หมวดหมู่: พาณิชย์

1AA1A3Aอาเซียน


อาเซียนฟื้นฟูพิษโควิด-19 ดันดิจิทัล พัฒนาเศรษฐกิจยั่งยืน ห้ามจำกัดส่งออกสินค้าจำเป็น

      รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนเคาะเดินหน้าแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิด-19 เห็นชอบดันอาเซียนสู่ความเป็นดิจิทัล มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เพิ่มบัญชีอาหารและเกษตรในลิสต์สินค้าจำเป็นห้ามจำกัดส่งออก 107 รายการ เร่งสมาชิกบังคับใช้ RCEP พร้อมไฟเขียวเอกสารสำคัญที่จะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับอาเซียน

        นายสรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 53 ในวันที่ 8-9 ก.ย.2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล ว่า ได้รับมอบหมายจากนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้เป็นหัวหน้าผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ โดยที่ประชุมได้มีการหารือถึงแนวทางฟื้นฟูเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน ติดตามและเร่งรัดการทำงานให้เป็นไปตาม AEC Blueprint 2025 โดยเฉพาะในประเด็นสำคัญที่จะส่งผลต่อการขยายตัวของการค้า การลงทุน และการลดอุปสรรคทางการค้า ตลอดจนการหารือกับภาคเอกชนในการเตรียมการรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 ในระยะต่อไป

        ทั้งนี้ ในด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจของอาเซียนจากโควิด-19 รัฐมนตรีเห็นว่าอาเซียนจะต้องร่วมมือกันผลักดันให้อาเซียนก้าวไปสู่ความเป็นดิจิทัล และจะต้องเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เพราะเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้อาเซียนฟื้นตัวจากผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ และยังได้เห็นชอบให้มีการขยายบัญชีรายการสินค้าจำเป็น (essential goods) ที่จะไม่ใช้ข้อจำกัดการส่งออกระหว่างกันจำนวน 107 รายการ ครอบคลุมสินค้าอาหารและสินค้าเกษตร เพิ่มเติมจากสินค้ายาและเวชภัณฑ์ที่ได้ดำเนินการไปก่อนหน้านี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับไทยในการส่งออกสินค้าในกลุ่มนี้ได้เพิ่มขึ้น

        ส่วนการอำนวยความสะดวกด้านการค้า อาเซียนเห็นว่า จะต้องสนับสนุนการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการขนส่งทางเรือไม่ให้ติดขัด การเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน (ASEAN Single Window) อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อลดระยะเวลาและขั้นตอน รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนในการดำเนินธุรกรรมทางการค้า โดยการดำเนินการจะช่วยส่งเสริมการค้าและดึงดูดบริษัทสายเรือเข้ามาในภูมิภาค และช่วยให้ค่าระวางเรือในภูมิภาคกลับมาอยู่ในระดับปกติได้เร็วขึ้น

       นอกจากนี้ รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ยังเห็นพ้องกันถึงความสำคัญของความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่จะเป็นกลไกสำคัญในการฟื้นฟูการค้าและการลงทุนของภูมิภาค โดยที่ประชุมได้เร่งรัดให้สมาชิกเดินหน้ากระบวนการภายในประเทศ เพื่อให้ความตกลงมีผลใช้บังคับตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในเดือนม.ค.2565

       นายสรรเสริญ กล่าวว่า ที่ประชุมยังได้ร่วมรับรองและเห็นชอบเอกสารสำคัญ เช่น 1.กรอบการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งเป็นแนวทางที่อาเซียนสามารถนำระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้ให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน 2.แผนงานในการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นดิจิทัลของอาเซียน (แผนงานบันดาร์เสรีเบกาวัน) เป็นแผนดำเนินการในระยะสั้นและระยะกลางให้อาเซียนเป็นเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 3.แผนงานในการดำเนินการตามความตกลงว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการพัฒนา e-commerce ในภูมิภาค ส่งเสริมความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและผู้ประกอบการ และเป็นช่องทางสำคัญให้ SMEs ได้เข้าถึงลูกค้าได้ และ 4.เครื่องมือประเมินประสิทธิภาพของมาตรการที่มิใช่ภาษีของประเทศสมาชิก (NTM Toolkit) ซึ่งจะเป็นแนวทางการปรับปรุงมาตรการ NTMs ของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะส่งเสริมการค้า ลดต้นทุนและภาระในการเคลื่อนย้ายสินค้าในภูมิภาค เป็นต้น

        สำหรับ การหารือร่วมกับสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN-BAC) ซึ่งเป็นภาคเอกชนของอาเซียน ได้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นที่ภาคเอกชนให้ความสำคัญและได้ดำเนินการในปี 2564 โดยเฉพาะการสร้างสภาพแวดล้อมและการเสริมสร้างความสามารถของแรงงานในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล และการพัฒนาความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับภาคเอกชนเพื่อรับมือผลกระทบจากโควิด-19 โดยไทยได้เน้นย้ำประเด็นสำคัญที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคเอกชนใน 3 ระยะ ได้แก่ การตอบสนองต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างทันท่วงที

       โดยเฉพาะการอำนวยความสะดวกและรักษาความเชื่อมโยงในห่วงโซ่อุปทาน การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างแข็งแรง โดยรักษาตลาดที่เปิดกว้างสำหรับการค้า การลงทุน ใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีที่มีอยู่ และเพิ่มความตกลงกับประเทศที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะความตกลง RCEP และการยืดหยุ่นในการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขในอนาคต รวมถึงการเร่งพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!