หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV8


ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) .. ….

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) .. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงาน ... เสนอ โดยให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมร่างมาตรา 10 (3) ให้มีความชัดเจน ตามความเห็นของ สำนักงบประมาณ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้สำนักงาน ... กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการต่อไป

          ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาที่สำนักงาน ... เสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว โดยเป็นการปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบัน เพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) .. 2554 ทั้งฉบับ ซึ่งร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้แตกต่างจากร่างพระราชกฤษฎีกาที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการ เนื่องจากมีการแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาจำนวนมาก ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้กฎหมาย

          สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา

          เป็นการปรับปรุงวัตถุประสงค์ หน้าที่และอำนาจของสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) (สธท.) และแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติต่างๆ ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) .. 2554 ดังนี้

          1. กำหนดนิยามคำว่าสถาบัน” “คณะกรรมการ” “ผู้อำนวยการ” “เจ้าหน้าที่” “ลูกจ้างและผู้ปฏิบัติงาน

          2. กำหนดให้ สธท. มีวัตถุประสงค์ ดังนี้

                 2.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการอนุวัติข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติ ต่อผู้ต้องขังหญิงและมาตรการที่มิใช่การคุมขัง หรือ “Bangkok Rules” เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินกระบวนการยุติธรรมแก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

                 2.2 ศึกษา วิจัย และเผยแพร่มาตรฐานและบรรทัดฐานของสหประชาชาติเกี่ยวกับ การดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญา รวมทั้งแนวทางในการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด และการช่วยเหลือผู้กระทำผิดหลังพ้นโทษให้กลับคืนสู่สังคม เพื่อนำไปสู่การพัฒนากระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยและต่างประเทศ

                 2.3 ส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ และนวัตกรรมด้านหลักนิติธรรม เสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งให้ความรู้ทางกฎหมายและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการยุติธรรม โดยประสานความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และหน่วยงานต่างประเทศหรือระหว่างประเทศ เพื่อนำไปสู่ความเคารพในหลักนิติธรรมและวัฒนธรรมแห่งการเคารพกติกา

                 2.4 เป็นศูนย์กลางแห่งความเป็นเลิศระดับนานาชาติด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญาในด้านการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดโดยจะเน้นความร่วมมือกับสหประชาชาติสถาบันสมทบ (Programme Network Institute) และความร่วมมือในกรอบอาเซียน

                 2.5 ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของกระบวนการยุติธรรมของไทยให้ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ เพื่อให้เกิดความร่วมมือทางด้านกระบวนการยุติธรรมระหว่างประเทศ  

          3. กำหนดให้ สธท. มีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้

                 3.1 ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และทรัพยสิทธิต่างๆ

                 3.2 ก่อตั้งสิทธิหรือทำนิติกรรมทุกประเภท เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสถาบัน

                 3.3 ทำความตกลงและร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศในกิจการที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน

                 3.4 จัดให้มีและให้ทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบัน

                 3.5 เข้าร่วมทุนกับบุคคลหรือนิติบุคคลในกิจการที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของสถาบัน โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

                 3.6 ถือหุ้นหรือเข้าเป็นหุ้นส่วนในกิจการของนิติบุคคลอื่นเพื่อส่งเสริมกิจการที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของสถาบัน โดยต้องไม่มีวัตถุประสงค์หลักในการมุ่งแสวงหากำไรโดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

                 3.7 กู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน

                 3.8 เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน หรือค่าบริการในการดำเนินกิจการต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการกำหนด

                 3.9 เป็นตัวแทน หรือมอบหมาย หรือว่าจ้างให้บุคคลหรือนิติบุคคลอื่นประกอบกิจการ ต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน

                 3.10 กระทำการอื่นใดที่จำเป็นหรือต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสถาบัน

                 3.11 ปฏิบัติงานหรือดำเนินการอื่นใดตามที่คณะรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการมอบหมาย

          4. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่าคณะกรรมการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทยประกอบด้วย

                 4.1 ประธานกรรมการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงทางด้านกฎหมาย ด้านกระบวนการยุติธรรม ด้านบริหาร หรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อกิจการของสถาบัน

                 4.2 กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวนสี่คน ได้ แก่ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม และอัยการสูงสุด

                 4.3 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกินห้าคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านกฎหมาย ด้านกระบวนการยุติธรรมหรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อกิจการของสถาบัน

                 4.4 ให้ผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการโดยตำแหน่ง และให้ผู้อำนวยการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เป็นผู้ช่วยเลขานุการได้ตามความจำเป็น

                 4.5 ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ พนักงานหรือลูกจ้างของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เว้นแต่เป็นผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ

          5. กำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลทั่วไปซึ่งกิจการ และการดำเนินการของสถาบัน เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ และให้รวมถึง (1) กำหนดนโยบายการบริหารงาน การจัดหาทุน และให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานของสถาบัน (2) อนุมัติงบประมาณประจำปี รายงานการเงิน แผนการลงทุน และการดำเนินโครงการตามที่คณะกรรมการกำหนด (3) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการให้ทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบัน (4) ให้คำแนะนำหรือเสนอแนะการแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคอันเกิดจากการบริหารจัดการ ตลอดจนเสนอคณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการในกรณีมีปัญหาหรืออุปสรรคเกี่ยวกับการประสานงานในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และหน้าที่และอำนาจของสถาบัน (5) ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับสถาบัน

          6. กำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการ และการดำเนินการของสถาบัน เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ และให้รวมถึง (1) กำหนดนโยบายการบริหารงาน และให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานของสถาบัน (2) อนุมัติงบประมาณประจำปี งบการเงิน และแผนการลงทุนของสถาบัน (3) ดูแลฐานะและความมั่นคงทางการเงิน ให้ความเห็นชอบรายงานทางการเงิน พิจารณารายงานของผู้ตรวจสอบการเงิน (4) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการให้ทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบัน (5) ให้คำแนะนำหรือเสนอแนะการแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคอันเกิดจากการบริหารจัดการ ตลอดจนเสนอคณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการในกรณีมีปัญหาหรืออุปสรรคเกี่ยวกับการประสานงานในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของสถาบันตาม () - () สำหรับกรณีตาม (5) () การบริหารและจัดการการเงิน การพัสดุ และทรัพย์สินของสถาบัน รวมทั้งการบัญชีและการจำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีเป็นสูญ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

          7. กำหนดให้ให้มีคณะที่ปรึกษาพิเศษคณะหนึ่ง เรียกว่าคณะที่ปรึกษาสถาบันเพื่อการยุติธรรม แห่งประเทศไทยประกอบด้วยประธานคณะที่ปรึกษาพิเศษซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้ง และที่ปรึกษาพิเศษซึ่งประธานคณะที่ปรึกษาพิเศษแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นนักวิชาการ หรือผู้ชำนาญการ จำนวนไม่เกินห้าคน ให้คณะที่ปรึกษาพิเศษมีหน้าที่ให้ความเห็น คำแนะนำ และคำปรึกษาแก่คณะกรรมการและผู้อำนวยการในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชกฤษฎีกานี้

          8. กำหนดให้ประธานกรรมการ กรรมการ ประธานคณะที่ปรึกษาพิเศษ ที่ปรึกษาพิเศษ ที่ปรึกษาของคณะกรรมการ ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบ ประธานอนุกรรมการ และอนุกรรมการ ได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

          9. กำหนดให้สถาบันมีผู้อำนวยการคนหนึ่ง เป็นผู้บริหารกิจการของสถาบันภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการ และให้คณะกรรมการเป็นผู้มีอำนาจสรรหา แต่งตั้ง และถอดถอนผู้อำนวยการ การสรรหาผู้อำนวยการให้เป็นไปตามระเบียบของคณะกรรมการซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์กลางที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

          10. กำหนดให้การแต่งตั้งผู้อำนวยการต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุต้องแต่งตั้งผู้อำนวยการ และหากมีเหตุผลจำเป็นให้คณะกรรมการขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกินหกสิบวัน หากดำเนินการไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาดังกล่าวให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแต่งตั้งผู้อำนวยการ

          11. กำหนดให้คณะกรรมการเป็นผู้กำหนดอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้อำนวยการตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

          12. กำหนดให้เจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานของสถาบันมีสามประเภท คือ (1) เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้าง ได้แก่ ผู้ซึ่งปฏิบัติงานโดยได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างจากงบประมาณของสถาบัน (2) ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ผู้ซึ่งสถาบันจ้างให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญโดยมีสัญญาจ้าง (3) เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมาปฏิบัติงานของสถาบันเป็นการชั่วคราว

          13. กำหนดให้เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานของสถาบัน รัฐมนตรีอาจขอให้ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในกระทรวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนอื่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ มาปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงานในสถาบันเป็นการชั่วคราวได้ ทั้งนี้ เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาหรือนายจ้างของผู้นั้น และมีข้อตกลงที่ทำไว้ในการอนุมัติ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับอนุมัติให้มาปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการได้รับอนุญาตให้ออกจากราชการ หรือออกจากงานไปปฏิบัติงานใดๆ และให้นับระยะเวลาระหว่างที่มาปฏิบัติงานในสถาบัน สำหรับ การคำนวณบำเหน็จบำนาญหรือประโยชน์ตอบแทนอื่นทำนองเดียวกันเสมือนอยู่ปฏิบัติราชการ หรือปฏิบัติงานเต็มเวลาดังกล่าว แล้วแต่กรณี เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติให้มาปฏิบัติงานในสถาบันให้เจ้าหน้าที่ของรัฐตามวรรคหนึ่งมีสิทธิได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและรับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าตำแหน่งและเงินเดือนเดิมตามข้อตกลงที่ทำไว้ในการอนุมัติ

          14. กำหนดให้การบัญชีของสถาบัน ให้จัดทำตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนดซึ่งต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี และต้องจัดให้มีการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการเงินการบัญชีและการพัสดุของสถาบัน ตลอดจนรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการทราบอย่างน้อยปีละครั้ง ในการตรวจสอบภายในให้มีผู้ปฏิบัติงานของสถาบันทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบภายในโดยเฉพาะ และให้รับผิดชอบขึ้นตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด ในการแต่งตั้ง โยกย้าย เลื่อนเงินเดือน เลื่อนตำแหน่ง และลงโทษทางวินัยของผู้ตรวจสอบภายในให้ผู้อำนวยการและคณะกรรมการตรวจสอบพิจารณาร่วมกันแล้วเสนอให้คณะกรรมการให้ความเห็นชอบก่อนจึงดำเนินการได้

          15. กำหนดบทเฉพาะกาลให้บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งใดที่ออก ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) .. 2554 และใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อพระราชกฤษฎีกานี้ จนกว่าจะมีระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามพระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งปีนับ แต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 7 กันยายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A9225

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!