หมวดหมู่: เกษตร

AGRI วณะโรจน ทรพยสงสข


สศก.คาดดัชนีรายได้เกษตรกรปี 60 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน เหตุผลผลิตเพิ่ม-มีมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ

       นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงทิศทางรายได้เกษตรกรปี 2560 ว่า เมื่อพิจารณาจากดัชนีรายได้เกษตรกร พบว่ามีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2559 จากผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญที่ขายตัวเพิ่มขึ้น อาทิ ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน สับประรดโรงงาน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ผลไม้ต่างๆ และกุ้งทะเลเพาะเลี้ยง

      โดยดัชนีรายได้เกษตรกรในช่วง 10 เดือนของปี 2560 (ม.ค.-ต.ค.) เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 156.50 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2559 ถึง 7.98% เป็นผลมาจากดัชนีผลผลิตที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นถึง 9.69% จากแผนการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพของรัฐบาลในช่วงปีที่ผ่านมา ทำให้ทุกภูมิภาคของประเทศสามารถทำการเพาะปลูกได้เพิ่มขึ้น และยังมีน้ำต้นทุนเหลือเพียงพอสำหรับการทำการเกษตรฤดูแล้งปี 2561

      ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรปี 2560 โดยพิจารณาจากดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้หดตัวเล็กน้อยเพียง 1.6% จากการที่รัฐบาลได้เข้าส่งเสริมและช่วยเหลือเกษตรกรในการทำการการผลิตโดยใช้หลักการตลาดนำการผลิต เน้นการรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และยกระดับคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรอย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตร (ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ข้างโพดเลี้ยงสัตว์) โครงการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร การขยับช่วงการเพาะปลูกข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ ซึ่งโครงการและมาตรการต่างๆ เหล่านี้ได้เข้าไปมีส่วนช่วยยกระดับราคาสินค้าเกษตรไม่ให้ตกต่ำเหมือนที่ผ่านมา

     สำหรับเกษตรกรที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติต่าง ๆ รัฐบาลได้เร่งรัดเข้าไปให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนทั้งเป็นการเฉพาะหน้า การชดเชยความเสียหาย และการฟื้นฟูส่งเสริมอาชีพ ผ่านมาตรการต่าง ๆ อาทิ โครงการ 9101

      เลขาธิการ สศก. กล่าวว่า หนี้สินครัวเรือนเกษตรปี 2560 จากการสำรวจของ สศก.ในเบื้องต้นพบว่ามีแนวโน้มใกล้เคียงกับปี 2559 โดยหนี้สินครัวเรือนเกษตรส่วนใหญ่กว่า 40% เป็นการกู้ยืมเงินระยะสั้นเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการผลิตและเก็บรักษาผลผลิตเพื่อรอการจำหน่าย เช่น การซื้อวัสดุอุปกรณ์และปัจจัย การผลิต ค่าพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ ค่าซ่อมแซมยุ้งฉาง/โรงเรือนเลี้ยงพืชสัตว์ ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการขยายตัวของภาคเกษตรโดยรวม และสอดรับกับรายได้เงินสดทางการเกษตรของครัวเรือนปี 2560 ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

                นอกจากนี้ ยังสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยของครัวเรือนเกษตร ซึ่งสอดคล้องข้อมูลภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนตุลาคม ปี 2560 ที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ประเมินว่าเศรษฐกิจภูมิภาคของไทยขยายตัวต่อเนื่องในหลายภูมิภาคเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และแนวโน้มหนี้ครัวเรือนไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง

                        อินโฟเควสท์

สศก.คาดผลผลิตปาล์มน้ำมันปี 61 เพิ่มเป็น 14.7 ล้านตัน แนะให้ความสำคัญกับเปอร์เซ็นต์น้ำมันเพื่อเพิ่มรายได้

       นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เผยปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันปี 60 มีจำนวน 13.5 ล้านตัน ส่วนในปี 2561 คาดว่าจะมีปริมาณผลผลิต 14.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 9% หรือราว 1.2 ล้านตัน เนื่องจากผลผลิตเพิ่มขึ้นในทุกภาคจากต้นปาล์มน้ำมันที่ปลูกใหม่เมื่อปี 58 ประกอบกับปริมาณน้ำฝนในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา มีปริมาณค่อนข้างมากทำให้โอกาสการเกิดจั่นตัวเมียเพิ่มขึ้น ทำให้มีจำนวนทะลายเพิ่มขึ้น รวมทั้งปริมาณน้ำฝนในปี 60 มีมากเพียงพอต่อความต้องการของต้นปาล์มน้ำมัน อย่างไรก็ตาม แนวโน้มผลผลิตปาล์มน้ำมันในเดือนธันวาคม 2560 และมกราคม 2561 จะเริ่มมีปริมาณลดลง

       ทั้งนี้ เป็นการลงพื้นที่สำรวจภาคสนามร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น เกษตรกร สมาคมโรงสกัดน้ำมันปาล์ม และ GISTDA ในแหล่งผลิตสำคัญ 4 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี กระบี่ ชุมพร และนครศรีธรรมราช ซึ่งมีเนื้อที่ปลูกรวมกันคิดเป็น 70% ของประเทศ เมื่อเดือน พ.ย.60 เพื่อทวนสอบข้อมูลให้เกิดความเชื่อมั่นและนำมาพยากรณ์ผลผลิตปาล์มน้ำมันปี 60

      อย่างไรก็ตาม การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยการตัดปาล์มคุณภาพเพื่อเพิ่มเปอร์เซ็นต์น้ำมัน เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยยกระดับรายได้ให้เกษตรกรได้ เนื่องจากอัตราการสกัดน้ำมันปาล์มทุกๆ 1% ที่เพิ่มขึ้น เกษตรกรจะได้ราคาเพิ่มขึ้นอีกกิโลกรัมละ 0.30 บาท นอกจากนั้นการตัดปาล์มสุกที่มีความสมบูรณ์เต็มที่ ยังมีผลทำให้น้ำหนักต่อทะลายปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นได้อีกไม่น้อยกว่า 5-10% หรือไม่น้อยกว่า 150-280 กิโลกรัมต่อไร่

      เลขาธิการ สศก.กล่าวว่า ขอให้เกษตรกรชาวสวนปาล์มเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มคุณภาพ โดยสังเกตจากทะลายปาล์มที่มีผลปาล์มสุก มีสีผลปาล์มสุกตรงตามพันธุ์ และมีผลปาล์มร่วงที่สุกตามธรรมชาติ 5-10 เมล็ดต่อทะลาย และหากเกษตรกรท่านใดที่จ้างตัดปาล์มน้ำมัน ควรช่วยกำกับและควบคุมให้ผู้รับจ้างตัดปาล์มน้ำมัน ตัดปาล์มน้ำมันให้ได้คุณภาพดังกล่าว

                อินโฟเควสท์

ก.เกษตรฯ เผยดัชนีรายได้เกษตรกรปี 60 พุ่ง 4.54% คาดปี 61 ยังสดใสต่อเนื่อง

            สศก. แจงแนวโน้มดัชนีรายได้เกษตรกร ปี 2560 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.54 เมื่อเทียบกับปี 2559 จากดัชนีผลผลิตที่ปรับตัวเพิ่มสูงถึงร้อยละ 7.40 คาดปี 2561 รายได้เกษตรกรยังคงเพิ่มขึ้น จากการขับเคลื่อนนโยบายและมาตรการทางด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากแบบทีมบูรณาการทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค

   นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข  เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจการเกษตร โดยวัดจากดัชนีราคาสินค้าเกษตร ประจำเดือนพฤศจิกายน 2560 พบว่า ลดลงร้อยละ 4.89 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (พฤศจิกายน 2559) โดยสินค้าที่ราคาปรับตัวลดลง ได้แก่ ยางพารา ราคาลดลงเนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น และภาวะการค้ายังชะลอตัวต่อเนื่อง ราคาจึงเคลื่อนไหว อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ปาล์มน้ำมัน ราคาลดลงเนื่องจากภาวะการค้ายังชะลอตัวและสต็อกน้ำมันอยู่ในเกณฑ์สูง ไข่ไก่ ราคาลดลงเนื่องจากอยู่ในช่วงที่มีผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดมาก และสุกร ราคาลดลงเนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมากกว่าความต้องการ

   สินค้าที่ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ราคาเพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาณผลผลิตลดลง และผลผลิตมีคุณภาพดี มีการเก็บเกี่ยวในช่วงที่เหมาะสม มันสำปะหลัง ราคาเพิ่มขึ้นจากความต้องการทั้งในและต่างประเทศมีต่อเนื่อง และภาครัฐดำเนินการแก้ปัญหาราคามันสำปะหลัง 14 มาตรการเพื่อรักษาเสถียรภาพด้านการผลิตและการตลาดมันสำปะหลัง และกุ้งขาวแวนนาไม ราคาเพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้ประกอบการมีความต้องการใช้เป็นวัตถุดิบแปรรูปอาหาร เพื่อการส่งออกสูงขึ้น

   ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเดือนพฤศจิกายน 2560 ลดลงร้อยละ 0.60 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (พฤศจิกายน 2559) สินค้าสำคัญที่ผลผลิตลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า มันสำปะหลัง ไก่เนื้อ และกุ้งขาวแวนนาไม สินค้าสำคัญที่ผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา สับปะรด สุกร และไข่ไก่ ทั้งนี้ ภาพรวมรายได้ของเกษตรกร วัดจากดัชนีรายได้เกษตรกรเดือนพฤศจิกายน 2560 ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2559 ร้อยละ 5.46 เป็นผลมาจากดัชนีราคาและดัชนีผลผลิตปรับตัวลดลง

   สำหรับแนวโน้มเดือนธันวาคม 2560 พบว่า ดัชนีรายได้เกษตรกรลดลงร้อยละ 1.98 เป็นผลจากดัชนีราคาปรับตัวลดลง ร้อยละ 10.99 โดยสินค้าสำคัญที่มีราคาลดลง ได้แก่ อ้อยโรงงาน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน สับปะรด สุกร และไข่ไก่ ในขณะที่ดัชนีผลผลิตปรับตัวเพิ่มร้อยละ 10.12 โดยสินค้าสำคัญที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ยางพารา สับปะรด สุกร ไก่เนื้อ และไข่ไก่

   หากมองแนวโน้มดัชนีรายได้เกษตรกรทั้งปี 2560 พบว่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.54 เมื่อเทียบกับปี 2559 เป็นผลมาจากดัชนีผลผลิตที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 7.40 ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 2.67 เมื่อพิจารณาถึงรายได้เกษตรกรในแต่ละหมวดสินค้า พบว่า หมวดพืชผลเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.96 โดยสินค้าพืชสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว ยางพารา อ้อยโรงงาน ทุเรียนและมังคุด ขณะเดียวกันหมวดประมง (กุ้งขาวแวนไม) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.29 อย่างไรก็ตาม รายได้เกษตรกรในหมวดปศุสัตว์ ลดลงร้อยละ 4.06 เนื่องจากผลผลิตสินค้า ปศุสัตว์หลักทั้งไก่เนื้อ สุกร ไข่ไก่ และน้ำนมดิบ ออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ทำให้ราคาส่วนใหญ่อ่อนตัวลง ทั้งนี้ รายได้เกษตรกรส่วนหนึ่งที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการขับเคลื่อนนโยบายและมาตรการทางด้านการเกษตรต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องและมีการขยายพื้นที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากมากขึ้น

  ทั้งนี้ แนวโน้มดัชนีรายได้เกษตรกรทั้งปี 2561 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2560 จากผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญที่เพิ่มขึ้น อาทิ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน สับประรดโรงงาน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และผลไม้ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากสภาพอากาศและยังมีน้ำต้นทุนเหลือมากพอสำหรับการทำเกษตรจากการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ ทำให้การเพาะปลูกทำได้มากยิ่งขึ้น ประกอบกับการดำเนินนโยบายและมาตรการด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2561 เน้นการดำเนินการเป็นทีมบูรณาการทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกรได้ครบทุกด้าน รวดเร็ว และทันต่อความต้องการมากยิ่งขึ้น ส่งผลดัชนีรายได้ภาคเกษตรในปีหน้ายังคงขยายต่อเนื่อง

ก.เกษตรฯ เผยข้อมูลเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนเกษตร ปีเพาะปลูก 2560/61 ชี้เกษตรกรรายได้เพิ่ม สัดส่วนคนจนลดลง

            สศก. เปิดข้อมูลเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนเกษตร คาด ปีเพาะปลูก 2560/61 รายได้เงินสดสุทธิครัวเรือนเกษตรจะเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 2.5  โดยกระทรวงเกษตรฯ ยังคงเดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก สร้างโอกาสและความเข้มแข็งให้แก่ผู้มีรายได้น้อยอย่างต่อเนื่อง

            นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงข้อมูลภาวะเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนเกษตรปีเพาะปลูก 2559/60 ว่า ครัวเรือนเกษตรมีรายได้เงินสดทางการเกษตร 160,932 บาท/ครัวเรือน เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ร้อยละ 2.34 จากผลผลิตทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะพืช เช่น ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน ผลไม้ และปศุสัตว์ เช่น ไก่เนื้อ โคเนื้อ น้ำนมดิบ รวมถึงรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการแปรรูปผลผลิตที่ผลิตและการจำหน่ายผลผลิตพลอยได้ในฟาร์มที่เพิ่มขึ้นด้วย ขณะที่รายได้เงินสดนอกการเกษตร ต่อครัวเรือนขยับขึ้นมาอยู่ที่ 148,346 บาท หรือเพิ่มขึ้นจากปี 2559 ร้อยละ 3.60 จากกิจกรรมสำคัญนอกภาคการเกษตรที่สร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน เช่น เงินเดือน กำไรจากการค้าขาย การรับจ้างและให้บริการของสมาชิกในครัวเรือน ส่งผลให้ครัวเรือนเกษตรมีรายได้เงินสดทั้งปี 2560 รวม 309,278 บาท/ครัวเรือน

                ขณะที่ครัวเรือนเกษตรมีรายจ่ายเงินสดทางการเกษตร 101,957 บาท/ครัวเรือน ขยายตัวจากปี 2559 ร้อยละ 1.52 เป็นผลมาจากค่าจ้างแรงงานและราคาปัจจัยการผลิต/วัสดุอุปกรณ์การเกษตรที่เพิ่มขึ้น และรายจ่ายเงินสดนอกการเกษตร (ค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคของครัวเรือน) ลดลงจากปี 2559 ร้อยละ 4.51 เหลือเพียง 141,221 บาท/ครัวเรือน โดยเป็นผลมาจากค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคที่ลดลงถึงร้อยละ 10.38 ทั้งนี้ เมื่อนำรายได้มาหักค่าใช้จ่ายแล้วส่งผลให้เงินสดคงเหลือครัวเรือนเกษตรก่อนชำระหนี้ ขยับมาขึ้นอยู่ที่ 66,100 บาท/ครัวเรือน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.41 ขณะที่ หนี้สินครัวเรือนเกษตรอยู่ที่ 123,454 บาท/ครัวเรือน หรือเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาเพียงร้อยละ 0.62 โดยหนี้สินส่วนใหญ่ถูกใช้ไปในการหมุนเวียนเพื่อทำการผลิตทางการเกษตร สำหรับแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนเกษตรปีเพาะปลูก 2560/61 ซึ่งประเมินและวิเคราะห์จากข้อมูลในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา คาดว่ารายได้เงินสดสุทธิครัวเรือนเกษตรจะเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 2.5 และครัวเรือนเกษตรจะมีเงินสดคงเหลือก่อนหักชำระหนี้สูงถึง 71,443 บาท/ครัวเรือน

                สำหรับ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในภาคเกษตรในช่วงปี 2539-2559 มีแนวโน้มลดลง สะท้อนจากสัดส่วนรายได้ทั้งหมดในภาคเกษตรที่เกษตรกรในกลุ่มที่มีรายได้น้อยที่สุด (ร้อยละ 20) มีสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.74 ในปี 2553 เป็นร้อยละ 5.33 ในปี 2559 ขณะที่เกษตรกรในกลุ่มที่มีรายได้มากที่สุด (ร้อยละ 20) มีสัดส่วนรายได้ลดลงจากร้อยละ 58.75 ในปี 2553 เหลือเพียงร้อยละ 53.23 ในปี 2559

                ทั้งนี้ จากสัดส่วนรายได้ที่เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาของเกษตรกรกลุ่มที่มีรายได้น้อยที่สุด ส่งผลให้จำนวนคนจนในภาคเกษตรลดลงถึง 14.329 ล้านคน จากในปี 2539  ภาคเกษตรมีคนจนอยู่สูงถึง 19.443 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 72.00 ของประชากรภาคเกษตร แต่ในปี 2559 ภาคเกษตรกลับมีจำนวนคนจนลดลงเหลือเพียง 5.114 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 21.67 ของประชากรภาคเกษตรเท่านั้น ส่วนหนึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแผนงานโครงการต่าง ๆ ด้านการเกษตรที่มีประสิทธิภาพของภาครัฐที่ผ่านมาได้มีส่วนสนับสนุนให้การพัฒนาการเกษตรของประเทศมีความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง เกษตรกรมีความเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตัวเองได้และมีรายได้ ที่มั่นคง

ก.เกษตรฯ เผยดัชนีฯรายได้เกษตรกร 10 เดือนแรก แตะ 156.50 หลังมาตรการช่วยเหลือภาครัฐ สะท้อนรายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น

            สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาด ดัชนีรายได้เกษตรกรทั้งปี 60 จะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 59 ระบุ 10 เดือนแรกเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 156.50 จากผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญและผลไม้ที่เพิ่มขึ้น มั่นใจ มาตรการช่วยเหลือภาครัฐ และแผนการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพจะส่งผลให้ภาคเกษตรในปีหน้ายังคงขยายต่อเนื่อง

   นายวิณะโรจน์  ทรัพย์ส่งสุข  เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เปิดเผยถึงทิศทางรายได้เกษตรกรปี 2560 ซึ่งเมื่อพิจารณาจากดัชนีรายได้เกษตรกร พบว่ามีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2559 จากผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญที่ขายตัวเพิ่มขึ้น อาทิ ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน สับประรดโรงงาน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ผลไม้ต่าง ๆ และกุ้งทะเลเพาะเลี้ยง โดยดัชนีรายได้เกษตรกรในช่วง 10 เดือนของปี 2560 (ม.ค.-ต.ค.) เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 156.50 ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2559 ถึงร้อยละ 7.98 เป็นผลมาจากดัชนีผลผลิตที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 9.69 จากแผนการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพของรัฐบาลในช่วงปีที่ผ่านทำให้ทุกภูมิภาคของประเทศสามารถทำการเพาะปลูกได้เพิ่มขึ้น และยังมีน้ำต้นทุนเหลือเพียงพอสำหรับการทำการเกษตรฤดูแล้งปี 2561

   ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรปี 2560 โดยพิจารณาจากดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้หดตัวเล็กน้อยเพียงร้อยละ 1.6 จากการที่รัฐบาลได้เข้าส่งเสริมและช่วยเหลือเกษตรกรในการทำการการผลิตโดยใช้หลักการตลาดนำการผลิต เน้นการรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และยกระดับคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรอย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตร (ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ข้างโพดเลี้ยงสัตว์) โครงการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร การขยับช่วงการเพาะปลูกข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ ซึ่งโครงการและมาตรการต่าง ๆ เหล่านี้ได้เข้าไปมีส่วนช่วยยกระดับราคาสินค้าเกษตรไม่ให้ตกต่ำเหมือนที่ผ่านมาสำหรับเกษตรกรที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติต่าง ๆ รัฐบาลได้เร่งรัดเข้าไปให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนทั้งเป็นการเฉพาะหน้า การชดเชยความเสียหาย และการฟื้นฟูส่งเสริมอาชีพ ผ่านมาตรการต่าง ๆ อาทิ โครงการ 9101

   หากมองหนี้สินครัวเรือนเกษตรปี 2560 จากการสำรวจของ สศก. ในเบื้องต้น พบว่ามีแนวโน้มใกล้เคียงกับปี 2559 โดยหนี้สินครัวเรือนเกษตรส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 40 เป็นการกู้ยืมเงินระยะสั้นเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการผลิตและเก็บรักษาผลผลิตเพื่อรอการจำหน่าย เช่น การซื้อวัสดุอุปกรณ์และปัจจัย การผลิต ค่าพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ ค่าซ่อมแซมยุ้งฉาง/โรงเรือนเลี้ยงพืชสัตว์ ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการขยายตัวของภาคเกษตรโดยรวมและสอดรับกับรายได้เงินสดทางการเกษตรของครัวเรือนปี 2560 ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และยังสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยของครัวเรือนเกษตรซึ่งสอดคล้องข้อมูลภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนตุลาคม ปี 2560 ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ประเมินว่าเศรษฐกิจภูมิภาคของไทยขยายตัวต่อเนื่องในหลายภูมิภาคเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และแนวโน้มหนี้ครัวเรือนไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!