หมวดหมู่: บริษัทจดทะเบียน

FITCH12 19


ฟิทช์ ปรับลดอันดับเครดิตสากลของธนาคารกสิกรไทย เป็น ‘BBB’ จากการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส

ฟิทช์ เรทติ้งส์-กรุงเทพฯ/สิงคโปร์- 2 เมษายน 2563: ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศลดอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-Term Foreign-Currency IDR) ของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBank เป็น ‘BBB’ จาก ‘BBB+’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น (Short-Term Foreign-Currency IDR)  เป็น ‘F3’ จาก ‘F2’ อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน (Viability Rating) เป็น ‘bbb’ จาก ‘bbb+’ อันดับเครดิตของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ์ ไม่มีหลักประกัน เป็น ‘BBB’ จาก ‘BBB+’ และอันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิสกุลเงินต่างประเทศที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซิล 3 เป็น ‘BB+’ จาก ‘BBB’ และยกเลิกสถานะอันดับเครดิตที่เป็นอันดับเครดิตที่อยู่ระหว่างการทบทวนที่เกิดจากการประกาศใช้หลักเกณฑ์การจัดอันดับเครดิตฉบับใหม่ (Under Criteria Observation)

ในขณะเดียวกัน ฟิทช์คงอันดับเครดิตในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating) ของ KBank ที่ ‘AA+(tha)’ และอันดับเครดิตในประเทศระยะยาวของบริษัทย่อยซึ่งคือ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KS) ที่ ‘AA(tha)’ รายละเอียดอันดับเครดิตทั้งหมดได้แสดงไว้ในส่วนท้าย

      การปรับลดอันดับเครดิตสะท้อนถึงความท้าทายของสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจที่ KBank กำลังเผชิญและผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสที่กระจายเป็นวงกว้าง ซึ่งผลกระทบดังกล่าวได้เพิ่มแรงกดดันต่อสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงานของธนาคารที่อ่อนแอมาอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและทั่วโลกที่ซบเซา แม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีมาตรการผ่อนปรนเพื่อช่วยสนับสนุนการปรับโครงสร้างหนี้ แต่มาตรการเหล่านี้ไม่น่าจะหักล้างความเสี่ยงที่เกิดจากผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำต่อลูกหนี้ที่มีฐานะทางการเงินที่อ่อนแอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ที่ KBank มีฐานลูกค้าค่อนข้างมาก สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงานของธนาคารไทยสามารถดูได้จาก “Coronavirus Outbreak Increases Challenges for Thai Banks’ Operating Environment” ลงวันที่ 2 เมษายน 2563

      เนื่องจากระยะเวลาและแนวโน้มความรุนแรงของสถานการณ์การระบาดของโคโรน่าไวรัสที่ยังมีความไม่แน่นอน ซึ่งตามสมมติฐานกรณีฐานของฟิทช์นั้นคุณภาพของสินทรัพย์รวมถึงผลการดำเนินงานของ KBank อาจได้รับผลกระทบมากในช่วงระยะเวลา 2 ปีข้างหน้าเมื่อเทียบกับผลการดำเนินงานในปี 2562 โดยนอกจากระดับค่าใช้จ่ายการสำรองหนี้สูญ (credit cost) ที่อาจเพิ่มขึ้นแล้ว รายได้ของธนาคารก็อาจจะปรับตัวลดลงจากภาวะอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ รวมถึงรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยที่ชะลอตัว

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ

       อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิของ KBank พิจารณาจากอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคาร (Viability Rating  หรือ VR) ซึ่งประเมินจากความแข็งแกร่งทางธุรกิจของธนาคาร (Standalone Profile) นอกจากนี้การพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างโครงสร้างเครดิตของธนาคารและธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยรายอื่นยังเป็นปัจจัยในการพิจารณาอันดับเครดิตภายในประเทศของ KBank ด้วยเช่นกัน อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นสะท้อนถึงหลักเกณฑ์การจัดอันดับเครดิตและฟิทช์พิจารณาประกอบกับโครงสร้างการระดมทุนและสภาพคล่องของธนาคารที่ระดับ ‘bbb’

      การคงอันดับเครดิตภายในประเทศของธนาคารสะท้อนถึงมุมมองของฟิทช์ต่อโครงสร้างเครดิตของ KBank ที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากเมื่อเปรียบเทียบกับธนาคารอื่นที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตภายในประเทศแม้ว่าอันดับเครดิตสากลของธนาคารจะถูกปรับลดอันดับลง

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน

    อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ KBank พิจารณาถึงความสามารถในการแข่งขันของธนาคารในฐานะหนึ่งในธนาคารชั้นนำของอุตสาหกรรมธนาคารไทยโดยธนาคารมีเครือข่ายธุรกิจที่ได้รับการสนับสนุนจากฐานธุรกิจที่มีเสถียรภาพและมีขนาดใหญ่โดยมีจุดแข็งในด้านบริการธนาคารดิจิทัลและการให้บริการด้านธุรกรรมธนาคาร (Transactional banking) อีกทั้งธนาคารมีบริการด้านการธนาคารที่ครบวงจรรวมถึงมีการให้บริการลูกค้าในหลากหลายกลุ่มลูกค้า

อย่างไรก็ตาม KBank ยังมีฐานลูกค้าในกลุ่มธุรกิจสินเชื่อลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงกว่าธนาคารขนาดใหญ่รายอี่นซึ่งจะทำให้มีแรงกดดันต่อคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารในช่วงเวลาปัจจุบันของวัฏจักรธุรกิจและจะทำให้มีแรงกดดันเพิ่มเติมต่อผลกำไรจากการดำเนินงานของธนาคารซึ่งในปัจจุบันระดับผลกำไรดังกล่าวอยู่ในระดับที่ต่ำเมื่อเทียบกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (risk appetite) ของการดำเนินธุรกิจของธนาคารซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับกับธนาคารอื่น

               ธนาคารยังคงมีโครงสร้างเครดิตที่ดีกว่าและมีความสามารถในการรองรับผลกระทบเชิงลบที่มากกว่าเมื่อเทียบกับธนาคารอื่นที่มีอันดับเครดิตที่ต่ำกว่า ซึ่งจะช่วยลดแรงกดดันเชิงลบต่ออันดับเครดิตของธนาคารในช่วงระยะเวลา 12-18 เดือนข้างหน้า ระดับเงินกองทุนของ KBank ที่ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมซึ่งพิจารณาจากระดับของเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (common-equity Tier-1) ของธนาคารที่ 16.2% ในปี 2562 น่าจะช่วยสนับสนุนโครงสร้างเครดิตของธนาคารที่ระดับอันดับเครดิตในปัจจุบันได้

ฟิทช์ ยังคาดว่า ระดับของสำรองหนี้สูญ (loan loss reserve) ต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่ 149% และระดับของหลักประกันของเงินกู้ที่เพียงพอโดยเฉพาะของสินเชื่อ SME จะช่วยรองรับความเสี่ยงที่จะเกิดจากคุณภาพของสินเชื่อที่อาจปรับตัวอ่อนลงได้บางส่วน อีกทั้งสภาพคล่องและการระดมทุนในประเทศของ KBank ได้รับแรงสนับสนุนจากการที่ธนาคารมีฐานเงินฝากบัญชีกระแสรายวันและบัญชีออมทรัพย์ (CASA) ในสัดส่วนสูงที่ 77% ของฐานเงินฝาก ณ สิ้นปี 2562 ซึ่งสนับสนุนให้ธนาคารมีต้นทุนการระดมเงินทุนที่ต่ำจากแหล่งระดมทุนที่มีเสถียรภาพ

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับเครดิตสนับสนุน (Support Rating) และ อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ

            อันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำของ KBank สะท้อนถึงการที่ธนาคารมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศไทย โดยส่วนแบ่งทางการตลาดของ KBank ในด้านเงินฝากอยู่ที่ประมาณ 15% ของระบบธนาคารพาณิชย์ โดย KBank เป็นหนึ่งในธนาคารพาณิชย์ 5 แห่งที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศไทยและฟิทช์เชื่อว่ามีโอกาสสูงที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนเป็นพิเศษ (extraordinary support) แก่ธนาคารในกรณีที่จำเป็น

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – หุ้นกู้ด้อยสิทธิ

            อันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซล 3 ของ KBank ซึ่งปัจจุบันธนาคารได้เสนอขายตราสารหนี้ดังกล่าวทั้งในและต่างประเทศ ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ต่ำกว่าอันดับเครดิตสากลและอันดับเครดิตภายในประเทศอยู่ 2 อันดับ เนื่องจากการปรับเปลี่ยนเกณฑ์การจัดอันดับเครดิตในกรณีฐาน (baseline) ของอันดับเครดิตหุ้นกู้ด้อยสิทธิ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การจัดอันดับเครดิตของธนาคารฉบับใหม่ เพื่อสะท้อนมุมมองของฟิทช์ที่ตราสารประเภทดังกล่าวมีโอกาสที่จะได้รับชำระหนี้คืน (recovery rate) ในอัตราที่ต่ำลงเมื่อเทียบกับตราสารที่ไม่ด้อยสิทธิ ทั้งนี้ อันดับเครดิตของหุ้นกู้ดังกล่าวไม่ได้ถูกปรับลดอันดับเพิ่มเติมเพื่อสะท้อนถึงความเสี่ยงที่ผู้ถือหุ้นกู้จะไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดการณ์ (non-performance risk) เนื่องจากหุ้นกู้ด้อยสิทธิดังกล่าวไม่มีคุณสมบัติรองรับผลขาดทุนระหว่างการดำเนินกิจการ (going-concern loss absorption)

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – บริษัทร่วมและบริษัทย่อย

    การประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศของ KS สะท้อนถึงมุมองของ ฟิทช์ว่า โอกาสในการให้การสนับสนุนจากธนาคารแม่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป  โดย KS ยังคงเป็นบริษัทลูกที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ต่อ KBank เนื่องจากการถือหุ้นเกือบทั้งหมดโดยบริษัทแม่ อีกทั้งยังใช้ชื่อที่ใกล้เคียง มีการควบคุมจากธนาคารแม่และยังมีบทบาทที่สำคัญในกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจรูปแบบธนาคารครบวงจร (universal banking strategy) ของธนาคารแม่ การที่อันดับเครดิตอยู่ต่ำกว่า KBank อยู่ 1 อันดับเนื่องจากบริษัทลูกมีขนาดเล็กและมีผลกำไรที่คิดเป็นสัดส่วนที่ต่ำเมื่อเทียบกับผลกำไรของกลุ่ม

ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ

     ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้กิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

     อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิของ KBank จะได้รับผลกระทบในทิศทางเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลงของระดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคาร นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงมุมมองของฟิทช์ที่มีต่อโครงสร้างทางเครดิตของ KBank เมื่อเทียบกับอันดับเครดิตภายในประเทศของธนาคารอื่นในประเทศไทยอาจส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตภายในประเทศของ KBank ได้

       การปรับเพิ่มอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ KBank จะส่งผลในทิศทางเดียวกันต่ออันดับเครดิตสากลและอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ในขณะที่การปรับเพิ่มอันดับเครดิตของธนาคารหรือความแข็งแรงในด้านการระดมทุนและสภาพคล่องของธนาคารที่สูงขึ้นในมุมมองของฟิทช์ก็อาจส่งผลให้อันดับเครดิตระยะสั้นได้รับการปรับเพิ่มอันดับได้ สำหรับการปรับเพิ่มอันดับเครดิตภายในประเทศของ KBank นั้นมีโอกาสจำกัดโดยพิจารณาจากระดับความแข็งแกร่งของธนาคารของตัวธนาคารในระดับปัจจุบันและเมื่อเทียบเคียงกับธนาคารขนาดใหญ่รายอื่นในประเทศ

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้กิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

            การปรับลดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ KBank อาจส่งผลในทิศทางเดียวกับต่ออันดับเครดิตระยะยาวและอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิของธนาคาร อันดับเครดิตภายในประเทศของธนาคารอาจถูกปรับลดอันดับเป็น ‘AA (tha)’ ได้หากระดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารถูกปรับลดอันดับลงอีก หรือฟิทช์มีความเห็นว่าโครงสร้างเครดิตของธนาคารปรับตัวอ่อนลงเมื่อพิจารณาเทียบกับสถาบันการเงินอื่นที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตภายในประเทศ

ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้กิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

               อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ KBank อาจได้รับการปรับอันดับกลับไปที่ ‘bbb+’ หากอัตราส่วนแสดงฐานะทางการเงินที่สำคัญอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับธนาคารอื่นที่ได้รับการจัดอันดับที่สูงกว่าซึ่งดำเนินธุรกิจในสภาวะแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจในระดับเดียวกัน (ซึ่งคือในระดับ ‘bbb’) ซึ่งรวมถึงการคงอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ที่ต่ำกว่า 3% ในขณะที่มีระดับสำรองหนี้สูญและระดับของเงินกองทุนที่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี เช่น ระดับของเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (common-equity Tier-1) อยู่ในระดับที่สูงกว่า 16% อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการรักษาคุณภาพสินทรัพย์ในระดับที่ดียิ่งขึ้นนั้นจะช่วยสนับสนุนอัตรากำไรและส่งผลให้การสะสมทุนดีขึ้นและมีระดับเงินกองทุนที่สูงขึ้น ฟิทช์มองว่าระดับผลกำไรของธนาคารอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับอันดับเครดิตและระดับความเสี่ยงของการดำเนินธุรกิจที่ยอมรับได้ของธนาคารในปัจจุบัน

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้กิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

      การที่ระดับเงินกองทุนของธนาคารลดลงจนไม่เพียงพอที่จะรองรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากคุณภาพของสินทรัพย์ที่อ่อนตัวอาจส่งผลให้อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินถูกปรับลดอันดับลงเป็น ‘bbb-‘ เช่น ระดับของเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของลดลงต่ำกว่าระดับ 13% ในขณะที่ระดับสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) สูงกว่า 6% และสำรองหนี้สูญที่ต่ำกว่า 120% ในช่วง 2 ปีข้างหน้า ซึ่งกรณีดังกล่าวก็จะสะท้อนในระดับกำไรที่ต่ำกว่าระดับที่ฟิทช์คาดหวังในกรณีฐาน โดยปัจจัยเหล่านี้ ฟิทช์ใช้เป็นหลักเกณฑ์การพิจารณาในลักษณะเดียวกันกับกลุ่มธนาคารที่มีขนาดใหญ่ของประเทศ

ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ

      ฟิทช์ อาจต้องทบทวนการประเมินอันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำของ KBank ใหม่ หากมีการเปลี่ยนแปลงในความสามารถหรือโอกาสของรัฐบาลในการให้การสนับสนุนแก่ธนาคารพาณิชย์

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้กิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

      อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำอาจได้รับการปรับเพิ่มอันดับหากฟิทช์พิจารณาแล้วเห็นว่าโอกาสที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนต่อธนาคารที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ (ซึ่งรวมถึง KBank) มีเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามฟิทช์คิดว่าจะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในระยะกลาง สำหรับการปรับเพิ่มอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของประเทศไทยที่ปัจจุบันอันดับเครดิตอยู่ที่ ‘BBB+’/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ นั้นอาจแสดงถึงความสามารถในการสนับสนุนธนาคาร (ซึ่งรวมถึง KBank) ที่สูงขึ้น แต่ต้องพิจารณาภายใต้เงื่อนไขที่โอกาสในการให้การสนับสนุนธนาคารของรัฐบาลจะต้องไม่ลดลง

ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – หุ้นกู้ด้อยสิทธิ

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้กิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

อันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิของ KBank จะได้รับผลกระทบจากการปรับเพิ่มอันดับเครดิตอ้างอิง

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้กิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

 อันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิของ KBank จะได้รับผลกระทบจากการปรับลดอันดับเครดิตอ้างอิง

ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – บริษัทร่วมและบริษัทย่อย

               การเปลี่ยนแปลงอันดับเครดิตของธนาคารแม่น่าจะส่งผลกระทบในทิศทางเดียวกันกับอันดับเครดิตภายในประเทศของ KS

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้กิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

               ฟิทช์อาจทำการปรับเพิ่มอันดับเครดิตภายในประเทศของ KS หาก KBank แสดงให้เห็นถึงโอกาสในการให้การสนับสนุนที่เพิ่มขึ้นจากระดับที่ฟิทช์ประเมินในปัจจุบัน ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นหากพิจารณาว่า KS มีมีบทบาทที่สำคัญมากขึ้นต่อการดำเนินงานของธนาคาร

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้กิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

               ความสามารถในการให้การสนับสนุนของ KBank หรือโอกาสที่ KBank จะให้การสนับสนุน KS ที่ลดลงจะส่งผลลบต่ออันดับเครดิตของ KS เช่น  หากมีการลดการถือหุ้นในบริษัทลูกอย่างมากหรือมีการลดลงของการให้การสนับสนุนด้านการเงิน ด้านการดำเนินธุรกิจ หรือระดับความใกล้ชิดหรือความเชื่อมโยงในด้านการตลาดและการบริหารงานที่ลดลง อย่างไรก็ตามฟิทช์มองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะปานกลาง

รายละเอียดของอันดับเครดิตทั้งหมดมีดังนี้

KBank:

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว ปรับลดอันดับเป็น ‘BBB’ จาก ‘BBB+’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น ปรับลดอันดับเป็น ‘F3’ จาก ‘F2’

- อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน ปรับลดอันดับเป็น ‘bbb’ จาก ‘bbb+’

- อันดับเครดิตสนับสนุน คงอันดับที่ ‘2’

- อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำคงอันดับที่ ‘BBB-’

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับที่ ‘AA+(tha)’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ ‘F1+(tha)’

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของโครงการหุ้นกู้ Euro Medium-Term Note ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน มูลค่ารวม 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับลดอันดับเป็น ‘BBB’ จาก ‘BBB+’

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน ปรับลดอันดับเป็น ‘BBB’ จาก ‘BBB+’

- อันดับเครดิตสากลระยะยาวของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 (ตามเกณฑ์บาเซล 3) ปรับลดอันดับเป็น ‘BB+’ จาก ‘BBB’ และยกเลิกสถานะอันดับเครดิตที่เป็นอันดับเครดิตที่อยู่ระหว่างการทบทวนที่เกิดจากการประกาศใช้หลักเกณฑ์การจัดอันดับเครดิตฉบับใหม่ (Under Criteria Observation)

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 (ตามเกณฑ์บาเซล 3) ปรับลดอันดับเป็น ‘AA-(tha)’ จาก ‘AA(tha)’

KS:

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับที่ ‘AA(tha)’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับที่  ‘F1+(tha)’

Fitch Downgrades KASIKORNBANK to 'BBB' on Coronavirus Outbreak

     Fitch Ratings - Bangkok/Singapore - 02 Apr 2020: Fitch Ratings has downgraded KASIKORNBANK Public Company Limited's (KBank) Long-Term Issuer Default Rating (IDR) to 'BBB', from 'BBB+', with a Stable Outlook, its Short-Term IDR to 'F3' from 'F2', its Viability Rating to 'bbb', from 'bbb+', its senior unsecured rating to 'BBB', from 'BBB+', and its Basel III Tier 2 compliant subordinated debt, which has been removed from Under Criteria Observation, to 'BB+', from 'BBB'. At the same time, Fitch has affirmed KBank's National Long-Term Rating at 'AA+(tha)' and the National Long-Term Rating of its subsidiary, Kasikorn Securities Public Company Limited (KS), at 'AA(tha)'. A full list of rating actions is at the end of this commentary.

       The downgrade reflects KBank's challenging operating environment and the large-scale economic disturbance caused by the coronavirus pandemic. This is in addition to Thailand's weak operating environment over the past several years due to muted domestic and global economic growth. The Bank of Thailand's relief measures to facilitate debt restructuring cannot fully eliminate risks for weaker and more vulnerable debtors, especially the SME segment, to which KBank has a large exposure. For more detail on Thailand's operating environment, please see Coronavirus Outbreak Increases Challenges for Thai Banks' Operating Environment, dated 2 April 2020, at https://www.fitchratings.com/research/banks/coronavirus-increases-challenges-for-thai-banks-operating-environment-02-04-2020.

       Fitch's base-case scenario sees KBank's asset quality and performance being significantly affected over the next two years, with core ratios weakening from 2019, as the duration and trajectory of the pandemic remains uncertain. The bank's top-line revenue will continue to be dragged by the low interest-rate environment and more moderate non-interest income, in addition to rising credit costs.

KEY RATING DRIVERS

IDRS, NATIONAL RATINGS AND SENIOR DEBT

       The bank's IDRs, National Ratings and senior debt rating are based on its Viability Rating, which is assessed from the bank's standalone profile. KBank's National Ratings are also driven by comparison with other Thai financial institutions rated on the national scale. The Short-Term IDR corresponds to criteria and takes into consideration Fitch's assessment of the bank's funding and liquidity profile, which is assessed at 'bbb'.

        The affirmation of the bank's National Ratings reflects Fitch's view on KBank's credit profile compared with Thailand's National Rating universe, which is not significantly changing despite its downgraded IDRs.

Viability Rating

       KBank's Viability Rating reflects its competitive position as one of the leading local commercial banks. Its franchise is supported by the bank's stable and large operating scale, with core strengths in digital and transactional banking. KBank has universal banking operations and serves a broad client segment. However, it is more exposed to the SME sector than other large banks, which hampers its asset quality at this point of the business cycle, and will lead to further pressure on the bank's profitability. Like other large Thai banks, profitability is not commensurate with our assessment of the bank's risk appetite.

       The bank maintains a superior profile and greater loss-absorption buffers relative to lower-rated banks, and we expect this to limit downward pressure on the bank's ratings in the next 12-18 months. KBank's above-sector-average capitalisation of 16.2% of common-equity Tier-1 in 2019 should support its credit profile at the current rating level. We also expect the bank's loan-loss provisions of around 149%, with adequate retention on collateral, particularly for SME loans, to provide some buffer against likely asset-quality deterioration. In addition, KBank's domestic liquidity profile is supported by its strong current account-savings account ratio of 77%, which leads to stable low-cost funding.

SUPPORT RATING AND SUPPORT RATING FLOOR

     The bank's Support Rating and Support Rating Floor are assessed on its systemic importance to the domestic financial system, which is evident from its deposit market share of about 15%. KBank has been designated as one of Thailand's five domestic systemically-important banks (D-SIB) by the Bank of Thailand, and we believe there is a high probability the state will provide extraordinary support to the bank, if needed.

SUBORDINATED DEBT

   KBank's Basel III Tier 2 subordinated notes (which have been issued internationally and domestically) are rated two notches below their respective international and domestic scale anchor ratings. The downgrade on the notes reflects Fitch's revised base line notching for subordinated debt in the updated Bank Rating Criteria. This takes into account our expectations of a poorer recovery rate compared with senior unsecured instruments. There is no additional notching for non-performance risk due to the absence of going-concern loss-absorption features.

SUBSIDIARY AND AFFILIATED COMPANY

    The affirmation on KS's National Rating is based on Fitch's view that the parent's propensity to support KS is unchanged. KS remains a strategically important subsidiary of KBank due to the near-full ownership, close name association, control and its important role in supporting its parent's universal-banking aspirations. The one-notch rating differential between KS and KBank reflects KS's small scale as a non-bank entity and limited contribution to the group.

RATING SENSITIVITIES

IDRS, NATIONAL RATINGS AND SENIOR DEBT

      Factors that could, individually or collectively, lead to positive rating action/upgrade:

         KBank's IDRs, National Ratings and senior debt ratings are sensitive to changes in its standalone profile, as reflected by its Viability Rating. Changes in Fitch's assessment of KBank's credit profile relative to its peers within Thailand's national-rating universe could also affect KBank's National Ratings.

               Positive action on KBank's Viability Rating could lead to similar action on the bank's Long-Term IDR and senior debt rating, while an upgrade of the Long-Term IDR or in Fitch's assessment of the bank's funding and liquidity profile, could result in an upgrade of the Short-Term IDR. The rating upside for KBank's National Rating is limited due to the bank's profile and rating relative to local large-bank peers.

            Factors that could, individually, or collectively, lead to negative rating action/downgrade:

            Negative action on KBank's Viability Rating could lead to similar action on the bank's Long-Term IDR and senior debt rating. KBank's National Rating could be downgraded to 'AA(tha)' if its Viability Rating were further downgraded or if, in Fitch's opinion, its credit profile weakens on a relative basis in the National Rating universe of Thai financial institutions.

VIABILITY RATING

      Factors that could, individually or collectively, lead to positive rating action/upgrade:

        KBank's Viability Rating could be upgraded to 'bbb+' if its key financial profile metrics were more consistent with those of higher-rated banks in similarly rated operating environments; that is, those in the 'bbb' category. This includes maintaining an impaired loan ratio of less than 3%, combined with sound loan-loss reserves and core capital buffers; for instance, a common-equity Tier 1 ratio sustainably above 16%. Maintaining better asset quality would support profitability which, in turn, would support better internal capital generation and capitalisation. Fitch views its profitability as weak at the current rating and for its perceived level of risk appetite.

    Factors that could, individually, or collectively, lead to negative rating action/downgrade:

       A sharp decline in capitalisation, such that it would provide limited buffer in the event of further asset-quality deterioration, may lead to a downgrade in the Viability Rating to 'bbb-'. For example, if its common-equity Tier 1 ratio were to deteriorate to below 13%, with its non-performing loan ratio at above 6% and loan-loss coverage ratio below 120% over the next two years. This would likely reflect profitability (which we assess as being similar to other large local peers) deteriorating by more than is expected in our base case.

SUPPORT RATING AND SUPPORT RATING FLOOR

      Fitch may reassess the Support Rating and Support Rating Floor if there is a change in the government's ability and propensity to provide support.

       Factors that could, individually or collectively, lead to positive rating action/upgrade:

       The Support Rating Floor could be upgraded if Fitch assesses that there is a higher propensity for the state to provide support to D-SIBs, including KBank. However, Fitch does not expect such changes over the medium term. An upgrade of Thailand's Long-Term Foreign-Currency IDR of 'BBB+'/Stable may also indicate the government's higher ability to support banks (including KBank), but any assessment on the Support Rating Floor would also need to consider there is no lower propensity to support the banks.

               Factors that could, individually, or collectively, lead to negative rating action/downgrade:

               Negative action could be taken on the Support Rating and Support Rating Floor if the government's ability to provide support declines. This may happen if the agency downgrades Thailand's Long-Term Foreign-Currency IDR of 'BBB+'/Stable or if Fitch believes that the state has reduced its propensity to provide support to the bank, although we do not expect such a change over the medium term.

SUBORDINATED DEBT

               Factors that could, individually or collectively, lead to positive rating action/upgrade:

               KBank's subordinated debt instruments would be affected by an upgrade of the anchor ratings.

               Factors that could, individually, or collectively, lead to negative rating action/downgrade:

               KBank's subordinated debt instruments would be affected by a downgrade of the anchor ratings.

SUBSIDIARY AND AFFILIATED COMPANIES

            Any changes in KBank's National Ratings could lead to similar rating action on KS. The ratings could also be affected by any perceived changes in the propensity of KBank to support KS.

               Factors that could, individually or collectively, lead to positive rating action/upgrade:

               Fitch may upgrade KS's National Ratings if KBank demonstrates greater propensity for supporting the subsidiary. This may happen if KS becomes a more significant part of KBank's business.

               Factors that could, individually, or collectively, lead to negative rating action/downgrade:

               Weakening in KBank's ability or propensity to support; for example, if the parent significantly reduces its shareholding, financial and operational support commitment or its marketing and management linkages, could negatively affect the ratings of KS. However, Fitch does not expect such changes in the medium term.

BEST/WORST CASE RATING SCENARIO

            Ratings of financial institutions issuers have a best-case rating upgrade scenario (defined as the 99th percentile of rating transitions, measured in a positive direction) of three notches over a three-year rating horizon; and a worst-case rating downgrade scenario (defined as the 99th percentile of rating transitions, measured in a negative direction) of four notches over three years. The complete span of best- and worst-case scenario credit ratings for all rating categories ranges from 'AAA' to 'D'. Best- and worst-case scenario credit ratings are based on historical performance. For more information about the methodology used to determine sector-specific best- and worst-case scenario credit ratings, visit www.fitchratings.com/site/re/10111579

ESG CONSIDERATIONS

            The highest level of ESG credit relevance, if present, is a score of 3. This means ESG issues are credit-neutral or have only a minimal credit impact on the entity(ies), either due to their nature or to the way in which they are being managed by the entity(ies). For more information on Fitch's ESG Relevance Scores, visit www.fitchratings.com/esg

               REFERENCES FOR SUBSTANTIALLY MATERIAL SOURCE CITED AS KEY DRIVER OF RATING

               The principal sources of information used in the analysis are described in the Applicable Criteria.

Additional information is available on www.fitchratings.com

FITCH RATINGS ANALYSTS

Jindarat Sirisithichote

Associate Director

Primary Rating Analyst

+66 2 108 0153

Fitch Ratings (Thailand) Limited Park Ventures, Level 17 57 Wireless Road, Lumpini Bangkok 10330

Thanasit Utamaphethai

Associate Director

Primary Rating Analyst

+66 2 108 0154

Fitch Ratings (Thailand) Limited Park Ventures, Level 17 57 Wireless Road, Lumpini Bangkok 10330

Tania Gold

Senior Director

Primary Rating Analyst

+65 6796 7224

Fitch Ratings Singapore Pte Ltd. One Raffles Quay

#22-11, South Tower Singapore 048583

Patchara Sarayudh

Director

Secondary Rating Analyst

+66 2 108 0152

Thanasit Utamaphethai

Associate Director

Secondary Rating Analyst

+66 2 108 0154

Jonathan Cornish

Managing Director

Committee Chairperson

+852 2263 9901

APPLICABLE CRITERIA

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!