หมวดหมู่: บทวิเคราะห์
DBS
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 
 
ต่างประเทศรุมเร้า รายได้ Fee SCB-KBANK ลดมาก
 
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
  ภาวะตลาดและปัจจัย : ตลาดวานนี้– SET Index ปิดตลาด-12.13 จุด ที่ 1682.91 จุด ถือว่าปรับลงสอดคล้องกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน มูลค่าการซื้อขายเบาบางเป็น 46 พันล้านบาท ดัชนีฯได้รับผลกระทบจากต่างประเทศคือ ดาวโจนส์ปรับลง หลังรายงานเฟดย้อนหลัง จะเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก บอนด์ยิลด์ 10 ปีปรับขึ้น บาทอ่อน น้ำมันก็ปรับลงการเมืองมีการพูดเรื่องปฏิวัติ ด้าน BGC เพิ่งเข้าตลาดฯวานนี้วันแรกเหนือจอง 16% ถือว่าดี แต่ OSP ปรับลงแรง ด้านผู้ขายสุทธิเป็น ต่างประเทศ 3.2 พันล้านบาท สถาบัน 0.6 พันล้านบาท และพอร์ตโบรกเกอร์ 0.03 พันล้านบาท ส่วนผู้ซื้อสุทธิรายเดียวคือ นักลงทุนทั่วไป 3.8 พันล้าน
  แนวโน้มและกลยุทธ์– ระยะสั้น SET ปัจจัยต่างประเทศรุมเร้า ดาวโจนส์ปรับลงแรง หลังรายงานเฟดย้อนหลัง จะเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก ราคาน้ำมันลด ความขัดแย้งสหรัฐ-ซาอุ สหรัฐ-จีน ปัญหางบประมาณอิตาลี บาทอ่อนเล็กน้อย ดัชนีความกลัวเพิ่ม และ SCB-KBANK รายได้ค่าธรรมเนียมที่ลดลงมากกว่าตลาดฯคาดเป็นลบ บอนด์ยิลด์ 10 ปีลดลงเล็กน้อย ตลาดหุ้นเพื่อนบ้านเช้านี้ปรับลง สำหรับดาวโจนส์ล่วงหน้า +31 จุด ณ 8.12 น. น้ำมันล่วงหน้าปรับขึ้น ส่วนมาตรการคุมเข้มสินเชื่อที่อยู่อาศัยอยู่ในช่วง Hearing ติดตามธปท.จะผ่อนคลายบ้างไหม ข้อดีคือแม้ปัญหา Emerging Market (EM) ยังไม่จบ แต่เศรษฐกิจของไทยเหนือกว่า EM อื่นคือ ตัวเลขเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง บัญชีเดินสะพัดเกินดุลเศรษฐกิจ ต.ค.แนวโน้มแข็งแกร่ง ด้านการเลือกตั้งตามโรดแมป มีกิจกรรมคึกคักขึ้น สำหรับปัจจัยต่างประเทศที่เป็นภาพใหญ่คือ ECB ทยอยลด QE และหยุดตอนสิ้นปี มีเงินไหลมาลงทุน EM น้อยลง ปัจจัยที่ยังต้องติดตามคือ สหรัฐคว่ำบาตรอิหร่าน ส่วนระยะกลาง-ยาวเฟดคาดปีนี้จะปรับขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง (ปรับขึ้นอีก 1 ครั้งในช่วงที่เหลือของปี) และปีหน้าอีก 3 ครั้ง ทำให้แนวโน้มดอลลาร์แข็งค่า และเงินไหลออกกลับไปสหรัฐ นับว่าปัจจัยต่างประเทศยังกดดันในเรื่องกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อไป แต่กังวลไทยจะได้รับผลกระทบสงครามการค้าตั้งแต่ปีหน้า แต่ก็มีข้อดีจะมีการย้ายฐานการผลิตมาไทยจีนมาไทย กลยุทธ์ในสัปดาห์นี้ ยังคงเน้นลงทุนหุ้นรายตัวที่มีพื้นฐานดีเมื่อราคาหุ้นปรับลงตามดัชนีฯ และเลือกหุ้นที่มีประเด็นที่น่าสนใจ หุ้นเน้นธุรกิจในประเทศ (Domestic Play) รวมทั้งหุ้นปันผลสูง นักลงทุนระยะสั้นควรเล่นรอบสั้นๆ ไม่หวังกำไรมาก ควรตั้งเป้าผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรม และทยอยขายทำกำไรเมื่อได้ตามเป้าหมาย ระยะนี้คาดว่า SET จะซื้อขายอยู่ในกรอบเป็น 1660-1710 จุด แต่ SET ตามพื้นฐานระยะยาว 1 ปี ให้ไว้ที่ 1860 จุด ที่ P/E 17 เท่า ซึ่งเป็น Median+1 SD และ EPS ปี 61 เติบโตเฉลี่ย 10% ดัชนีฯปรับลง แนะนำให้ทยอยสะสมเพื่อการลงทุนระยะยาวได้
  Update หุ้นเด่น: HANA – ได้ประโยชน์ในช่วงบาทอ่อนค่า อีกทั้งแนวโน้ม 2H61 แข็งแกร่ง เชื่อว่ารายได้ในครึ่งหลังปีนี้จะสดใสจากปริมาณซื้อที่สูง โดยเฉพาะจากอุตสาหกรรมสื่อสาร และอุตสาหกรรมอื่นๆก็ไปได้ดีทั้ง คอมพิวเตอร์, ยานยนต์, RFID และอุปกรณ์การแพทย์ ส่วนปี 62 คาดว่าจะเติบโตได้ต่อเนื่องเพราะเป็นช่วงขาขึ้นของอุตสาหกรรมเซมิคอนดัคเตอร์ แต่เราก็ประมาณการอัตราการเติบโตของรายได้รูปดอลลาร์อย่างอนุรักษ์นิยมไว้ก่อนที่ +5% คงคำแนะนำซื้อ ให้ราคาพื้นฐาน 43.50 บาท อิงกับ P/E ปี 62 ที่ 15 เท่า –จุดเด่น คือ อุปสงค์ที่แข็งแกร่งทำให้รายได้เติบโตได้, ฐานะการเงินแข็งแกร่ง เป็นเงินสดสุทธิ และจ่ายปันผลสูง คาด Dividend ปีนี้ 2.00 บาท/หุ้น คิดเป็น Yield 5.1%
  การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น Candlestick & Indicators เป็นลบ ความน่าจะเป็นของตลาดฯระยะกลางมีน้ำหนักเป็นการลง ตามโครงสร้าง อย่างไรก็ตามอาจมีรีบาวด์สั้นๆก่อนจึงปรับลง ซื้อเน้นค่าบวก แนวต้าน 1690-1700/1710 แนวรับ 1670-1660 แนวตัดขาดทุนต่ำกว่า 1680
  สำหรับหุ้นที่คาดว่าจะทำ New High ที่เข้ามาใหม่คือ RCI,HANA,TRUE หุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ KTC,RML หุ้นที่หลุด List ROJNA,TOP,WICE,BRR หุ้นที่อยู่ในพื้นที่หาจังหวะ Take Profit คือ ไม่มี
 
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
- ภาวะตลาดหุ้น : ดาวโจนส์ปรับลงแรง วิตกเฟดขึ้นดอกเบี้ย วิตกความขัดแย้ง สหรัฐ-ซาอุ
  # ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 25,379.45 จุด ร่วงลง 327.23 จุด หรือ -1.27% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,768.78 จุด ลดลง 40.43 จุด หรือ -1.44% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 7,485.14 จุด ลดลง 157.56 จุด หรือ -2.06%
  # ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (18 ต.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากปัจจัยลบทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งรวมถึงการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ความความสัมพันธ์อันตึงเครียดระหว่างสหรัฐและซาอุดีอาระเบีย ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีน และปัญหาการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลอิตาลี โดยความวิตกกังวลในเรื่องเหล่านี้ได้ฉุดหุ้นกลุ่มต่างๆร่วงลงเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มอุตสาหกรรม และกลุ่มสินค้าผู้บริโภค
- ตลาดนํ้ามัน : น้ำมัน WTI ปรับลง สต็อกอยู่ในเกณฑ์สูง วิตกความขัดแย้ง สหรัฐ-ซาอุ
  # สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ย. ลดลง 1.10 ดอลลาร์ หรือ 1.6% ปิดที่ 68.65 ดอลลาร์/บาร์เรล
  # สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 76 เซนต์ หรือเกือบ 1% ปิดที่ 79.29 ดอลลาร์/บาร์เรล
  # สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (18 ต.ค.) เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐที่พุ่งขึ้นมากกว่าตัวเลขคาดการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่นักลงทุนจับตาสถานการณ์ตึงเครียดทางการเมืองระหว่างสหรัฐและซาอุดีอาระเบีย รวมทั้งจับตาผลกระทบของมาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน
• ทองคำ : ปรับขึ้น วิตกเฟดขึ้นดอกเบี้ย
  # สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. เพิ่มขึ้น 2.7 ดอลลาร์ หรือ 0.22% ปิดที่ 1,230.10 ดอลลาร์/ออนซ์
  # สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (18 ต.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัยหลังจากตลาดหุ้นสหรัฐร่วงลงอย่างหนัก อันเนื่องมาจากความความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และข้อพิพาทการค้าระหว่างสหรัฐและจีน นอกจากนี้ ความสัมพันธ์อันตึงเครียดระหว่างสหรัฐและซาอุดีอาระเบียยังเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยหนุนแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย
-ปัจจัยต่างประเทศเป็นลบ ความขัดแย้งสหรัฐกับซาอุ สหรัฐกับจีน และงบประมาณของอิตาลี
  # นักลงทุนจับตาความสัมพันธ์อันตึงเครียดระหว่างสหรัฐและซาอุดีอาระเบีย กรณีการหายตัวไปของนายจามาล คาช็อกกีนักข่าวซาอุดีอาระเบีย
  # นักลงทุนเริ่มกลับมาวิตกกังวลเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีนอีกครั้ง ระบุว่า จีนทำการค้าอย่างไม่ยุติธรรม และขโมยทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐอย่างผิดกฎหมาย
  # สถานการณ์ด้านงบประมาณของอิตาลียังเป็นอีกปัจจัยที่สร้างแรงกดดันต่อตลาด หลังจากคณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกมาเตือนรัฐบาลอิตาลีในเรื่องการขาดดุลงบประมาณ
- รายงานการประชุมเฟด จำเป็นต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อไป
  # รายงานการประชุมเฟดประจำวันที่ 25-26 ก.ย. ระบุว่า กรรมการเฟดส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า เฟดจำเป็นต้องเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
  # CME Group ระบุว่า จากการใช้เครื่องมือ FedWatch วิเคราะห์ภาวะการซื้อขายสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐพบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาสมากกว่า 80.4% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนธ.ค.นี้
- ตัวเลขยื่นขอสวัสดิการครั้งแรก และ ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยังร้อนแรง
  # กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 5,000 ราย สู่ระดับ 210,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ใกล้ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2512 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงสู่ระดับ 212,000 ราย
  # ทางด้าน Conference Board เปิดเผยว่า ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ Leading Economic Index (LEI) ปรับตัวขึ้น 0.5% ในเดือนต.ค. ซึ่งดีดตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกัน และสอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ โดยดัชนี LEI ถือเป็นสิ่งบ่งชี้ความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐ โดยคำนวณจากตัวเลขเศรษฐกิจ 10 รายการ ซึ่งรวมถึง คำสั่งซื้อใหม่ของภาคการผลิต, ราคาหุ้น และตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
• ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจที่จะทยอยประกาศออกมา
  # นักลงทุนจับตาสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) ซึ่งมีกำหนดเปิดเผยยอดขายบ้านมือสอง ประจำเดือนก.ย. ในวันนี้ เวลา 21.00 น.ตามเวลาไทย
 
ปัจจัยในประเทศ และข่าวเด่นอุตสาหกรรม
-สอท.เผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย.61 ลดลง
  # ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย.61 อยู่ที่ระดับ 91.5 ลดลงจากระดับ 92.5 ในเดือนส.ค.61 จากการสำรวจพบว่าในเดือนก.ย. ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง กระทบต่อต้นทุนการผลิตและการขนส่ง ขณะที่ผู้ประกอบการส่งออกเห็นว่า เงินบาทที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับภูมิภาค ทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง รวมทั้งปัญหาความแออัดของท่าเรือที่ทำให้เกิดความล่าช้าในการขนส่งสินค้า ขณะเดียวกันผู้ประกอบการเห็นว่าข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน มีแนวโน้มจะยืดเยื้อ
-ยอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป ก.ย.61 อยู่ที่ 104,163 คัน ลดลง 13.67% y-o-y
  # ส.อ.ท. เปิดเผยว่า ในเดือน ก.ย.61 ยอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปอยู่ที่ 104,163 คัน ลดลง 13.67% จากเดือน ก.ย.60 จากการส่งออกรถยนต์นั่ง รถกระบะ และรถ PPV ที่ลดลง โดยลดลงเกือบทุกตลาด ยกเว้นตลาดเอเชีย ตลาดแอฟริกา และตลาดอเมริกากลางและอเมริกาใต้ โดยมีมูลค่าการส่งออกรถยนต์ คิดเป็น 54,403.22 ล้านบาท ลดลง 14.55%
-ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ก.ย.61 ต่ำลง
  # มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย (TCC CONFIDENCE INDEX : TCC-CI) รายภาคประจำเดือน ก.ย.61 อยู่ที่ระดับ 48.4 ปรับตัวลดลงจาก 49.8 ในเดือน ส.ค.61 ขณะที่มุมมองต่อดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยในอนาคตช่วง 6 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงเช่นกัน โดยอยู่ที่ระดับ 50.5 จากระดับ 51.9 ในเดือน ส.ค.61
+/- ติดตามประกาศผลประกอบการ 3Q61 กลุ่มสถาบันการเงินประกาศสัปดาห์นี้
  # คาดการณ์กำไรสุทธิกลุ่มธนาคาร 3Q61 เป็น 43.1 พันล้านบาท (+5.9% y-o-y,-6.8% q-o-q)
  # สาเหตุที่เติบโตได้ y-o-y เพราะความต้องการสินเชื่อมาก และการตั้งสำรองปรับลดลง แต่ขณะเดียวกัน รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย ได้แก่ค่าธรรมเนียมกลับปรับลดลง รวมทั้งต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น
  # ในงวด 3Q61 คาดว่าหลักทรัพย์ที่มีกำไรสุทธิดีสุดคือ BBL ส่วนกำไรจากการดำเนินงานดีสุดคือ KKP
  # คงจัดลำดับให้ BBL และ KKP เป็น Top Pick ในหลักทรัพย์หมวดธนาคาร
 
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
OO15238

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!