หมวดหมู่: บทวิเคราะห์
บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 16-7-2020ASP
 MARKET  TALK
กลยุทธ์การลงทุน
ต่างประเทศน้ำหนักอยู่ที่เรื่องสถานการณ์ Covid-19 และการประกาศ GDP Growth 2Q63 ของจีนเช้านี้ ส่วนในประเทศเป็นเรื่องการปรับ ครม. ซึ่งสถานการณ์งวดเข้ามาทุกขณะ คาด SET Index ยังผันผวนภายใต้ Upside จำกัด ปรับพอร์ตโดยลด BTSGIF ลง 10% มาลงทุนเพิ่มใน MCS ส่วน Top Pick เลือก MCS, INTUCH และ CPF
ปรับพอร์ต โดยแบ่งเงินเข้าลงทุนเพิ่มใน MCS
ประเด็นวันนี้นอกจากต้องติดตามพัฒนาการของสถานการณ์ Covid-19 ทั้งในมุมของจำนวนผู้ติดเชื้อ และ ความก้าวหน้าของวัคซีน อีกประเด็นหนึ่งที่ต้องติดตามคือการประกาศตัวเลข GDP Growth งวด 2Q63 ในช่วงเช้าวันนี้ โดยผลสำรวจจากนักเศรษฐศาสตร์ต่างๆ คาดว่าน่าจะเติบโตช่วง 2 – 2.5% YoY ซึ่งฝ่ายวิจัยเห็นว่าสวนทางกับดัชนีชี้นำเศรษฐกิจหลายตัว สำหรับปัจจัยภายในประเทศ เป็นเรื่องการปรับ ครม. ซึ่งในรอบนี้คาดว่าน่าจะเห็นการปรับเปลี่ยนมากกว่า 5 ตำแหน่ง โดยองค์ประกอบหลักเป็นการปรับเปลี่ยนในทีมที่จะเข้ามาดูแลเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งถือว่าต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะเป็นการปรับโดยมีแรงขับเคลื่อนมาจากภาคการเมือง และเป็นการปรับในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยในแง่มุมของนักลงทุนจะให้ความสำคัญกับความต่อเนื่องของมาตรการต่างๆ ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ตามในช่วงเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงอาจทำให้เห็นภาพ SET Index ผันผวนอยู่บ้าง จนกว่าจะมีผลงานปรากฎเด่นชัดออกมา สำหรับกลยุทธ์การลงทุน วันนี้ปรับพอร์ตเล็กน้อย โดยลดน้ำหนัก BTSGIF ลง 10% และนำเงินเข้าลงทุนใน MCS ส่วน Top Pick เลือก MCS, CPF และ INTUCH
พัฒนาการเรื่องวัคซีน ช่วยหนุนตลาด แต่ก็ยังมีโอกาสผันผวนได้ต่อ
ตลาดหุ้นทั่วโลกยังปรับขึ้นต่อ โดยเฉพาะสหรัฐ Dow jones, S&P500 +1% แต่หุ้นเล็กสหรัฐขึ้นมากกว่าสะท้อนจาก ดัชนี Russel2000 +3.95%โดยปัจจัยหนุนยังคงเป็นเรื่องเดิม คือ  
    พัฒนาการความคืบหน้า Vaccine Covid-19  ของบริษัท Moderna คือ วัคซีน mRNA-1273 สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้ป่วย 
    ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐ งวด 2Q63  ที่ทยอยออกมา ช่วงนี้คือ กลุ่ม ธนาคารพาณิชย์สหรัฐ  หลายบริษัทเมื่อวานนี้ออกมาดีกว่า Consensus คาด อาทิ  Goldman Sachs ดีกว่าคาด  50%,, วันก่อนหน้า JPMorgan Chase & Co ดีกว่าคาด  33%, Citigroup Inc ดีกว่าคาด  78% ฯลฯ
    หุ้นกลุ่มพลังงานได้รับปัจจัยหนุนจากราคาน้ำมันดิบ Brent, Dubai ที่ปรับขึ้น 2%  โดยปัจจัยหนุนมาจาก 1.) EIA รายงานสต็อคน้ำมันดิบสัปดาห์ล่าสุด ออกมา พลิกจากบวกในสัปดาห์กลับมาลดลง 7.49 ล้านบาร์เรล/วัน .... มากกว่าที่ตลาดว่าจะลด 2 ล้านบาร์เรล/วัน  และ 2.) ผลสรุปการประชุม OPEC+ เป็นไปตามที่คาด ไม่ Surprise คือ ไม่ต่อระยะเวลาตัดลดการผลิตที่ 9.7 ล้านบาร์เรล/วัน ทำให้กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันจะตัดลดการผลิตเหลือ 7.7 ล้านบาร์เรล/วัน นับตั้งแต่ เดือน ส.ค.-ธ.ค.63 และตลอดปี 2564 จะตัดลดเหลือ 6  ล้านบาร์เรล/วัน   
ผลคือ Supply น้ำมันเข้ามาในระบบเพิ่มขึ้น ราว 1.2  ล้านบาร์เรล/วัน  น้อยกว่าเดิม ตลาดคาดจะเพิ่มราว 2 ล้านบาร์เรล/วัน   
โดยรวมคำแนะนำหุ้นกลุ่มพลังงาน กลุ่มน้ำมัน ราคาหุ้น PTTEP(FV@B100) PTT (FV@B42 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจนเหลือ upside จาก FV ค่อนข้างจำกัด แนะนำหาจังหวะ Take profit ในช่วงราคาน้ำมันปรับขึ้น เช่นเดียวกับ  กลุ่มโรงกลั่น ราคาหุ้น TOP (FV@B43) ; BCP (FV@B21.2) PTTGC (FV@45) IRPC (FV@B2.9), ปิโตรเคมี IVL (FV@B32) ; TOP, PTTGC ในช่วงที่ผ่านมาได้ปรับตัวขึ้นมา และใกล้เต็มมูลค่าพื้นฐานเกือบหมดแล้ว  ASPS มีปรับลด คำแนะนำของกลุ่มเป็น “น้อยกว่าตลาด” จากเดิม  “เท่าตลาด”  
โดยรวม ASPS ประเมินว่าSET Index ยังมีโอกาสขึ้นตามกระแสตลาดหุ้นต่างประเทศเช่นกัน จากประเด็นการพัฒนาการเรื่องวัคซีน ช่วยหนุน แต่เชื่อยังมีโอกาสผันผวนได้ต่อ  ประเด็นที่ต้องติดตามในวันนี้มี 2 ประเด็น คือ  9 โมงเช้า การประกาศตัวเลข GDP Growth ของจีน งวด 2Q63 Consensus คาดจะพลิกกลับมาขยายตัว 2.5%yoyจาก งวด 1Q63 ที่ – 6.8%yoy  และ 6.45 น. การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) 
การปรับ ครม. ที่กำลังเกิดขึ้น ต้องติดตามใกล้ชิดในมุมเรื่องความต่อเนื่องของมาตรการ
ตามที่ฝ่ายวิจัยได้เคยนำเสนอว่า การปรับ ครม. จะเกิดขึ้นในอีกไม่นานนี้ ในรายงานฉบับวันที่ 10 ก.ค.2563 จนถึงปัจจุบันสัญญาณของการปรับ ครม. เฉพาะอย่างยิ่งในกระทรวงที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจมีความชัดเจนขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง โดยหลายสำนักข่าวรายงานตรงกันว่ามีรัฐมนตรีรวม 4 ท่าน ที่ยื่นใบลาออกจากตำแหน่ง ประกอบด้วย รองนายกรัฐนตรีที่ดูแลด้านเศรษฐกิจ (ดร.สมคิด), รมว. คลัง, รมว.พลังงาน  และ รมว.กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ฯ พร้อมกันนี้ ก็ได้มีรายชื่อของบุคคลที่คาดว่าจะเข้ามารับตำแหน่งแทน ในตำแหน่งต่างๆ ภายใต้สถานการณ์แวดล้อมดังกล่าวจึงเชื่อว่า การ ปรับคณะรัฐมนตรี น่าจะเกิดขึ้นในช่วงเดือน ก.ค. 2563 นอกจากนี้ยังต้องติดตามว่า อาจจะเห็นการปรับเปลี่ยนที่มากกว่า 5 ตำแหน่ง (เพิ่ม รมว. แรงงาน ที่ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง) เนื่องจากสัดส่วน ส.ส. ที่สังกัดพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลมีการเปลี่ยนแปลงไปจากช่วงเริ่มตั้งรัฐบาล ซึ่งกระทบต่อโควต้ารัฐมนตรีที่แต่ละพรรคได้รับ
โดยภาพรวมการปรับ ครม. ในรอบนี้ถือว่าเป็นผลจากแรงขับเคลื่อนทางการเมือง ส่วนผลที่ตามมาเป็นเรื่องที่ต้องจับตาใกล้ชิดเนื่องจากเป็นการปรับเปลี่ยนตัวบุคคลที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ในภาวะที่เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะถดถอย โดย 1 ในประเด็นหลักที่ที่เฝ้ามองเป็นเรื่องของ การขับเคลี่อนเม็ดเงินตามแผนงานเดิมออกสู่ระบบเศรษฐกิจ เฉพาะอย่างยิ่งเม็ดเงินตาม พ.ร.ก. 1 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการขับเคลื่อนมาตรการใหม่ๆ ที่จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งถือว่ามีข้อจำกัดอยู่หลายประการ ในมุมของนักลงทุนโดยธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลง เบื้องต้นถือเป็นความเสี่ยง จนกว่าจะมีผลงานที่เด่นชัดปรากฎให้เห็น
เศรษฐกิจไทยในช่วง 2H63 แนวโน้มชะลอ หวังพึ่งเม็ดเงินรัฐ 
เศรษฐกิจไทยในช่วง 2H63 ยังเผชิญความเสี่ยง แม้ว่าปัจจุบันไทยจะไม่พบผู้ติดเชื้อ COVID-19 จากในประเทศ มาต่อเนื่องถึง 51 วันแล้ว แต่จากกรณีพบผู้ติดเชื้อจากต่างประเทศ 2 รายที่เดินทางไปในที่สาธารณะช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้กระตุ้นความกังวลว่าไทยอาจเผชิญกับการระบาดระลอกที่ 2 (2nd wave)
ความกังวลดังกล่าวส่งผลให้ประชาชนเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น ทั้งทางด้านการเดินทาง และการจับจ่ายใช้สอย สะท้อนจากข้อมูลการายงานการเดินทางของประชาชนโดย Apple (Apple Mobility Trends Reports) ดังรูป) พบว่า การเดินทางมีแนวโน้มชะลอตัวลง จนต่ำกว่าระดับช่วงก่อนวันหยุดยาวเมื่อต้นเดือน ก.ค. 2563 ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าการเดินทางที่ชะลอตัวลง ไม่ได้เกิดจากการกลับเข้าสู่ภาวะปกติหลังวันหยุดยาว แต่เกิดจากประชาชนหลีกเลี่ยงการเดินทาง เพราะกังวลการระบาด 2nd wave
อย่างไรก็ตาม ไทยได้รับผลกระทบจาก การระบาดระลอกที่ 1 (1st wave)  และเกิดการ Lockdown ประเทศช่วง 1H63 ทำให้ทั้งปี 2563 ASPS คาดเศรษฐกิจหดตัว 8.4%  และประเมินว่า 2H63 ยังมี Down side ที่อาจจะให้ปรับลดคาดการณ์ได้อีก หลักๆคือ 
    การบริโภคครัวเรือน 50%ของ GDP ที่กระทบจาก การจ้างงานมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด สภาอุตสาหกรรมประเมินว่าในช่วงที่เหลือของปีจะมีแรงงานว่างงานอีกราว 1.5 ล้านคน ส่งผลให้ทั้งปี 2563 มีแรงงานว่างงานกว่า 3 ล้านคน 
    การผลักดันเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจจะออกมา ได้รวดเร็วและเพียงพอ หรือไม่ในช่วง 2H63  โดนมีปัจจัยที่อาจทำให้เกิดอุปสรรค คือ การปรับ ครม.ชุดใหม่ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ (ดัง Paragraph ดังกล่าว)  จะสามารถผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และโครงการลงทุนต่างๆที่ยังค้างอยู่อย่างไร (ดังรูป) รวมถึงอาจพิจารณาออกมาตรการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหม่เพิ่มเติมอะไรบ้าง  เช่น  ASPS คาดมีโอกาสออกมาตรการ จ่ายเงินเยียวยา (คล้ายโครงการเราไม่ทิ้งกันเฟส 1) 
แนะนำ CPF, MCS, INTUCH 3 หุ้นกำไรดี มีปันผลระหว่างกาล
ในยามที่ตลาดหุ้นไทยต้องเผชิญกับวิกฤต COVID-19 รวมถึงการระบาดในระยะที่ 2 บวกกับอยู่ในช่วงรอยต่อปรับเปลี่ยน ครม. ขณะที่ Valuation ตลาดอยู่ในระดับที่แพงกว่าปกติมาก โดยมี P/E สูงเกิน 20 เท่า เนื่องจากนักลงทุนมีการเข้ามาเก็งกำไรหาผลตอบแทนที่มากขึ้น ในยามที่ดอกเบี้ยนโยบายต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ หรือ Search For Yield
ในยามที่ตลาดยังมีความไม่แน่ไม่นอนสูง ฝ่ายวิจัยทำการค้นหาหุ้นที่น่าจะเป็นเป้าหมายของการ Search For Yield ในช่วงต่อจากนี้ ด้วย 2 เงื่อนไข คือ 
•    ค้นหาหุ้นที่มีกำไรเติบโตโดดเด่น แม้ภาพรวมกำไรตลาดช่วง 1H63 คาดลดลงกว่าครึ่งของช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า กดดันปี 2563 คาดว่าลดลงกว่า 27.5% 
•    หุ้นที่คาดว่าจะมีการจ่ายปันผลระหว่างกาลในช่วงเดือน ส.ค. – ก.ย. 63 ในยามที่หลายๆ บริษัทมีการงดจ่ายปันผลระหว่างกาล อาทิ หุ้นกลุ่ม ธ.พ.
ผลลัพธ์หุ้นพื้นฐานแข็งแกร่งที่เข้าเงื่อนไขดังกล่าว คือ MCS, INTUCH, CPF แนะนำเป็น Toppick และมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้
MCS(FV @ 17.70) หนึ่งในหุ้นกลุ่มเหล็กที่คาดกำไร 2Q63 เติบโต 71%YoY มาสู่ระดับ 202 ล้านบาท ปัจจัยบวกมาจาก Gross Margin 2Q63 ที่เพิ่มเป็น 43.2% เทียบกับ 2Q62 ที่ต่ำเพียง 26.5% ตามปริมาณส่งมอบงานญี่ปุ่น 1.35 หมื่นตัน คาดจะรับรู้รายได้ 853 ล้านบาท ขณะที่ทิศทางกำไร 2H63 จะส่งงาน High margin เพิ่มขึ้น อาทิ Toranomon และ Azabudai ที่มีราคาขายสูงกว่า 2.8 แสนเยน/ตัน จึงทำให้ฝ่ายวิจัยฯ เพิ่มประมาณการปี 2563 ขึ้น 22.8% เป็น 887 ล้านบาท และปี 2564 เพิ่มเป็น 929 ล้านบาท ขณะที่ราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน มี Upside สูงเกือบ 40% อีกทั้งมี Valuation ที่โดดเด่น โดยมีค่า PER20F เพียง 7.2 เท่า และ EPS Growth 20F เติบโตกว่า 45%YoY โดยคาดหวังปันผลระหว่างกาลสูงเกิน 3% ถือเป็นโอกาสสะสม
INTUCH(FV @ 70.00) หลังจาก DTAC รายงานงบงวด 2Q63 ออกมาดีกว่าคาด ส่วนหนึ่งเกิดจากการคุมต้นทุนได้ดี อาทิ ประหยัดค่าเช่า ลดค่าค่าโฆษณา เป็นต้น ถือเป็น Sentiment ที่ดีต่อหุ้นในกลุ่มฯ ที่มีการปรับตัวเช่นกันในช่วง COVID-19 และมี Valuation น่าสนใจกว่า อย่าง INTUCH ซึ่งเป็นหุ้น Defensive ที่คาดหวังการเติบโตระยะยาวจากคลื่น 5G ตามบริษัทลูกอย่าง ADVANC อีกทั้งเป็นหุ้นที่จ่ายปันผลระหว่างกาลทุกปี(ย้อนหลัง 10 ปี) โดยคาดปีนี้จ่ายปันผลระหว่างกาล 1.12 บาท/หุ้น คิดเป็น Div Yield สูงเกือบ 2% (Div Yield ทั้งปีสูงเกือบ 4%)
CPF(FV @ 40.00) ราคาสุกรหน้าฟาร์มปรับเพิ่มขึ้นจนทำจุดสูงสุดในรอบ 2 เดือน สอดคล้องกับราคาไก่เป็นที่ปรับเพิ่มขึ้นจนทำจุดสูงสุดในรอบ 3 เดือนเช่นกัน การกลับมาเปิดเมือง รวมถึงประเด็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ระบาดจากสุกรสู่คนในจีน หนุนกำไรช่วง 2H63 ฟื้นตัวชัดเจน ส่งผลกำไรสุทธิปี 2563-64 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 16.8% yoy และ 4.7% yoy อีกทั้งเป็นหุ้นที่จ่ายปันผลระหว่างกาลทุกปี(ย้อนหลัง 10 ปี) โดยคาดปีนี้จ่ายปันผลระหว่างกาล 0.4 บาท/หุ้น คิดเป็น Div Yield ประมาณ 1.1%
RESEARCH DIVISION
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
ภราดร เตียรณปราโมทย์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร
นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506
ภวัต ภัทราพงศ์
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
******************************************

 

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!