หมวดหมู่: บทวิเคราะห์

DBS


บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน


'แกว่งไม่หลุด 1655 ยังเลือกซื้อ/ถือต่อได้'
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
       ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : เมื่อวานนี้ SET ปิดทรงตัวที่ 1670.49 ซึ่งยังคงเหนือแนวฟิวเตอร์ (SMA10 ที่ประมาณ 1655 จุด) โดยมีการขายทำกำไรหุ้นกลุ่มแบงค์ พลังงาน แต่หุ้นกลุ่มอิเลคทรอนิกส์ชั้นนำบวกดี หลังเฟดส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยในเดือนธ.ค.60 และเริ่มทยอยลดงบดุลตั้งแต่ต.ค.นี้เป็นต้นไป ยังผลให้เงินดอลลารจ์ ะมีแนวโนม้ แข็งค่าขึ้น เงินบาทออ่ นลง ซึ่งสอดคลอ้ งกับคำแนะนำเราเมื่อวานนี้ นักลงทุนแต่ละกลุ่มซื้อ/ขายสุทธิไม่มาก

 

       สำหรับ วันนี้ : ตลาดมีแนวโน้มแกว่งแคบรอปัจจัยใหม่ โดยเฉพาะการประชุมกนง.ของไทยพุธหน้า (27 ก.ย.) อย่างไรก็ตาม ด้วย Trend ค่าเงินดอลลาร์ที่จะแข็งขึ้น และบาทจะอ่อนลง ก็ลดแรงกดดันเรื่องการลดดอกเบี้ยเพื่อชะลอบาทแข็งไปพอควร

 

      ด้านการประชุมกลุ่มโอเปกวันนี้ (22 ก.ย.) จะหารือเรื่องขยายเวลาลดการผลิตออกไปจากสิ้นมี.ค.61 (ตลาดคาดจะขยายไปถึงสิ้นปี 61เลย) ทั้งนี้ปัญหาที่ทำให้การลดผลิตไม่บรรลุเป้าตามข้อตกลง 1.8 ล้านบาร์เรลคือ ลิเบียและไนจีเรีย ซึ่งอยู่ในกลุ่มโอเปกแต่ไม่อยู่ในข้อตกลงฯยังผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น และสหรัฐก็ผลิตน้ำมันจากหินดินดานเพิ่มด้วยเช่นกัน เราประเมินว่าราคาน้ำมันดิบจะปรับขึ้นไม่มากหลัง BRENT price 3Q60+15.7%QTD

 

     สำหรับ ร่างพ.ร.บ.โครงการ EEC จะเข้าพิจารณาในสนช.วาระที่ 1 วันที่ 28 ก.ย.นี้ คาดจะผ่านทุกวาระและมีผลบังคับใช้ภายในสิ้นปี 60 ซึ่งอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์เป็นกลุ่มแรกๆ คือ 1. นิคมฯ (หุ้นเด่น AMATA-TP 22 บาทซึ่งมี Discount 30% จาก Fair value) และ 2. รับเหมาก่อสร้าง (หุ้นเด่น CK – TP 37 บาท, STEC – TP 30 บาท, SEAFCO – TP 16.10 บาท) ส่วนวัสดุก่อสร้างคาดจะดีตั้งแต่ 2H61 เป็นต้นไปส่วนหุ้นใน DBS Coverage ที่มีการปรับประมาณการ (-24% ปีนี้ แต่ +19% ปีหน้า) คือ SAMTEL เพราะมี 3 โครงการใหม่มูลค่ารวม 7.9 พันลบ.ได้เลื่อนจาก 2Q60 เป็น 4Q60 รายได้และกำไรจึงจะไปเข้าปีหน้าเป็นหลัก อย่างไรก็ตามยังคงคำแนะนำซื้อ เพราะแม้เลื่อนไปแต่คาดการณ์กำไรปี 60/61 ยังโตแกร่งที่ +102%/+51% ให้ TP 17 บาท

 

     กลยุทธ์ลงทุน : เลือกซื้อ/ถือต่อ เมื่อ SET อยู่เหนือ SMA10 (ปัจจุบันคือ 1655 จุด) โดยให้แนวต้านไว้ที่ 1680, 1690 จุด และแนวรับ 1665-1660, 1650 จุด หุ้นกลยุทธ์แนะนำรายสัปดาห์ช่วง 20-26 ก.ย.60 เป็น MINT (Growth Play) และ TISCO (Growth & High yield Play)การ SCAN หุ้นทางเทคนิค : หุ้นที่คาดว่าราคาจะทำ New High ได้ที่เข้ามาใหม่เป็น SAWAD, AMATA, SAMTEL, BR, RS, AAV, PSL หุ้นยังอยู่ใน List คือ MCS, STAR, VIBHA, SAT หุ้นหลุด List คือ CKP ส่วนหุ้นแนะนำไปแล้วและให้หาจังหวะขายทำกำไรเป็น WHA, SGP, KKP,VNG, PLAT, LOXLEY นักกลยุทธ์&นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค& Reseach Team – This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

Need to know TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ ตลาดหุ้น ตลาดน้ำมันและทองคำ
• ญี่ปุ่น : ผลประชุม BOJ เป็นไปตามคาด & ยังคงใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อ
# BOJ มีมติคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ -0.1% ในการกระชุมวันนี้ และเดินหน้า QE ต่อไป โดยผู้ว่าการ BOJ แถลงว่าBOJ จะเดินหน้าใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินต่อไป และอาจออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติมถ้าจำเป็น และการชะลอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของเฟดไม่มีผลต่อนโยบายของ BOJ แต่อย่างใด

+ สหรัฐ : ตัวเลขภาคแรงงานแข็งแกร่งและการจ้างงานถือว่าค่อนข้างเต็มศักยภาพ
# กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่าจำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 23,000 รายในสัปดาห์ที่แล้วสู่ระดับ 259,000 ราย สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 300,000 ราย โดยตัวเลขผู้ที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกยังคงอยู่ต่ำกว่า 300,000 ราย เป็นสัปดาห์ที่ 133 ติดต่อกัน ซึ่งยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 2513

 

• ภาวะตลาดหุ้นสหรัฐ : พักตัวหลัง DJIA ขึ้นต่อเนื่อง 7 วันทำการ
# ตลาดหุ้นสหรัฐอ่อนตัวลงจากแรงขายทำกำไร รวมทั้งการที่เฟดส่งสัญญาว่าอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในการประชุมเดือนธ.ค. (CME Group FedWatch ระบุความเป็นไปได้ที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยปลายปีนี้อยู่ที่ 70%)ผนวกกับมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลีหลังทรัมป์ออกคำสั่งคว่ำบาตรเกาหลีเหนือรอบใหม่เมื่อวานนี้ โดยมีการขึ้นบัญชีดำบุคคลและหน่วยงานที่ดำเนินธุรกิจกับเกาหลีเหนือ เพื่อเป็นการลงโทษเกาหลีเหนือที่ได้ทำการทดลองนิวเคลียร์และขีปนาวุธครั้งใหม่
# ดัชนี DJIA ปิดที่ 22,359.23 จุด -53.36 จุด หรือ -0.24% ดัชนี S&P500 ปิด -7.64 จุด หรือ -0.30% และดัชนีNasdaq ปิด -33.35 จุด หรือ -0.52%

 

• ภาวะตลาดน้ำมัน : ราคาแกว่งในกรอบแคบ
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ย. -14 เซนต์ หรือ 0.3% ปิดที่ 50.55 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วน BRENT +14เซนต์ หรือ 0.3% ปิดที่ 56.43 ดอลลาร์/บาร์เรล
# กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) จะประชุมกันที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ในวันนี้ (22 ก.ย.) เพื่อพิจารณาการขยายเวลาปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ปลายมี.ค.61...ตลาดประเมินว่าจะขยายไปถึงสิ้นปี 61


# ปัญหาของการลดการผลิตกลุ่มโอเปก คือ ประเทศที่อยู่นอกข้อตกลง เช่น ลิเบีย ไนจีเรีย ยังคงเพิ่มการผลิตรวมทั้งสหรัฐก็ผลิตน้ำมันจากหินดินดานเพิ่มด้วยเช่นกัน

- ภาวะตลาดทองคำ : ราคาทองร่วงแรงหลุด 1,300 ดอลลาร์หลังเฟดส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ร่วงลง 21.60 ดอลลาร์ หรือ 1.6%ปิดที่ระดับ 1,294.80 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังคณะกรรมการเฟด 12 ใน 16 คน คาดการณ์ว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือนธ.ค.60 นี้ และจะทยอยลดงบดุลตั้งแต่ต.ค.60 เป็นต้นไป


ปัจจัยในประเทศ และหุ้นมีข่าว
• กนง.ประชุมสัปดาห์หน้า (27 ก.ย.)...จะปรับลดดอกเบี้ยหรือไม่
# หลังจากมีความเห็นต่างกันเรื่องทิศทางอัตราดอกเบี้ยระหว่างธปท.กับรมว.คลังและปลัดคลัง...ล่าสุดผู้ว่าการธปท.ระบุว่าการตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ยนโยบายให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่จะประชุม 27 ก.ย.นี้ โดยทางธปท.ให้ข้อมูลว่า การแข็งค่าของเงินบาทใน YTD ปีนี้เป็นผลจาก 1. การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย 2. การเก็งกำไรเงินบาทของสถาบันการเงินเป็นช่วงๆ 3. การไหลเข้ามาลงทุนของเงินต่างชาติเพราะมั่นใจในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ความกังวลสถานการณ์การเมืองน้อยลง ส่วนประเด็นที่ธปท.กังวลถ้าอัตราดอกเบี้ยต่ำลงไปอีก คือ พฤติกรรม Search for yield ซึ่งความเสี่ยงกับผู้ออมจะมีมากขึ้น ขณะเดียวกันการลดดอกเบี้ยอาจไม่ช่วยกระตุ้นมากนักในยามที่หนี้สินภาคครัวเรือนสูง กำลังซื้อซบเซา แต่อาจช่วยลดแรงกดดันเรื่องการไหลเข้ามาเก็งกำไรในตลาดเงิน ปัญหาบาทแข็งต่อผู้ส่งออกผ่อนคลายลง

# มุมมอง DBS : ณ ปัจจุบันเราประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะทรงตัวที่ 1.50% ไปถึง 3Q61 บนสมมติฐานค่าเงินบาท 33.10 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ อัตราเงินเฟ้อปี 60/61 ที่ 0.5%/1.2% และการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 60-61 เฉลี่ย 3.5-3.6% ต่อปี แต่ถ้าอัตราเงินเฟ้อยังต่ำและมีโมเมนตัมว่าจะฟื้นช้า (ซึ่งก็ขึ้นกับราคาน้ำมันดิบเป็นหลัก) และเงินบาทแข็งค่ากว่าที่ประมาณการไว้ก็มี room ให้ทางการไทยจะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงได้เล็กน้อย

 

สำหรับนโยบายการเงินเฟดที่จะเริ่มลดงบดุลตั้งแต่ต.ค.60 โดยเริ่มที่ 1 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน แล้วเพิ่มทีละ 1หมื่นล้านฯทุกไตรมาส จนแตะ 5 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนต.ค.61 รวมถึงมีโอกาสที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้ง (ซึ่งจะเป็นครั้งที่ 3 ของปี) ในการประชุมเดือนธ.ค.60 ก็หนุนให้เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น ซึ่งก็ช่วยลดแรงกดดันเรื่องบาทแข็งในอีกทางหนึ่ง

+ ร่างพ.ร.บ. EEC จะเข้าพิจารณาในสนช.วันที่ 28 ก.ย.นี้
# รมว.อุตสาหกรรมกล่าวว่ามีกำหนดหารือร่วมกับวิปรัฐบาลเพื่อเตรียมร่างพ.ร.บ.การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่ผ่านความเห็นชอบของครม.เสนอให้สภานิติบัญญัติ (สนช.) พิจารณาในวาระที่ 1 วันที่28 ก.ย.60 และต่อด้วยวาระที่ 2 และ 3 ซึ่งคาดว่าสนช.จะเห็นชอบและประกาศให้มีผลบังคับใช้ภายในปี 60# ความเห็น DBS : โครงการ EEC ถือเป็น Catalyst การลงทุนที่ดีหนึ่งของไทย คาดว่าเมื่อเริ่มมีการลงทุนในสาธารณูปโภค การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และการลงทุนภายในจะเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะได้รับประโยชน์เป็นกลุ่มแรกๆ คือ นิคมอุตสาหกรรม และรับเหมาก่อสร้าง เพราะผู้ลงทุนจะต้องเริ่มจากการซื้อที่ดิน หรือหาเช่าโรงงาน ขณะที่การลงทุนในสาธารณูปโภคต่างๆ ก็ต้องทำไปพร้อมๆ กันหุ้นเด่นในกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม คือ AMATA (ราคาเป้าหมาย 22 บาท ซึ่งมีส่วนลดจาก Fair value ที่ 31 บาทอยู่ 30%) ส่วนหุ้นเด่นในกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง คือ CK (ราคาเป้าหมาย 37 บาท), STEC (ราคาเป้าหมาย 30บาท) และ SEAFCO (ราคาเป้าหมาย 16.10 บาท)

นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค – This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!