หมวดหมู่: คมนาคม

Aอาคม เตมพทยาไพสฐ


ลุยรถไฟฟ้าสายพิษณุโลกญี่ปุ่นชงผลศึกษา/สรุป TOR ปีหน้า

      แนวหน้า : นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคมเปิดเผยว่า ขณะนี้ทางญี่ปุ่นได้มีการส่งมอบรายงานผลการศึกษาของโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเฟสแรก ช่วงกรุงเทพพิษณุโลก ระยะทาง 380 กิโลเมตร วงเงินลงทุนประมาณ 280,000 ล้านบาท ส่วนระยะต่อไปคือ พิษณุโลก-เชียงใหม่ จะมีการเร่งดำเนินโครงการนี้ให้เกิดขึ้นเป็น รูปธรรมโดยเร็วโดยกระทรวงคมนาคมจะเร่งศึกษาตัวรายงานของญี่ปุ่นภายใน 3 เดือน ก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติ ซึ่งในตัวรายงานจะเสนอแนวทางการลงทุนหากได้รับการอนุมัติก็จะเร่งให้ฝ่ายญี่ปุ่นออกแบบเส้นทางร่วมกับฝ่ายไทย

       ทั้งนี้ แนวทางเบื้องต้นคาดว่าจะมีการแบ่งพื้นที่ก่อสร้างออกเป็นหลายตอนเพื่อให้ดำเนินการได้รวดเร็ว โดยระยะแรก คาดว่าใช้เส้นทางประมาณ 50-100 กิโลเมตร และคาดว่าจะเห็นความชัดเจนของการจัดซื้อจัดจ้าง(TOR)ได้ในปลาย ปีหน้า

      ในส่วนของเส้นทางพิษณุโลกเชียงใหม่ วงเงินลงทุนประมาณ 140,000 ล้านบาท ฝ่ายไทยได้ให้ญี่ปุ่นเร่งศึกษาแบบต่อไป เพื่อให้การก่อสร้างทำได้อย่างต่อเนื่อง เพราะรายงานเส้นทางในช่วงแรก ได้ผ่านการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA)ไปแล้ว ขณะที่ปัญหาการเวนคืนที่ดินญี่ปุ่นมีความกังวลเล็กน้อย แต่ก็เป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขร่วมกันและคาดว่าจะผ่านไปได้

      ส่วนรูปแบบการลงทุนก็คาดว่าจะเป็นการร่วมทุนระหว่างสองประเทศ และคาดว่าจะมีจุดคุ้มทุนที่ 50 ปี สำหรับอัตราค่าโดยสารค่าแรกเข้าเบื้องต้นอยู่ที่ 80 บาทและคิดราคาในระยะทางถัดไป 1.50 บาทต่อกิโลเมตร และประเมินว่าระยะทางจากกรุงเทพ-พิษณุโลก จะมีอัตราค่าโดยสารไม่เกินเที่ยวละ 1,000 บาท

       ด้าน นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม เปิดเผยหลังจากมอบนโยบายให้กรมเจ้าท่า ว่าได้สั่งการให้ กรมเจ้าท่า ไปเร่งแผนพัฒนาท่าเรือร้างเพื่อเปิดให้เอกชนเข้ามาเพื่อใช้ประโยชน์ โดยเร่งรัดให้กรมเจ้าท่าหารือเพื่อแก้ไขปัญหาการใช้พื้นที่และอัตราจัดสรรผลตอบแทนที่เหมาะสม เนื่องจากเอกชนที่เข้ามาประมูลท่าเรือต้องลงทุนพัฒนาพื้นที่ท่าเรือสูง

      ทั้งนี้ จะขอให้ กรมธนารักษ์ ปรับอัตราค่าตอบแทนใหม่  โดยเสนอให้มีการใช้เงื่อนไขพิเศษเพื่อ ส่งเสริมการใช้ท่าเรือสนับสนุนการขนส่งสินค้าทางน้ำตามนโยบายกระทรวงคมนาคมด้วย แต่หากไม่สามารถเจารจากับกรมธนารักษ์สำเร็จ ทางกระทรวงคมนาคมจะเสนอให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย(กทท.)เข้ามาบริหารท่าเรือร้างแทน ประกอบด้วย ท่าเรือคลองใหญ่ จ.ตราด ท่าเรือศาลาลอย จ.พระนครศรีอยุธยา ท่าเรือคลองวาฬ จ.ประจวบคีรีขันธ์ และท่าเรือนครพนม

เร่งไฮสปีดเทรนไทย-ญี่ปุ่น ลุ้นเปิดประมูลปี 62 ค่าตั๋ว 1,088 บาท-จี้พัฒนาท่าเรือร้าง

    ไทยโพสต์ : ราชดำเนิน * เร่งเดินหน้ารถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น คาดเปิดประมูลในปี 2562 พร้อมเคาะบัตร โดยสารกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 1,088 บาทต่อคน ด้านบอร์ด รฟม.ไฟเขียวชงคมนาคมเดินรถสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ส่วนไพรินทร์ จี้ เคลียร์ปัญหาท่าเรือร้าง

    นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง ความร่วมมือระหว่างไทย-ญี่ปุ่น เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะ ทาง 673 กม. วงเงิน 4.2 แสนล้านบาท ว่าขณะนี้ญี่ปุ่นได้สรุป รายงานผลการศึกษาระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก เสร็จเรียบ ร้อยแล้ว ระยะทาง 380 กม. มูลค่า การลงทุน 2.8 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการลงทุนเกี่ยวกับงานโยธา อาณัติสัญญาณ ระบบรถ และการบำรุงรักษา หลังจากนี้จะเร่งสรุปแนวทางดำเนินโครงการที่ชัดเจนก่อนเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในเดือน ก.พ.2561

      นานอาคมกล่าวว่า หาก ครม.อนุมัติผลการศึกษา จะส่งให้ฝ่ายญี่ปุ่นออกแบบรายละเอียดการก่อสร้าง เพื่อแบ่งสัญญาออก เป็นตอนไป ก่อนดำเนินการร่าง เอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) แล้วส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง คาดจะแล้วเสร็จภายในปี 61 จากนั้นจะทยอยเปิดประมูลโครง การในเฟส 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก เนื่องจากเส้นทางเฟส 1 นั้นผ่านการรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เรียบร้อยแล้ว สามารถเดินหน้าได้เลย ขณะนี้ได้สั่งให้สำนัก งานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ไปพิจารณารายละเอียดภายใน 3 เดือน

      อย่างไรก็ตาม ด้านค่าโดย สารนั้นได้กำหนดค่าแรกเข้าไว้ที่ 80 บาท และคิดค่าเดินทางกิโล เมตรละ 1.5 บาท ส่งผลให้ค่าโดยสารช่วงเฟส 1 กรุงเทพฯพิษณุโลก ระยะทาง 380 กม. นั้นจะมีค่า โดยสารราว 650 บาท ขณะที่ค่าโดยสารตลอดสายช่วงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 673 กม. จะอยู่ที่ราว 1,088 บาท

       นายฤทธิกา สุภารัตน์ รักษา การแทน ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขน ส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟม.มีมติเห็นชอบหลักการโครงการศึกษาแนวทางการบริหารงานเดินรถสายสีเขียวส่วนต่อขยายแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่ ภายหลังจากที่กรุงเทพฯ (กทม.) ยังไม่สามารถสรุปแนวทางการโอนหนี้สินและทรัพย์สินโครงการดังกล่าวมูลค่าราว 6 หมื่นล้านบาท อาจเสี่ยงต่อการเปิดเดินรถสายสีเขียวใต้ส่วนต่อขยายที่กำหนดไว้ในเดือน ธ.ค.2561

     หลังจากนี้ จะเสนอผลศึกษาเข้าสู่กระทรวงคมนาคมภาย ในเดือนนี้ก่อนเสนอต่อคณะกรรม การจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ในเดือน ม.ค. 2561 เพื่อขอแก้มติ คจร.เดิมที่ให้ กทม.เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

     นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม กล่าวว่า ได้มอบนโยบายให้กรมเจ้าท่า (จท.) ไปหารือกับกรมธนารักษ์ เพื่อหาแนว ทางให้เอกชนเข้ามาลงทุนในท่า เรือร้าง เพื่อก่อให้เกิดรายได้ แต่ถ้ายังไม่สามารถเจรจา เพื่อเปิดทางให้เอกชนเข้ามาพัฒนาท่าเรือได้ กระทรวงคมนาคมจะเสนอให้ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เข้ามาบริหารท่าเรือร้าง เพราะถือว่าเป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องรับใช้ประชาชน เช่นเดียวกับกรณีที่ กรมท่าอากาศยานแบ่งงานบริหารสนามบินร่วมกับ บมจ.ท่าอากาศยานไทย ทอท.

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!