หมวดหมู่: พลังงาน

OIL51


ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือน จากความกังวลอุปทานน้ำมันล้นตลาด

  - ราคาน้ำมันดิบยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่อง เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่า และความกังวลในเรื่องของอุปทานล้นตลาด

  - ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบสองสัปดาห์ หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.00-1.25 เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 2 ในรอบปี โดยค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้นจะส่งผลให้ราคาน้ำมันแพงขึ้น สำหรับผู้ถือสกุลเงินอื่น และกดดันต่อความต้องการใช้

  - แม้ว่าจะอยู่ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวของสหรัฐฯ ปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.1 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 242.4 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังเฉลี่ยในรอบ 5 ปี ถึงร้อยละ 9 สะท้อนให้เห็นว่าความต้องการใช้น้ำมันเบนซินอาจอ่อนแอกว่าที่คาดการณ์

  - สำนักงานพลังงานสากล (IEA) คาดการณ์ การขยายตัวของอุปทานน้ำมันดิบอาจมากกว่าความต้องการใช้ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยปริมาณการผลิตน้ำมันของผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปกจะเพิ่มขึ้น 0.7 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีนี้ และ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีหน้า

  - ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องประมาณร้อยละ 10 จากปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 9.33 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณการผลิตของรัสเซียและซาอุดิอาระเบีย

        ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยได้รับแรงกดดันจากปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับตัวลดลง นอกจากนี้ตลาดยังถูกดันจากประเทศจีนที่มีแนวโน้มส่งออกมากขึ้น

  ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยได้รับแรงหนุนจากความต้องการที่ปรับเพิ่มขึ้นจากประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย เวียดนามและศรีลังกา

 

ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์หน้า

   ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 43-48 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

   ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 45-50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล 

ปัจจัยที่น่าจับตามอง

  ภาวะอุปทานน้ำมันดิบส่วนเกินยังคงส่งผลกดดันต่อราคาน้ำมันดิบต่อเนื่อง แม้ว่าโอเปกจะสามารถตกลงยืดระยะเวลาข้อตกลงการปรับลดกำลังการผลิตออกไปอีก 9 เดือนมาสิ้หลังกำลังการผลิตน้ำมันดิบของลิเบียปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ราว 835,000 บาร์เรลต่อวัน เนื่องจากแหล่งผลิตน้ำมันดิบ Sharara เปิดดำเนินการ และปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในไนจีเรียที่เพิ่มขึ้น หลังน้ำมันดิบ Forcados กำลังการผลิตราว 200,000-250,000 บาร์เรลต่อวัน กลับมาดำเนินการส่งออก

  ความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปในสหรัฐฯ อ่อนตัวลงลงในช่วงฤดูกาลขับขี่ของสหรัฐฯ โดยอุปสงค์น้ำมันเบนซินในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาปรับลดลงกว่าร้อยละ 3.8 จากปีก่อนหน้า ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสหรัฐฯ สิ้นสุด ณ วันที่ 9 มิ.ย. 2560 เพิ่มขึ้น 2.1 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 242.4 ล้านบาร์เรล ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ระดับ 19.4 ล้านบาร์เรล

  ปริมาณการน้ำมันดิบของสหรัฐฯ คาดจะปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นส่งผลให้ผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ เพิ่มการขุดเจาะน้ำมันดิบขึ้นต่อเนื่อง โดย Baker Hughes รายงานปริมาณแท่นขุดเจาะ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุด 9 มิ.ย. 2560 ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 21 สัปดาห์ติดต่อกันมาสู่ระดับสูงสุดในรอบ 2 ปีที่ 741 แท่น ส่งผลให้สำนักงานพลังงานสากล (IEA) คาดในปี 2560 ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ คาดจะปรับเพิ่มขึ้น 430,000 บาร์เรลต่อวันจากปีก่อนหน้า และจะเติบโตขึ้นต่อเนื่องกว่า 780,000 บาร์เรลต่อวันในปี 2561

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!