หมวดหมู่: บทวิเคราะห์
BLS
บล.บัวหลวง : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 
 
ภาพตลาดและแนวโน้ม 
ถนนทุกสายมุ่งหน้าสู่หุ้น "First day trade" ตลอดสัปดาห์นี้  
          หุ้นไทยเมื่อวานขึ้นกระจายตัว และส่วนใหญ่เป็นตัวกลาง-เล็ก เช่น PLANB KTC NPPG RML KSL สอดคล้องกับวอลุ่มตลาดที่ลดลง   
          คาดวันนี้ตลาดยังคงเลือกเล่นกับหุ้นตัวกลาง-เล็ก เราแนะนำ เลือกซื้อ/สะสมหุ้น กลาง-เล็ก ที่มี Earnings turnaround-ฟืนตัวแรง-มี Upward revision เช่น TFG GFPT CPF GGC BCPG TU PSL BLA เป็นต้น ดูตัวเลขในรายงาน Weekly Tactical ประกอบ            
          ส่วนหุ้น IPO น้องใหม่ วันนี้ และ ตลอดสัปดาห์นี้ ที่เข้าเทรดวันแรก แน่นอนว่า ปริมาณการซื้อขายจะกระจุกตัวในหุ้นใหม่ และ เชื่อว่าหลังจากสัปดาห์นี้ไป จะหนุนให้ เกิดสภาพคล่องเข้ามาวนในตลาดหุ้นเพิ่มขึ้น        
          ระยะสัปดาห์ ตลาดหุ้นไทยจะ ค่อยๆฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง รับผลการดำเนินงานที่ ดีเกินคาดของ บจ.ส่วนกรอบดัชนีฯสัปดาห์นี้คาด 1,690-1,715 จุด          
 
What to watch :   
          (+) วันนี้ รายงานการประชุมเฟด (เตรียมไว้สำหรับการประชุม ในวันที่ 9 พ.ย.นี้) ซึ่งเราคาดว่า เฟดจะแถลงท่าทีที่ผ่อนคลายกว่าเดิม เพื่อจัดการกับความคาดหวังของตลาดหลังจากผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ทะยานขึ้นแรงตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งถ้าปล่อยให้ เกิดความคาดหวังกับ "ผลตอบแทนพันธบัตร" ซึ่งเป็นต้นทุนทางการเงิน (Risk free rate) และเป็นดอกเบี้ยอ้างอิง ขึ้นเร็วเกินไป อาจจะส่งผลต่อ ภาวะรวมของเศรษฐกิจสหรัฐฯให้ชะงักงันลงได้
          (+) สิ้นสุดการรับฟังความเห็นสาธารณะ 22 ต.ค. สำหรับมาตรการคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัย และคาดจะประกาศมาตรการได้ภายในเดือน พ.ย.นี้ (เราคาดว่า ธปท.จะประกาศใช้มาตรการที่ผ่อนคลายกว่าที่ตลาดคิด)    
          (+) คาดงบออก 16-17 ต.ค. TCAP KKP, 18 ต.ค. TMB BBL, 19 ต.ค. KBANK SCB KTB BAY 24 ต.ค. SCC (จะรู้แนวโน้มงบ UTP HMPRO GLOBAL จากงบ SCC)  
 
หุ้นแนะนำ    
          CPF ราคาหมู-ไก่ ฟื้นตัวแล้ว คาดกำไร 3Q หุ้นกลุ่มนี้ จะเร่งตัวแรงเกินคาด จากต้นทุนที่ลดต่ำลงกว่าที่ตลาดคิด
 
รายงานวันนี้           
Thai Market Strategy: 3Q18 earnings preview: Low expectations for core earnings growth 
          3Q18 : คาดกำไรสุทธิเติบโต 17% YoY แต่ลดลง 2% QoQ เนื่องจากมีการบันทึกรายการพิเศษในปีที่แล้ว ในขณะที่กำไรหลักคาดเติบโต 4% YoY แต่ทรงตัว QoQ ซึ่งคาดกลุ่มที่รายงานกำไรเติบโตแข็งแกร่ง YoY ประกอบด้วย Finance, ICT (TRUE), Petrochemicals, Utilities (BGRIM+GULF), Contractor (STEC) และ Shipping 
          4Q18 : คาดกำไรหลักและกำไรสุทธิเติบโต 14% YoY และ 11% QoQ ตามลำดับ ซึ่งคาดกลุ่มที่เติบโตแข็งแกร่ง ประกอบด้วย Tourism, Petrochemicals, Agri&Food, Finance, ICT, Contractor, Industrial Estates และ Shipping
 
Residential Property (กลุ่มบ้าน) : 3Q18 presales to hit a record, mild earnings recovery forecast 
          ใน 3Q18 คาดยอด presale จะทำสถิติสูงสุดใหม่ เพิ่มขึ้น 10% YoY และ 14% QoQ ขณะที่กำไรอยู่ในช่วงค่อยๆฟื้นตัว คาดกำไรหลักรวมของกลุ่มจะเพิ่มขึ้น 5%YoY และ 3%QoQ บริษัทที่กำไรโตแรงสุดคาด ANAN GOLD PS ส่วน SIRI น่าจะแย่สุด และมางไปข้างหน้าใน 4Q18 เราคาด LPN และ SPALI น่าจะรายงานกำไรน่าตื่นเต้นที่สุด (ดูรายละเอียด earnings preview ในฉบับเต็ม)
 
DTAC : Earnings and target price downgrade on 900MHz license acquisition
          บริษัทรายงานขาดทุนสุทธิ 921 ล้านบาท เพราะมีรายการพิเศษจากการตัดจำหน่ายเสากรณี กสท. 1.42 พันล้านบาท ซึ่งขาดทุนสุทธิน้อยกว่าคาด ส่วนผลประกอบการหลักก็ขาดทุน 30 ล้านบาท เพราะค่าใช้จ่าย 2300MHz มากกว่าคาด บริษัทมีการปรับเป้าหมายรายได้ลงเป็นติดลบเล็กน้อยและรวมถึงปรับงบลงทุนเพิ่ม ส่วนประเด็นการได้คลื่น 900MHz เราคาดจะมีค่าใช้จ่ายของคลื่น เข้ามาเพิ่มปีละ 2.5 พันล้านบาท ส่งผลให้กำไรในช่วง 2019-22 ปรับลงราว 9-13% และราคาเป้าหมายปรับลง 25% เป็น 56 บาท (คลื่นใหม่ทำให้มูลคาสหายไป 10 บาท) อย่างไรก็ดีเรามองว่าความเสี่ยงที่บริษัทไม่มีคลบื่นต่ำหมดไปแล้ว แนะนำ ซื้อ
 
AH : Moderate growth, cheap valuation  
          เราคาดกำไรสุทธิ 3Q18 ที่ 270 ล้านบาท เติบโต 11% YoY จากทั้งยอดขายและ GM ที่ขยายตัว วันที่ 10 ต.ค. บริษัทมีการปรับสัดส่วนการถือหุ้นใน SGAH ขึ้นจาก 25% เป็น 49.99% (($25m สำหรับสัดส่วน 24.99%, และเงินให้กู้ยืม $40m ด้วยอัตราดอกเบี้ย 10%) เรายังไม่ได้รวมทั้งการลงทุนและดอกเบี้ยรับเข้าในประมาณการ (เราคาดว่าผลการดำเนินงานของ SGAH ยังไม่เป็นกำไรใน 2018-2019 หักกลบกับดอกเบี้ยรับ) ราคาหุ้นเทรดอยู่ในระดับ PER เพียง 7.2 เท่า ต่ำกว่ากลุ่มที่ 12 เท่า เรายังคงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 45.50 บาท 
 
รายงาน MS 
PTT Group : Three Catalysts Make PTT Our Top Pick
          MS ปรับ preference มาชอบ PTT มากกว่า PTTEP เพราะ 1) PTT น่าจะได้ประโยชน์จากต้นทุนแก๊สในประเทศที่ถูกลง ไม่ว่าใครจะชนะการประมูลแหล่งปิโตรเลี่ยมก็ตาม 2) สัญญา LNG จะได้มาร์จิ้นที่สูงขึ้นเพราะส่วนหนึ่งราคาอ้างอิงกับราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวขึ้น หนุนให้มีค่าการตลาดที่สูงขึ้น 3) Earnings momentum จะแข็งแกร่งขึ้นใน 4Q18 หลังจากที่ 2 ไตรมาสก่อนการปรับราคาขายไม่ทันและมีการปิดซ่อมบำรุง  
          MS มองว่า PTT ราคาปัจจุบันเสมือน priced in ราคาน้ำมันเพียง US$68/bbl เท่านั้น ขณะที่ PTTEP เสมือน priced in ที่ US$75/bbl; สำหรับ PTTGC ยังคง underweight   
 
หุ้นมีข่าว  
          (+) มอร์นิ่งสตาร์ เผย 9 เดือน นักลงทุนแห่ถอนกองทุนตราสารหนี้ 1.8 แสนล้าน หนีดอกเบี้ยขาขึ้น ซบกองหุ้นขนาดใหญ่ 7.2 หมื่นล้าน (ที่มา โพสต์ทูเดย์) 
          (+) BTS  "รฟม.-กทม." ทำความเข้าใจโอนหนี้สายสีเขียวลงตัว คาดชงครม.พ.ย.เซ็น MOU ก่อนเปิดเดินรถ 5 ธ.ค. 61 ขณะที่ รฟม.ยันเงื่อนไขต้องชัดเจน เหตุหนี้ยังต้องรอโอนหลัง กทม. กู้เงิน ซึ่งคาดว่าจะเป็นก.พ. 62 เหตุ สบน.สรุปแผนหนี้ปี 62 ไปแล้ว โดยรายงาน คืบหน้า คจร.วันนี้ (17 ต.ค.) พร้อมขอเพิ่มส่วนต่อขยาย "โมโนเรลสีเหลืองและสีชมพู" ในแผนแม่บทฯ 
          ด้าน นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กรุงเทพมหานครได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบว่าพร้อมรับโอนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่คูคต จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แล้ว โดยวันที่ 17 ตุลาคม กระทรวงคมนาคมจะรายงานให้ที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รับทราบต่อไป ซึ่งตอนนี้อยู่ระหว่างการรอราชกิจจานุเบกษาประกาศเรื่องการโอนทรัพย์สินของโครงการ ทั้งนี้ กระทรวงตั้งเป้าหมายเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติการโอนในเดือนพฤศจิกายน หลังจากนั้นจะลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (เอ็มโอยู) ระหว่าง กทม.กับ รฟม. เพื่อเป็นการยืนยันอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรอีกครั้งว่าจะมีการโอนโครงการระหว่าง กทม.กับ รฟม.จริง ส่วนรูปการโอนจะเป็นแบบไหน ทาง กทม.จะต้องหารือกับ รฟม. และกระทรวงการคลังในฐานะเจ้าของเงินต่อไป ซึ่งการโอนเป็นการโอนทั้ง 2 ช่วงเลย คือ แบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิตสะพานใหม่-คูคต (ที่มา ผู้จัดการ มติชน) 
          (*) ชาวบ้านกว่า 300 คน บุกประท้วง พร้อม 5 คน โกนหัวคัดค้าน กกพ. เคาะใบอนุญาตสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลน้ำตาลมิตรผล วันนี้ (17 ต.ค.) เนื่องจากชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบไม่ได้มีส่วนร่วมการจัดทำรายงาน EIA จี้ลงพื้นที่ดูข้อเท็จจริงจากชาวบ้านในพื้นที่ตั้งโรงไฟฟ้า ลั่นเดินหน้าคัดค้าน รง.น้ำตาล-โรงไฟฟ้าชีวมวลทุกแห่งในภาคอีสาน (ที่มา ผู้จัดการ)
 
          
วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336 
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค 
ธนัท พจน์เกษมสิน,นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์ 
นภนต์ ใจแสน, นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน
OO15120

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!