หมวดหมู่: เกษตร

RUBERธธช สขสะอาด


กยท. Kick off โครงการสินเชื่อ 1 หมื่นลบ.ช่วยสร้างเสถียรภาพราคายางไม่ให้ผันผวนเกินจุดวิกฤติ

      การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) Kick off โครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยาง วงเงิน 10,000 ล้านบาท ด้านผู้ประกอบการตบเท้าเข้าร่วมโครงการ กว่า 30 บริษัท 49 โรงงาน วงเงินกู้รวม 9,600 ล้านบาท คาดว่าโครงการนี้สามารถดูดซับยางออกจากระบบได้ซึ่งจะช่วยยกระดับราคาให้สูงขึ้น ช่วยสร้างเสถียรภาพด้านราคายาง

       นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการ กยท. กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในแก้ไขปัญหาราคายาง จึงได้อนุมัติโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยาง หวังดูดซับยางออกจากระบบ ซึ่งจะช่วยยกระดับราคาให้สูงขึ้น เป็นการสร้างเสถียรภาพด้านราคายาง ซึ่งผู้ประกอบกิจการยางสามารถรับซื้อผลผลิตไปแปรรูปเป็นยางประเภทต่างๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มต่อไป โดยโครงการนี้ กำหนดระยะเวลาโครงการตั้งแต่ พฤษภาคม 2560 – เมษายน 2562 และระยะเวลาในการอนุมัติวงเงินกู้จนสิ้นสุดการชำระเงินกู้ตามโครงการฯ 1 ปี ไม่เกิน 30 เมษายน 2562 โดยรัฐบาลจะสนับสนุนการชดเชยดอกเบี้ยในอัตราไม่เกิน 3% กับผู้เข้าร่วมโครงการฯ หรือคิดเป็นเงินช่วยเหลือจำนวนไม่เกิน 300 ล้านบาท จากวงเงินกู้ 1 หมื่นล้านบาท ให้กับผู้ประกอบการโดยใช้แหล่งสินเชื่อวงเงินกู้เดิมจากธนาคารพาณิชย์ที่ผู้ประกอบการใช้บริการอยู่แล้ว

       “สำหรับ ผู้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนสินเชื่อฯ 10,000 ล้านบาท จะเป็นผู้ประกอบการแปรรูปน้ำยางข้นที่จดทะเบียนในประเทศไทย และมีผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยมากกว่า 50% ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว ปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้น 35 บริษัท 49 โรงงาน วงเงินกู้รวมประมาณ 9,600 ล้านบาท คาดว่าโครงการนี้ จะสามารถดูดซับยางออกจากระบบประมาณ 20% ของผลผลิตน้ำยางข้น เป็นการผลักดันราคายางให้สูงขึ้นโดยใกล้เคียงหรือสูงกว่าต้นทุนการผลิตของเกษตรกรชาวสวนยาง และรักษาเสถียรภาพราคายางไม่ให้เกิดความผันผวนมากเกินจุดวิกฤติ” ผู้ว่าการ กยท. กล่าว

       ด้านนายชัยพจน์ เรืองวรุณวัฒนา นายกสมาคมน้ำยางข้นไทย กล่าวว่า โครงการนี้ ทำให้เกิดความร่วมมือสามประสานระหว่างเกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ประกอบกิจการยาง และรัฐบาลในการร่วมกันแก้ไขปัญหาราคายาง ซึ่งผู้ประกอบการแปรรูปน้ำยางข้นที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องยื่นขอรับการสนับสนุนสินเชื่อที่ กยท. เพื่อรวบรวมคำขอส่งให้ธนาคารที่ให้การสนับสนุนสินเชื่อต่อไป

       โดยแหล่งสินเชื่อใช้วงเงินกู้เดิมจากธนาคารพาณิชย์ที่ผู้ประกอบการใช้บริการอยู่แล้ว และรัฐบาลจะเงินชดเชยดอกเบี้ยสนับสนุนในอัตราไม่เกิน 3% จำนวนไม่เกิน 300 ล้านบาทจากวงเงินกู้รวม 10,000 ล้านบาท คาดว่า จะสามารถเสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อฐานของราคายางปรับสูงขึ้นเกษตรกรชาวสวนยางมีอำนาจการใช้จ่ายมากขึ้น จะสร้างวงจรเศรษฐกิจให้เคลื่อนไหวได้รับประโยชน์กันในทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่องเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจไทยต่อไป

กยท.เผยพื้นที่ปลูกยางจ.สกลนครถูกน้ำท่วม 928 ไร่จากทั้งหมด 3 แสนไร่ อ.สว่างแดนดินเสียหายมากสุด

      นายธีรวัฒน์ เดชทองคำ รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ด้านธุรกิจและปฏิบัติการ กล่าวว่า กยท. ได้เร่งลงพื้นที่ในจังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นมีพื้นที่ปลูกยางทั้งหมด 3 แสนไร่ พบว่ามีต้นยางที่ถูกน้ำท่วมทั้งสิ้น 928 ไร่ โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ได้รับความเสียหายมากที่สุดในจังหวัด ประมาณ 900 ไร่

       ทั้งนี้ ในเบื้องต้น กยท. ได้มอบรองเท้าบูทซึ่งผลิตจากยางพาราให้แก่ผู้นำเกษตรกรชาวสวนยางทำสวนยางสว่างแดนดิน และถุงยังชีพอีกจำนวน 100 ถุง ให้แก่เกษตรกรสมาชิกกลุ่มสวนยางพาราสว่างแดนดินผู้ประสบภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่เกษตรกรในเบื้องต้น

           อินโฟเควสท์

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!