หมวดหมู่: กทม.

BMTAณฐชาต จารจนดา


จับตา 20 ธ.ค.อนุมัติซื้อรถ NGV

      ไทยโพสต์  :  รัชดาภิเษก * บอร์ด.สั่ง ขสมก. เร่งตรวจสอบเอกสาร กลุ่มกิจการร่วมค้า SCN-CHO พร้อมต่อรองราคาหลังพบเอกชนยื่นประมูลสูงกว่าราคากลางถึง 9% คาดเสนอบอร์ดอนุมัติอีกรอบ 20 ธ.ค.นี้

       นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 13 ธ.ค.2560 ที่ผ่านมา บอร์ดได้มีการประชุมนัดพิเศษ ในวาระเรื่อง โครงการจัดซื้อรถ โดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ (เอ็นจีวี) 489 คัน วงเงิน 4,020 ล้านบาท โดยวิธีคัดเลือก หลังจากที่ก่อนหน้านี้การเชิญ กลุ่มกิจการร่วมค้า SCN-CHO นำโดย บมจ.ช ทวี (CHO) และ บมจ.สแกนอิน เตอร์ (SCH) โดยวงเงินเอกชนที่เสนอมาขณะนี้ได้ข้อสรุปแล้ว แต่คณะกรรมการยังไม่อนุมัติ เนื่องจากจะต้องตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร หากเรียบร้อยการประชุมคณะกรรมการครั้งต่อไปวันที่ 20 ธ.ค.นี้จะพิจารณาอีกครั้ง

       "เบื้องต้นราคาที่เอกชนเสนอแม้จะสูงกว่าราคากลาง แต่ไม่เกินวงเงินที่ ครม.เคยอนุมัติไว้ ดังนั้น จึงให้คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างไปเจรจา ปรับลดลงหากเป็นราคาที่เหมาะสม ก็จะสามารถเดินหน้าต่อได้ ซึ่งมั่นใจสามารถลงนามภายในสิ้นปี 60 และเอกชนจะทยอยส่งมอบรถภายใน 180 วัน และคาดว่า 100 คันแรกจะรับมอบภายในเดือน มี.ค.61 และทั้งหมดน่าจะสามารถรับมอบจนเสร็จก่อนเปิดเทอมใหญ่ ตามนโยบายของนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคมสั่งการให้เปิดเทอมใหม่ต้องมีรถเมล์ใหม่ใช้" นายณัฐชาติกล่าว

      ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำ หรับราคาที่กลุ่มกิจการร่วมค้า SCN-CHO ยื่นเสนอสูงกว่าราคากลาง 9% และคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง ขสมก.ตั้งเป้าหมายเจรจาให้ลดราคาสูงกว่าราคากลางไม่เกิน 5% หากเอกชนยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวก็สามารถเดินหน้าการจัดหารถเมล์เอ็นจีวี 489 คัน สำเร็จ.

ขสมก.บีบ'ช ทวี'ลดราคาเมล์ NGV-ยันชนะประมูลโปร่งใส

       แนวหน้า : เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2560 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.)รายงานผลการประกวดราคาการจัดซื้อรถโดยสารใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ NGV ว่า ตามที่ ขสมก.จัดทำหนังสือเชิญชวนผู้ประกอบการที่ลงทะเบียนในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) โดยพิจารณาจากผู้ที่เคยมาซื้อเอกสารประกวดราคาด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์  (e-bidding) จำนวน 7 ราย ได้แก่

       1. บริษัท ไทยเทคโนโลยี แอนด์ เดเวลลอปเม้นท์ จำกัด 2. บริษัท ซุปเปอร์เซ็นทรัลแก๊ส จำกัด 3. บริษัท สยาม สแตนดาร์ด เอ็นเนอจี จำกัด 4. บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด(มหาชน) 5. บริษัท ช ทวี จำกัด(มหาชน) 6. บริษัท อัพเดท ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด 7. บริษัท วินโคสท์ ออโตโมทีฟ จำกัด และผู้ประกอบการที่มีหนังสือแจ้งความประสงค์ ขอเข้าร่วมเสนอราคา จำนวน 4 ราย 8. บริษัท ยูพีพี พาวเวอร์ จำกัด 9. บริษัท แสงเจริญ ทูลส์ เซ็นเตอร์ จำกัด 10. บริษัท เอ็นจีวี เอ ทรานสปอร์ต เซอร์วิส จำกัด 11. บริษัท สแกน อินเตอร์ จำกัด (มหาชน)

       ทั้งนี้ กำหนดยื่นข้อเสนอโดยวิธีคัดเลือก วันที่ 7 ธันวาคม 2560 มี ผู้ยื่นข้อเสนอ จำนวน 1 ราย คือ กลุ่มร่วมทำงาน SCN-CHO (โดยบมจ. ช ทวี  และบมจ. สแกน อินเตอร์) ซึ่ง บริษัทที่อยู่ในบัญชีรายชื่อผู้ประกอบการที่คณะกรรมการมีหนังสือเชิญชวน ซึ่งเป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

      "เนื่องจากมีผู้เสนอราคาเพียงรายเดียว ขสมก.มีความจำเป็นเร่งด่วนตามนโยบายของรัฐให้เร่งจัดหารถโดยสารใหม่ทดแทนของเดิมอย่างรวดเร็ว ประกอบกับกรมการขนส่งทางบกได้จัดสรรเส้นทางเดินรถให้องค์การจัดรถโดยสารเข้าเดินรถตามเส้นทางที่ได้รับจัดสรร ซึ่งองค์การมีรถโดยสารไม่เพียงพอที่จะนำมาวิ่งในเส้นทางและองค์การได้ดำเนินการจัดหามาแล้ว จำนวน 7 ครั้ง ไม่ประสบผลสำเร็จ จึงได้ดำเนินการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ข้อ 75 กำหนดว่า หากปรากฏว่ามีผู้ยื่นข้อเสนอเพียงรายเดียว หรือมีผู้ยื่นข้อเสนอหลายรายแต่ถูกต้องตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดในหนังสือเชิญชวนเพียงรายเดียว ให้คณะกรรมการดำเนินการตามข้อ 56 โดยอนุโลม"

       อย่างไรก็ตาม กลุ่มร่วมทำงาน SCN-CHO เสนอราคาสูงกว่าราคากลางไม่เกิน 10% นั้นล่าสุดคณะกรรมการ อยู่ระหว่างดำเนินการเจรจาต่อรองราคา(ตามที่บริษัทเสนอมา 4,020 ล้านบาท) และจะนำเสนอ  คณะกรรมการบริหารกิจการองค์การ  พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

     ส่วนที่ กระทรวงคมนาคม นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะรัฐมนตรี(ครม.) ยังไม่สามารถพิจารณาเห็นชอบโครงการรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง ได้เนื่องจากยังอยู่ระหว่างการขอความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมเสนอเข้าที่ประชุม ครม. แต่คาดว่าจะสามารถผ่านความเห็นชอบจาก ครม.ได้ภายในปีนี้เพื่อเดินหน้าลงนามสัญญาและเบิกจ่ายงบประมาณก่อสร้างต่อไป

'ไพรินทร์'เล็งผ่าตัดขสมก.-รฟท.ล้างหนี้กว่าแสนล.จี้'บขส.'ย้ายสถานี

     แนวหน้า : นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการมอบนโยบายให้หน่วยงานที่ กำกับดูแล โดยองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)ได้เร่งรัดในการดำเนินการสรุปแผนฟื้นฟูองค์กรเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินจำนวนกว่าแสนล้านบาท ซึ่งจะต้องรีบสรุปแผนเพื่อเสนอให้กระทรวงคมนาคมและที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.) ในช่วงเดือนมกราคม 2561 ก่อนเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)ต่อไป โดยในเบื้องต้น ได้มีการแนะนำว่าการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ไม่ใช่ทางออกของปัญหา และขสมก.จะต้องพิจารณาว่าจะไปขึ้นกับที่ใด กระทรวงคมนาคม หรือหน่วยงาน กรุงเทพมหานคร รวมถึงหากฟื้นฟูองค์กรแล้วจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางในการดำเนินการอย่างไร

      ในส่วนของบริษัท ขนส่ง จำกัด(บขส.) ได้สั่งการให้ทาง บขส.กลับไปดูแนวทางการย้ายสถานีขนส่ง กลับไปหมอชิตเก่า(หน้าสวนจตุจักร)ให้เร็วขึ้นกว่าแผนเดิมที่กำหนดไว้ 6 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับการเปิดรถไฟฟ้าสายใหม่ในช่วง 2-3 ปี ข้างหน้า และพิจารณาการสร้างจุดจอดตามสถานีรถไฟและรถไฟฟ้าเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดเช่น สถานีบางใหญ่ เชื่อมต่อ การเดินทางภาคเหนือ ฯลฯ

       นอกจากนี้ แหล่งข่าวการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 15 ธันวาคมนี้ นายไพรินทร์มีกำหนดการเข้ามอบนโยบายที่การรถไฟฯ โดยคาดว่าจะมอบนโยบายด้านแผนฟื้นฟูกิจการเพื่อบริหารจัดการหนี้สินของการรถไฟฯ แผนการตั้งบริษัทลูกด้านทรัพย์สินและบริษัทลูกด้านเดินรถอีกด้วย

ไพรินทร์เร่งขสมก.จัดซื้อรถเมล์ NGV489 ค้นให้ทันใช้เปิดภาคเรียนปี 61 พร้อมหาแนวทางแก้ปัญหาหนี้

        นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคมให้นโยบายคณะกรรมการและผู้บริหารองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) และเปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายเร่งด่วนในการจัดหารถเมล์ใหม่โดยเฉพาะรถเอ็นจีวี 489 คัน ซึ่งในสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากมีการเชิญเอกชนเข้ามาร่วมประมูลขายรถ มีเอกชนสนใจ 1 ราย และทราบว่า ในสัปดาห์หน้าคณะกรรมการขสมก.จะประชุมพิจารณาเรื่องดังกล่าว ซึ่งจะต้องติดตามต่อไปว่า คณะกรรมการขสมก.จะสรุปเรื่องการเสนอราคาของเอกชนและเปิดประมูลต่ออย่างไร แต่เชื่อว่า การเปิดประมูลรอบนี้น่าจะได้ผลสำเร็จ แต่เบื้องต้นได้ขอให้คณะกรรมการขสมก.ปฎิบัติตามพรบ.จัดซื้อจัดจ้างอย่างเคร่งครัด ขณะที่เป้าหมายจัดหารถใหม่เข้ามาให้บริการยังคงเป็นไปตามที่กระทรวงคมนาคม กำหนดไว้ว่า เปิดภาคเรียนของปีการศึกษา 2561 ขสมก.จะต้องมีรถใหม่เพื่อให้บริการเด็กนักเรียนในกทม.และพื้นที่ใกล้เคียง

      สำหรับ ปัญหาการฟื้นฟูกิจการของขสมก. ซึ่งเบื้องต้นได้ขอให้ขสมก.จัดทำแผนเพื่อนำเสนอคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.)ให้เร็วที่สุดส่วนปัญหาภาระหนี้ที่ขสมก.มีกว่า 100,000 ล้านบาท และมีคำถามอยู่ตลอดเวลาว่า รัฐบาลจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างไรนั้น เรื่องดังกล่าวถือเป็นประเด็นสำคัญและกระทรวงคมนาคมวิเคราะห์ปัญหาว่า ที่ผ่านมาการที่ขสมก.เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของกระทรวงคมนาคม ซึ่งถือเป็นกระทรวงใหญ่ ไม่ได้อยู่ภายใต้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือกรุงเทพมหานคร(กทม.)ส่งผลให้การปรับราคาค่าโดยสารที่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงจะต้องอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐบาลและการเมืองก็ทำให้การปรับราคาค่าโดยสารดำเนินการได้ยาก ดังนั้นในวันนี้ จึงได้มีคำถามไปถึงฝ่ายบริหารและคณะกรรมการขสมก.ว่า ตามแนวทางที่ถูกต้อง ขสมก.ควรเป็นหน่วยงานอยู่ในสังกัดใด ซึ่งเรื่องนี้ อยากให้ขสมก.เป็นผู้เสนอความเห็นขึ้นมาเพื่อให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาต่อไป

        นอกจากนี้ ยังมีปัญหาที่เป็นส่วนสำคัญของการขนาดทุนของขสมก.เนื่องจากเป็นบริการสาธารณะ ซึ่งตามข้อเท็จจริงบริการรถเมล์สาธารณะในต่างประเทศที่ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้กำกับองค์กรภาครัฐก็จะต้องมีการชดเชยผลการดำเนินการให้แก่หน่วยงาน เพื่อรักษามาตรฐานการบริการแก่ประชาชนได้มีรถเมล์ใช้ที่มีคุณภาพ ขณะเดียวกันยังมีปัญหาว่า การให้บริการรถเมล์โดยสารซึ่งปัจจุบันนี้ รถเมล์ที่มีอยู่ในระบบในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมลฑล ขสมก.มีรถให้บริการไม่ถึงครึ่งโดยที่เหลือเป็นรถร่วมบริการ และจากข้อมูลก็พบว่า ข้อเท็จจริงนั้น รถเมล์ของ ขสมก.เป็นรถบริการที่มีคุณภาพ และต้องไปพิจารณาต่อไปว่า ในอนาคตยังจำเป็นต้องมีระบบรถร่วมบริการหรือไม่ก็ต้องไปพิจารณาในรายละเอียดต่อไป ทั้งนี้ รมช.คมนาคมยังได้ฝากการบ้านให้ผู้บริหารขสมก.พิจารณาเรื่องการนำระบบเทคโนโลยีมาให้บริการในส่วนงานเก็บค่าโดยสารเช่น ระบบ QR CODE เพื่อให้การเก็บค่าโดยสารรถมีความสะดวกและรวดเร็วประชาชนสามารถใช้บริการครอบคลุมในทุกกลุ่ม

                อินโฟเควสท์

ลือ!จีนชงขายเมล์ NGV สุดถูก

       ไทยโพสต์ : ทำเนียบฯ * ลือหึ่ง! รัฐวิสาหกิจจีนเสนอขาย 'เมล์เอ็นจีวี' ต่อรัฐบาลไทยแบบจีทูจี 489 คัน มูลค่า 3,440 ล้าน อึ้ง แถมจัดโปรซื้อ 1 แถม 1 ซ่อมบำรุงให้ยาวอีก 10 ปี นายกฯ สั่ง ขสมก.ชะลอแผนลดพนักงาน

                รายงานข่าวจากทำเนียบ รัฐบาล ว่า เมื่อเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา บริษัท Guizhou Guihang Yunma Automobile Industry จำกัด ที่ระบุว่าเป็น รัฐวิสาหกิจที่ถือหุ้นโดยรัฐบาล จีนร้อยเปอร์เซ็นต์ ได้ส่งหนัง สือถึง รมว.คมนาคม และผู้ อำนวยการองค์การขนส่งมวลชน กรุงเทพ (ขสมก.) เพื่อเสนอตัวเข้ามาดำเนินโครงการรถโดยสารประจำทางใช้เชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ (รถเมล์เอ็นจีวี) จำนวน 489 คัน พร้อมซ่อมแซมและบำรุงรักษา ที่ขณะนี้รัฐบาลไทยโดยกระทรวง คมนาคม และ ขสมก.ยังติดปัญหา และอยู่ในระหว่างการพิจารณาจัดซื้อ

                รายงานระบุว่า บริษัทดังกล่าวได้เสนอขายรถเมล์เอ็น จีวีในรูปแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) จำนวน 489 คัน ในวงเงิน 3,440 ล้านบาท พร้อมเสนอ แถมรถเมล์เอ็นจีวีอีก 489 คัน ให้ด้วย โดยระบุว่าสามารถส่ง 489 คันแรกให้ได้ภายใน 120 วันนับจากวันลงนามในสัญญา และจะรับผิดชอบใน ส่วนงานซ่อมแซมและบำรุงรักษาแบบเบ็ดเสร็จเป็นเวลา 5 ปี หลังจากนั้นให้เป็นดุลย พินิจของ ขสมก. ว่า จะดำเนินการอย่างไรต่อไป ส่วนอีก 489 คันชุดที่สอง จะส่งมอบให้ได้ก่อนสิ้นสุดปีที่ 5 หลังลงนามสัญญา และทางบริษัทจะรับผิดชอบในส่วนงานซ่อมแซมและบำรุงรักษาในส่วน ของ 489 คันชุดที่สองแบบเบ็ดเสร็จเป็นเวลา 5 ปี ตั้ง แต่ปีที่ 6 ถึงปีที่ 10 โดยจะดำเนินการตั้งโรงงานประกอบรถ และศูนย์บริการในประเทศไทย

                ด้าน นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานคณะกรรมการบริหารกิจการ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิด เผยว่า ที่ประชุมคณะกรรม การนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ซึ่งมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธาน ได้สั่งการให้ ขสมก.ปรับแผนการลดจำนวนบุคลากรขององค์กรลง เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับผู้ปฏิบัติหน้าที่และคุณภาพการ ให้บริการของ ขสมก.ในภาพ รวม จึงได้ขอให้ชะลอแผน ปรับลดพนักงานเก็บค่าโดยสาร รวม 2,000 คน ภายใน 2-3 ปีข้างหน้า.

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!