       6.05        0.99        10.35      1.00

ตะวันออกเฉียงเหนือ             9.25        1.02        15.99      1.05

กลาง       13.12      1.07        23.30      1.18

ใต้           5.84        0.98        10.83      1.01

รวม      9.55      1.03      17.18     1.09

ประโยชน์

ของโครงการ          1. รองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจาก 21,354 เมกะวัตต์ ในปี 2561 เป็น 26,466 เมกะวัตต์ ในปี 2568 หรือคิดเป็นอัตราเพิ่มเฉลี่ยต่อปี

ร้อยละ 3.11

  1. การให้บริการ คาดว่าจะมีผู้ใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก 19.52 ล้านราย ในปี 2561 เป็น 23.09 ล้านราย ในปี 2568 หรือคิดเป็นอัตราเพิ่มเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 2.43
  2. ระบบไฟฟ้ามีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ไฟฟ้า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  3. ลดปัญหาไฟฟ้าตก ไฟฟ้าดับ และหน่วยสูญเสียในระบบไฟฟ้า
  4. ลดปัญหาในด้านการปฏิบัติ และการซ่อมบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า
  5. สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะทางภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม ที่กระจายไปสู่ส่วนภูมิภาคตามนโยบายของรัฐบาล

ฯลฯ

การประเมิน

ผลกระทบสิ่งแวดล้อม       

      การก่อสร้างสถานีไฟฟ้าเป็นการก่อสร้างในพื้นที่ของ กฟภ. ไม่มีการดำเนินงานที่จะขัดต่อระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อห้ามทางกฎหมาย รวมทั้งไม่มีการดำเนินการที่จะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมหรือพื้นที่ข้างเคียง และการก่อสร้างสายส่งและระบบจำหน่ายไฟฟ้าดำเนินการในพื้นที่ริมถนนทางหลวง (Right of Way) โดยการก่อสร้างดังกล่าวเป็นการดำเนินการในพื้นที่ที่จำกัดและระยะเวลาสั้น ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อพื้นที่ข้างเคียงที่สามารถเห็นได้ชัดเจน ได้แก่ ผลกระทบในเรื่องเสียง ฝุ่น และของเสียในช่วงระยะเวลาก่อสร้างที่จะมีปริมาณมากกว่าในช่วงเวลาปกติเล็กน้อยและไม่ส่งผลกระทบกับชุมชนในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งเป็นช่วงเวลาพักผ่อนของผู้คน

        อย่างไรก็ตาม กฟภ. มีมาตรการดูแลให้การก่อสร้างดำเนินไปอย่างปลอดภัย มีอาชีวอนามัยและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและพื้นที่ใกล้เคียงให้น้อยที่สุดในช่วงระยะเวลาการจ่ายไฟและการบำรุงรักษาอุปกรณ์ ซึ่งอาจเกิดผลกระทบเนื่องจากเกิดการรั่วซึมของน้ำมันหม้อแปลงที่ปนเปื้อนสู่ดินและแหล่งน้ำ หรือเกิดก๊าซซึ่งก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก ทั้งนี้ กฟภ. มีการวางแผนงานติดตามเฝ้าระวังและตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่สถานีไฟฟ้าเป็นประจำเพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม

  1. เรื่อง ขอความเห็นชอบแผนความต้องการอัตรากำลังโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (พ.ศ. 2564 - 2566) ภายใต้โครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2556 - 2560)

         คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการแผนความต้องการอัตรากำลังโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (รพศ.มฟล.) (พ.ศ. 2564 - 2566) ภายใต้โครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2556 - 2560) จำนวน 1,575 อัตรา งบประมาณทั้งสิ้น 401.87 ล้านบาท ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ

        ทั้งนี้ การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อรองรับแผนความต้องการอัตรากำลังของโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ดังกล่าว เห็นควรให้มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นเหมาะสม โดยคำนึงถึงศักยภาพในการสรรหา ความสามารถในการบรรจุอัตรากำลังและพิจารณานำเงินนอกงบประมาณมาสมทบ

      อย่างไรก็ดี หากในอนาคตโรงพยาบาลมีเงินรายได้เพียงพอต่อการจัดบริการตามแผนการเปิดให้บริการโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงแล้ว ให้เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายบุคลากร ตามแผนความต้องการอัตรากำลังโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จากเงินรายได้ดังกล่าว สำหรับอัตราค่าจ้างให้ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

                 

สาระสำคัญของเรื่อง

อว. รายงานว่า                  

  1. รพศ.มฟล. ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2561 โดยตั้งอยู่บนพื้นที่จำนวน 137 ไร่ มีจำนวนอาคารทั้งหมด 2 หลัง เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2561 ในแผนกผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน สูตินารี กุมารเวช อายุรกรรม ศัลยกรรมทั่วไป ศัลยกรรมกระดูก จักษุ หู คอ จมูก อายุรกรรมโรคหัวใจและหลอดเลือด พยาธิวิทยา รังสีวิทยา กายภาพบำบัด รวมถึงอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ปัจจุบันมีจำนวนผู้มารับบริการในส่วนของผู้ป่วยนอกเฉลี่ยจำนวน 500 คน/วัน ผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินเฉลี่ย จำนวน 90 คน/วัน รวมทั้งสิ้น 590 คน/วัน คิดเป็น 215,350 คน/ปี มีจำนวนเตียงที่เปิดให้บริการ 156 เตียง และมีอัตรากำลังจากการสนับสนุนของสำนักงบประมาณ (สงป.) จำนวน 70 อัตรา ประกอบด้วยบุคลากรกลุ่มบริการเฉพาะทาง 52 อัตรา และกลุ่มสนับสนุน 18 อัตรา

       อย่างไรก็ดี จำนวนเตียงและอัตรากำลังดังกล่าวไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานของ รพศ.มฟล. ในการรองรับการให้บริการตรวจรักษาเพื่อผู้ป่วยในเขตภาคเหนือตอนบน (เขตสุขภาพที่ 1) และเขตอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและโดยที่ รพศ.มฟล. เป็นโรงพยาบาลที่ มฟล. ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างภายใต้โครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2556 – 2560 (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 18 ธันวาคม 2555 และ 14 ตุลาคม 2557) ซึ่งต้องมีอัตรากำลังบุคลากรทั้งฝ่ายแพทย์ ฝ่ายพยาบาล ฝ่ายเทคนิค ฝ่ายสหวิชาชีพ ตลอดจนฝ่ายสนับสนุน รวมทั้งสิ้นประมาณ 1,500 อัตรา

        ดังนั้น รพศ.มฟล. จึงได้จัดทำแผนความต้องการอัตรากำลัง ตามแนวทางการวิเคราะห์ภาระงานของสถานบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อคำนวณอัตรากำลังที่จำเป็นในการขยายขนาดการให้บริการ จาก อัตรากำลัง 70 อัตรา ในปัจจุบัน เป็น อัตรากำลัง 1,645 อัตรา (เพิ่มขึ้น 1,575 อัตรา) ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

                  

การขออัตรากำลังของ รพศ.มฟล. ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์

         2.1 จัดหาบุคลากรทางการแพทย์และวิชาชีพด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เพียงพอต่อการให้บริการรักษาแก่ประชาชน และผู้ป่วยได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 460,000 คน1

          2.2 จัดหาบุคลากรทางการแพทย์เพื่อรองรับการเป็นสถานฝึกปฏิบัติการในชั้นคลินิก สำหรับนักศึกษาแพทย์ มฟล. ตามโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2556 – 2560

          2.3 จัดหาบุคลากรทางการแพทย์เพื่อรองรับภารกิจด้านวิจัยทางคลินิกและการวิจัยด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องตามบทบาทและสถานภาพของ รพศ.มฟล. และในฐานะที่เป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิชั้นสูง ที่มีภารกิจวิจัยทางการแพทย์รวมอยู่ด้วย ตลอดจนรองรับภารกิจทั้งด้านการให้บริการและการวิจัยของศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านต่าง ๆ ได้แก่ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด ศูนย์ความเป็นเลิศด้านออร์โธปิดิกส์ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านมะเร็งวิทยา ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอายุรศาสตร์โลหิตวิทยา

                  

อัตรากำลังที่ รพศ.มฟล. เสนอขอรวมทั้งสิ้น 1,575 อัตรา แบ่งเป็นกลุ่มผู้บริหาร 5 อัตรา กลุ่มบริการเฉพาะทาง 1,112 อัตรา กลุ่มสนับสนุน 332 อัตรา และกลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 126 อัตรา และจำแนกตามกลุ่มภารกิจได้ ดังนี้

                                                                                                  หน่วย : อัตรา

ตำแหน่ง แผนปี 2564        แผนปี 2565        แผนปี 2566        รวมทั้งสิ้น

กลุ่มผู้บริหาร          5             -              -              5

1) ภารกิจด้านอำนวยการ

กลุ่มสนับสนุน         49           35           23           107

2) ภารกิจด้านบริการปฐมภูมิ2

กลุ่มบริการเฉพาะทาง           6             3             3             12

กลุ่มสนับสนุน         2             2             -              4

3) ภารกิจด้านสนับสนุนบริการสุขภาพและพัฒนาระบบบริการ3

กลุ่มบริการเฉพาะทาง           14           11           7             32

กลุ่มสนับสนุน         79           49           35           163

4) ภารกิจด้านบริการทุติยภูมิและตติยภูมิ4

กลุ่มบริการเฉพาะทาง           78           68           62           208

กลุ่มสนับสนุน         2             1             2             5

กลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ           52           41           33           126

5) ภารกิจด้านบริการพยาบาล

กลุ่มบริการเฉพาะทาง           327         278         255         860

กลุ่มสนับสนุน         18           13           12           43

6) ภารกิจด้านผลิตบุคลากรทางการแพทย์

กลุ่มสนับสนุน         3             5             2             10

รวมกลุ่มผู้บริหาร    5             -              -              5

รวมกลุ่มบริการเฉพาะทาง     425         360         327         1,112

รวมกลุ่มสนับสนุน  153         105         74           332

รวมกลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ    52           41           33           126

รวมทั้งสิ้น          635       506       434       1,575                  

  1. ด้านงบประมาณ โรงพยาบาลฯ มีความจำเป็นที่จะต้องขอรับจัดสรรงบประมาณเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของอัตรากำลังรวมทั้งสิ้น 401.87 ล้านบาท

ความต้องการ

อัตรากำลัง         แผนการให้บริการของ

 รพ.ศูนย์การแพทย์

มฟล. (เตียง)      อัตรากำลังที่เสนอขอ

 (อัตรา)  งบประมาณที่เสนอขอ

 (ล้านบาท)

ปีงบประมาณ 2564              244 (เพิ่มขึ้น 88)    635         162.85

ปีงบประมาณ 2565              323 (เพิ่มขึ้น 79)    506         128.05

ปีงบประมาณ 2566              411 (เพิ่มขึ้น 88)    434         110.97

รวม         411         1,575      401.87       

          

  1. กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เห็นชอบกับแผนความต้องการอัตรากำลัง รพศ.มฟล. (พ.ศ. 2564 - 2566) ภายใต้โครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2556 – 2560 ตามที่ มฟล. เสนอ เนื่องจากมีความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศ ภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ สถาบันทางการแพทย์และสถาบันทางการศึกษาต่าง ๆ ในภาพรวมของประเทศ ในระยะยาว (5 – 10 ปี) ที่ สธ. กำลังดำเนินการ [ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป]

      5.1 ในระยะแรก ปี พ.ศ. 2564 ซึ่งจะเปิดบริการ 244 เตียง ต้องการอัตรากำลัง 635 คน โดยอ้างอิงกรอบอัตรากำลังของโรงพยาบาลศูนย์ระดับตติยภูมิชั้นสูง ขนาดน้อยกว่า 700 เตียง ตามเกณฑ์ สธ. ที่เสนอได้ ส่วนการจัดสรรงบประมาณด้านบุคลากรให้เป็นไปตามการพิจารณาของ สงป.

      5.2 ในระยะที่ 2 ปี พ.ศ. 2565 – 2566 จะเปิดให้บริการเพิ่มเติมอีก 167 เตียง (79 + 88 เตียง) รวมเป็น 411 เตียง (ครบตามเป้าหมายที่ตั้งไว้) ต้องการอัตรากำลังเพิ่มเติมอีก 940 คน (560 + 434 คน) นั้น ควรพิจารณาถึงจุดเน้นสำคัญของ รพศ.มฟล. ตามความต้องการจำเป็นของบริบทในพื้นที่ และควรคำนึงถึงผลการดำเนินงานของ รพศ.มฟล. พ.ศ. 2561 – 2564 ประกอบการพิจารณาด้วย

       5.3 เห็นควรให้โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มฟล. ประสานเชื่อมโยงการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันกับหน่วยงานด้านสุขภาพที่มีอยู่แล้วของ สธ. และหน่วยงานด้านสุขภาพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ ทั้งระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน (น่าน พะเยา เชียงราย แพร่) เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการลงทุนและเกิดความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากร รวมทั้งตอบสนองปัญหาสุขภาพของประชาชน

------------------------------------------------------------------------

1 ประมาณการค่าเฉลี่ยของผู้รับบริการของ รพศ.มฟล. ปี 2564 : 346,750 คน ปี 2565 : 485,450 คน และ ปี 2566 : 565,750 คน

2ภารกิจด้านบริการปฐมภูมิ ได้แก่ งานเวชกรรมสังคมและงานสุขศึกษา และงานการพยาบาลชุมชนและหน่วยพื้นที่

3ภารกิจด้านสนับสนุนบริการสุขภาพและพัฒนาระบบบริการ ได้แก่ งานสารสนเทศทางการแพทย์ งานประกันสุขภาพ งานสิทธิประโยชน์ผู้ป่วยและสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น

4ภารกิจด้านบริการทุติยภูมิและตติยภูมิ ได้แก่ งานให้บริการทางการแพทย์ต่างๆ เช่น เวชศาสตร์ฉุกเฉิน อายุรกรรม ศัลยกรรม ออร์โธปิดิกส์ นิติเวช จิตเวช เภสัชกรรม เป็นต้น

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396   

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!