หมวดหมู่: บทวิเคราะห์
KTB
บล.เคทีบี (ประเทศไทย) : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 


“  สงครามการค้า สหรัฐฯ-จีน ฉุดหุ้นลง”
ทิศทางตลาดหุ้นไทย:
  เรามองว่าตลาดในวันนี้มีโอกาสปรับตัวลงในลักษณะเดียวกับตลาดหุ้นสหรัฐฯ หลัง ปธน. ทรัมป์ได้ลงนามในคำสั่งประธานาธิบดี เพื่อเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนวงเงิน 6 หมื่นล้านดอลลาร์ ถือเป็นปัจจัยลบที่เกิดขึ้นเร็วกว่าตลาดคาด โดย สินค้าที่คาดว่าจะถูกเก็บภาษีในครั้งนี้คือสินค้าในกลุ่มเทคโนโลยี ซึ่งสหรัฐฯจะเปิดเผยรายการสินค้าที่จะถูกเรียกเก็บภาษีภายใน 15 วัน และเตรียมเสนอการตั้งข้อจำกัดต่อการลงทุนของจีนในสหรัฐฯ ในขณะที่ จีนตอบโต้โดยการเล็งออกมาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐวงเงิน 3 พันล้านดอลลาร์....  ด้านตัวเลขทางเศรษฐกิจ  จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกอยู่ที่ระดับ 229,000 ราย สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 225,000 ราย

กลยุทธ์การลงทุน:
  มองตลาดปรับตัวลง แนะนำเพิ่มการถือครองเงินสด .... แนะนำหุ้นที่มีลักษณะ defensive ไม่ผันผวนตามดัชนีตลาด หรือหุ้นที่อิง domestic play ไม่มีความเกี่ยวข้องกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน หลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้นที่ได้รับผลลบโดยตรงกับประเด็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน อาทิกลุ่มขนส่ง, กลุ่มเดินเรือ  .… หุ้นที่ติด most active ที่เราแนะนำซื้อ ประกอบด้วย BEAUTY, KTC
  หุ้นแนะนำเชิงกลยุทธ์: ROBINS
  หุ้นแนะนำทางเทคนิค: AH, PRM, BIG
 * เป็นหุ้นที่แนะนำเชิงกลยุทธ์ โดย KTBST ไม่ได้จัดทำบทวิเคราะห์
หุ้น Active ที่น่าสนใจ
(+) BEAUTY : (ราคาปิด 21.60 บาท)
  เราเลือก BEAUTY ต่อเนื่อง โดย BEAUTY ได้แรงหนุนจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีน เดือนก.พ. 2018 เพิ่มขึ้น +52% YoY อีกทั้งยังคาดการณ์การเติบโตช่วง 1Q18 ในระดับสูง จากการบริโภคในประเทศที่ฟื้นตัว, นักท่องเที่ยวจีนเข้ามามากในช่วงตรุษจีน, การขยายสาขาที่เพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ, และการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายผ่าน King Power และ 7-11 .... ราคาที่เหมาะสมโดย KTBST ที่ 25.00 บาท
(+) KTC : (ราคาปิด 271.00 บาท)
  KTC เป็นหุ้นที่อิงกับปัจจัยในประเทศเป็นหลัก โดยบริษัทได้มีการขยายกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้นจากกลุ่มระดับ Mass ขึ้นสู่กลุ่มระดับ Premium ที่มีฐานเงินเดือนสูงกว่า 5 หมื่นบาท นอกจากนี้บริษัทยังมีการบริหารแหล่งเงินกู้โดยการออกหุ้นกู้ระยะยาว เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราดดอกเบี้ยขาขึ้น โดยเราคาดปี 2018 บริษัทเติบโต +23% YoY ที่ 4,048 ล้านบาท .... ราคาที่เหมาะสมโดย KTBST ที่ 285.00 บาท
(+) ROBINS : (ราคาปิด 63.75 บาท)
  ROBINS เป็นอีกหนึ่งหุ้นที่มีลักษณะเป็น domestic play ซึ่งปัจจุบันความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังคงทรงตัวในระดับสูงที่ 79.3 ในขณะที่ค่าเฉลี่ย 2 ปีอยู่ที่ระดับราว 75 นอกจากนี้ เรายังมองว่าปี 2018 กำไรสุทธิของบริษัทจะเพิ่มขึ้น +13% YoY จากเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว การบริหารต้นทุนที่ดีและการขยายสาขา   .... ราคาที่เหมาะสมโดย KTBST ที่ 79.00 บาท
  หุ้นมีประเด็น
  (-) สหรัฐฯเตรียมเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีน 6 หมื่นล้านดอลลาร์ ในขณะที่จีนเล็งออกมาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐวงเงิน 3 พันล้านดอลลาร์
  ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ได้ลงนามในคำสั่งประธานาธิบดีในวันนี้ เพื่อเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนวงเงิน 6 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งจะเป็นการลงโทษจีนที่ได้ขโมยทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัทสหรัฐ ปธน.ทรัมป์จะสั่งการให้ USTR เปิดเผยรายการสินค้าที่จะถูกเรียกเก็บภาษีภายใน 15 วัน และจะมีช่วงเวลา 30 วันสำหรับการรับฟังความเห็นจากประชาชน ขณะที่ USTR ได้ระบุรายการสินค้าที่จะตกเป็นเป้าหมายแล้ว โดยเป็นสินค้าจำนวน 1,300 รายการ
  ในขณะที่ จีนเตรียมประกาศมาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐเป็นวงเงิน 3 พันล้านดอลลาร์ตอบโต้ จีนได้วางแผนเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็ก ผลไม้ ไวน์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆของสหรัฐในอัตรา 15% และเรียกเก็บภาษีนำเข้าเนื้อหมูและอลูมิเนียมในอัตรา 25% โดยจีนได้พุ่งเป้าเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐจำนวน 128 รายการ
ความเห็น: -
  KTBST ประเมินผลในเบื้องต้น จากการใช้มาตรการทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ไว้ดังนี้
  ในภาพรวม ผลมาถึงไทยยังไม่ชัดเจนนัก เนื่องยังไม่มีระบุตัวสินค้าที่ชัดเจนออกมา รวมถึงผลกระทบจากการ shift การขายสินค้าของสองประเทศนี้ เนื่องจากเป็นเพียงการเริ่มต้น เรารวบรวมผลบวก-ลบ หรือผลอื่นๆ ที่คาดว่าจะมีต่อหุ้นไทย ไว้ดังนี้
ผลในเชิงลบ
 การค้าระหว่างประเทศที่อาจชะลอตัว  ส่วนที่กระทบอย่างมีนัยยะ จะเป็นการค้าที่ไทยมีต่อจีน โดยตรง โดยแยกเป็น
   ธุรกิจโลจิสติกส์ : หากการค้าระหว่างประเทศชะลอตัว ผู้ประกอบการด้านขนส่ง จะถูกกระทบตามไปด้วย เช่น PSL , RCL . TTA , WICE
   สินค้า ที่มีความเป็น commodity :  อย่างเช่น เหล็ อาจทำให้ผู้ประกอบการขาดทุนจาก stock หากราคาเหล็กปรับตัวลดลง เป็นลบโดยตรงต่อหุ้นกลุ่มเหล็ก
ผลในเชิงบวก
   สินค้า commodity  เช่นเหล็ก-ถั่วแหลือง อาจมีราคาที่ปรับตัวลดลง  เป็นบวกต่อผู้นำเข้าที่ผลิตหรือนำมาขายในประเทศ  TVO
ผลอื่นๆ
   ผู้ประกอบการไทย ที่มีฐานในประเทศสหรัฐฯ   อย่างเช่น  TU ไม่ได้รับผลกระทบนี้ เนื่องจาก  ไม่ได้มีการขายตรงมาที่จีน  แต่ กรณีของ IVL  แม้มีฐานการผลิตในสหรัฐฯ เพื่อขายในประเทศ แต่อาจได้รับผลกระทบ จากราคาผลิตภัณฑ์เส้นใย เช่น Polyester ที่จีนเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ ที่อาจปรับตัว
  
(0) KBANK เผยแนวโน้มสินเชื่อ 1Q18 ยังต่ำเป้า แต่คาด 1H18 จะโตได้ 3% YoY
  นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย กรรมการ ผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) หรือ KBANK กล่าวว่า ภาพรวมการปล่อยสินเชื่อในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ ยังเติบโตต่ำกว่าเป้าหมายเล็กน้อย เนื่องจากยังไม่ใช่ฤดูกาลการเบิกใช้สินเชื่อของภาคธุรกิจ โดยคาดว่าสินเชื่อจะกลับมาเร่งตัว อีกครั้งในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งถือเป็นช่วงไฮซีซั่น อย่างไรก็ตาม ช่วงครึ่งแรกของปีนี้ คาดว่าสินเชื่อจะขยายตัวได้ 3% โดยมาจากสินเชื่อเกี่ยวกับการส่งออก โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความต้องการใช้เงินเพื่อเป็นทุนหมุนเวียน และทั้งปียังเชื่อว่าการขยายตัวจะอยู่ที่ 5-7% จากกลุ่มสินเชื่อภาคส่งออก ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับโครงสร้างพื้นฐานของรัฐและ อีอีซี สำหรับ NPL ขณะนี้ยังทรงตัวใกล้เคียงกับ  ปีก่อนและครึ่งปีหลังยังไม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจปีนี้ยังเติบโตได้ดี (ที่มา: นสพ. กรุงเทพธุรกิจ)
  ความเห็น: เรามีมุมมองเป็นกลางต่อประเด็นดังกล่าว เนื่องจากโดยปกติใน 1Q18 จะเป็นช่วง Low season ของการเบิกจ่ายอยู่แล้ว (2M18 สินเชื่อของ KBANK เติบโตได้ที่ 1.1% YTD) ซึ่งจะส่งผลให้การเติบโตของสินเชื่อดูเหมือนจะต่ำเป้าทั้งปีของ KBANK ที่ 5-7% YoY แต่อย่างไรก็ดี เรามองว่า จะเริ่มเห็นแนวโน้มการเติบโตที่เพิ่มขึ้นได้ดีในช่วง 2H18 โดยเฉพาะใน 4Q18 ที่เป็นช่วง Peak ของการเบิกจ่าย ซึ่งเราเชื่อว่า KBANK จะทำได้ตามเป้าหมายได้ ขณะที่เราคาดว่า สินเชื่อในปี 2018 จะเติบโตได้ดีที่ 6% YoY จากปีก่อนที่ 6.2% YoY ส่วนภาพรวมของ NPL เราคาดว่า ได้ผ่านจุดสูงสุดไปเรียบร้อยแล้วในปี 2017 และในปี 2018 KBANK จะเน้นการเติบโตจากสินเชื่อรายใหญ่มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้มี asset quality ที่ดีขึ้น โดยปี 2018 เราคาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 3.27% จาก 3.30% ในปีก่อน โดยเรายังคงคำแนะนำ “ซื้อ” สำหรับ KBANK มูลค่าเหมาะสมที่ 246 บาท
บทวิเคราะห์วันนี้
(0) SAWAD (ถือ/67 บาท) ความเสี่ยงจากข้อบังคับต่ำ แต่แลกมาด้วยอัตราผลตอบแทนที่ลดลง
  จากการประชุมนักวิเคราะห์วานนี้ (22 มี.ค. 2018) ผู้บริหารคาดได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงของข้อบังคับในอนาคตที่น้อย เนื่องจาก ณ ปัจจุบันบริษัทได้ปล่อยสินเชื่อเงินให้กู้ยืมผ่าน BFIT เป็นหลัก ซึ่ง BFIT อยู่ภายใต้การควบคุมของ ธปท. จึงไม่ได้รับผลกระทบจากข้อบังคับข้างต้น นอกจากนี้เราคาดว่าข้อบังคับนี้จะออกมาควบคุมอัตราดอกเบี้ยที่ประมาณ 28% เท่ากับอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การควบคุมของ ธปท. ซึ่งจะมีผลกระทบต่อ S2014 ที่น้อย เนื่องจาก S2014 ได้เรียกเก็บดอกเบี้ยสินเชื่อเช่าซื้อที่ประมาณ 24% อย่างไรก็ตามเรามองว่าผลการดำเนินงานใน 1Q18 จะลดลง YoY และ QoQ จากอัตราผลตอบแทนที่ลดลงตามการปรับเปลี่ยนคู่สัญญา และการตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้น โดยเราคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2018 ที่จากการขยายสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นสูงถึง 35% ผ่านเครือข่ายสาขาที่มีมากกว่า 2.7 พันสาขาเพิ่มขึ้น 200 สาขา และคงแนะนำ ถือ ที่ราคาเป้าหมาย 67.00 บาท (อิง PBV ที่ 6.1X) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย PBV –1SD ย้อนหลัง หรือคิดเป็น PER 21.5X
Analysts:   Mongkol Puangpetra, Nontapat Rushtasomboon
OO6919

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!