หมวดหมู่: พลังงาน

OIL51


ราคาน้ำมันดิบปรับลดต่อแตะระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือนหลังตลาดคาด OPEC ไม่สามารถปรับสมดุลอุปทานได้

 

  -ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงต่อเนื่องแตะระดับต่ำสุดในรอบ 7 เดือน หลังตลาดยังคงกังวลว่าการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันดิบโอเปก (OPEC) ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ตลาดน้ำมันดิบกลับเข้าสู่จุดสมดุลเนื่องจากสหรัฐฯ ยังคงเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบ Shale อย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าราคาจะปรับลดลงไปจนกว่าจะถึงจุดไม่คุ้มทุนของผู้ผลิตน้ำมันดิบ Shale และปรับลดกำลังการผลิตลงไปตามกลไกตลาด

  - แม้ว่าสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) จะรายงานถึงปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่ปรับลดลง 2.7 ล้านบาร์เรลมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับลดลงราว 2.1 ล้านบาร์เรล แต่การปรับลดลงนี้ยังไม่มากพอที่จะพยุงราคาน้ำมันดิบ เนื่องจากกำลังการผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ตามรายงานของ EIA ยังคงปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแตะระดับ 9.35 ล้านบาร์เรลใกล้เคียงกับกำลังการผลิตของซาอุดิอาระเบียและรัสเซียนอกจากนี้ จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ยังปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานถึง 22 สัปดาห์ติดต่อกัน

  - กำลังการผลิตน้ำมันดิบของประเทศไนจีเรียและลิเบียยังคงเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นสองประเทศที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปรับลดกำลังการผลิตภายใต้ข้อตกลงระหว่างโอเปกและรัสเซีย โดยคาดว่าในเดือน ส.ค. คาดว่าไนจีเรียจะส่งออกน้ำมันดิบมากกว่า 2 ล้านบาร์เรลต่อวันซึ่งสูงสุดในรอบ 17 เดือน ตามการคาดการณ์ของ Reuters หลังไนจีเรียสามารถซ่อมแซ่มท่อขนส่งที่เสียหายจากการก่อการร้ายได้

      ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวตามราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานจากฝั่งยุโรปและสหรัฐฯ ยังคงล้นตลาด ส่งผลกดดันต่อตลาดเอเชีย ขณะที่การนำเข้าน้ำมันเบนซินของประเทศอินโดนีเซียปรับลดลง แม้โรงกลั่นในประเทศจะยังคงปิดซ่อมบำรุงตั้งแต่กลางเดือน เม.ย. จนถึงปัจจุบัน

  ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบ หลังความต้องการใช้น้ำมันดีเซลในภูมิภาคเอเชียและประเทศอินเดียยังคงทรงตัวในระดับดี ขณะที่อุปทานยังคงตึงตัวในช่วงฤดูการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นภายในเอเชียเหนือ

 

ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้

   ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 42-47 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

   ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 44-49 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

 

ปัจจัยที่น่าจับตามอง

  ภาวะอุปทานน้ำมันดิบส่วนเกินยังคงส่งผลกดดันต่อราคาน้ำมันดิบต่อเนื่อง แม้ว่าโอเปกจะสามารถตกลงยืดระยะเวลาข้อตกลงการปรับลดกำลังการผลิตออกไปอีก 9 เดือน หลังกำลังการผลิตน้ำมันดิบของลิเบียปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ราว 885,000 บาร์เรลต่อวัน เนื่องจากแหล่งผลิตน้ำมันดิบ Sharara เปิดดำเนินการ และปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในไนจีเรียที่เพิ่มขึ้น หลังน้ำมันดิบ Forcados กำลังการผลิตราว 200,000-250,000 บาร์เรลต่อวัน กลับมาดำเนินการส่งออก

 ความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปในสหรัฐฯ อ่อนตัวลงในช่วงฤดูกาลขับขี่ของสหรัฐฯ โดยอุปสงค์น้ำมันเบนซินในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาปรับลดลงกว่าร้อยละ 3.8 จากปีก่อนหน้า ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสหรัฐฯ สิ้นสุด ณ วันที่ 9 มิ.ย. 2560 เพิ่มขึ้น 2.1 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 242.4 ล้านบาร์เรล ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีประมาณ 19.4 ล้านบาร์เรล

 ปริมาณการน้ำมันดิบของสหรัฐฯ คาดจะปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ เพิ่มการขุดเจาะน้ำมันดิบขึ้นต่อเนื่อง โดย Baker Hughes รายงานปริมาณแท่นขุดเจาะ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุด 16 มิ.ย. 2560 ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 22 สัปดาห์ติดต่อกันมาสู่ระดับสูงสุดในรอบ 2 ปีที่ 747 แท่น ส่งผลให้สำนักงานพลังงานสากล (IEA) คาดในปี 2560 ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ คาดจะปรับเพิ่มขึ้น 430,000 บาร์เรลต่อวันจากปีก่อนหน้า และจะเติบโตขึ้นต่อเนื่องกว่า 780,000 บาร์เรลต่อวันในปี 2561

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!