หมวดหมู่: CHINA

1aaaAอัตลักษณ์ของจีน


ความคิดอันลึกซึ้งของปธน.สี จิ้นผิงด้านสิทธิมนุษยชนจีน : หนทางแห่งการพัฒนาสิทธิมนุษยชนที่มีอัตลักษณ์ของจีน

      ควบคู่ไปกับสังคมนิยมแบบอัตลักษณ์จีนย่างเข้าสู่ยุคใหม่ ภารกิจสิทธิมนุษยชนของจีนก็เข้าสู่ยุคใหม่เช่นกัน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนได้ส่งสารแสดงความยินดีถึง ‘ฟอรั่มสิทธิมนุษยชนปักกิ่ง 2015’  ‘ฟอรั่มนานาชาติเพื่อรำลึกการผ่าน ‘ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิในการพัฒนา’ ครบรอบ 30 ปี ‘ฟอรั่มสิทธิมนุษยชนใต้-ใต้ ครั้งแรก’ และ ‘การประชุมสัมมนาเพื่อระลึกการออก’ ‘ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน’ ครบรอบ 70 ปี’ ตามลำดับ ไม่เพียงแต่สะท้อนถึงการให้ความสำคัญอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนของปธน.สี จิ้นผิงที่มีต่อภารกิจสิทธิมนุษยชนเท่านั้น หากยังเป็นการบ่งบอกอย่างรวมศูนย์ถึงความคิดอันลึกซึ้งของชาวคอมมิวนิสต์จีนเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในประเทศจีน การรับรู้แนวคิดด้านสิทธิมนุษยชนของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในยุคใหม่นั้น ย่อมมีความหมายสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำความเข้าใจจีนร่วมสมัยให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น 

         พรรคคอมมิวนิสต์จีนนำพาประชาชนจีนประสบความสำเร็จในการเดินบนหนทางการพัฒนาสิทธิมนุษยชนที่สอดคล้องกับสภาพเงื่อนไขของประเทศชาติ

         หนทางกำหนดชะตากรรม หนึ่งในประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จของพรรคคอมมิวนิสต์จีน คือ ในภาคปฏิบัติอันยิ่งใหญ่ในการเป็นผู้นำการปฏิวัติ การสร้างสรรค์ หรือการปฏิรูปและเปิดประเทศ พรรคคอมมิวนิสต์จีนต่างมุ่งมั่นที่จะค้นหาและบุกเบิกหนทางที่ถูกต้องและสอดคล้องกับสภาพประเทศของจีน ในด้านสิทธิมนุษยชนก็เช่นกัน

           ในสารแสดงความยินดีเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชนนั้น สี จิ้นผิงได้ให้ข้อสรุปอันสำคัญที่ว่า ‘ได้ค้นพบหนทางการพัฒนาสิทธิมนุษยชนที่มีอัตลักษณ์ของจีน’ ซึ่งถือเป็นไฮไลท์มากที่สุดของสารแสดงความยินดี

         หนทางการพัฒนาสิทธิมนุษยชนที่มีอัตลักษณ์ของจีนเป็นอย่างไร? สารแสดงความยินดีของ สี จิ้นผิงเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชนได้ชี้ให้เห็นทิศทางอย่างชัดเจนสำหรับผู้คนศึกษาและทำความเข้าใจสาระสำคัญของหนทางนี้

         หนทางนี้ยืนหยัดที่จะหลอมรวมหลักการทั่วไปด้านสิทธิมนุษยชนกับสภาพความเป็นจริงของจีนเข้าด้วยกัน พรรคคอมมิวนิสต์จีนไม่เคยปฏิเสธว่าสิทธิมนุษยชนเป็นหลักการทั่วไปที่สังคมมนุษยชาติต้องร่วมกันปฏิบัติตาม ปธน.สี จิ้นผิงกล่าวว่า ‘การบรรลุการมีสิทธิมนุษยชนอย่างเต็มที่ของประชาชนเป็นเป้าหมายการต่อสู้ร่วมกันของสังคมมนุษ’ ‘ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน’ เป็นเอกสารที่มีความหมายสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การพัฒนาอารยธรรมแห่งมนุษยชาติ ซึ่งมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อการพัฒนาสิทธิมนุษยชนของโลก’

         ขณะเดียวกัน สี จิ้นผิงยังได้เน้นย้ำว่า ‘สิทธิมนุษยชนจำต้องขับเคลื่อนตามสภาพเงื่อนไขและความต้องการของประชาชนของแต่ละประเทศเท่านั้น’ จีนยืนหยัดมาตลอดที่จะ ‘เดินบนหนทางการพัฒนาสิทธิมนุษยชนที่สอดคล้องกับสภาพประเทศของตน’ นี่คือประสบการณ์พื้นฐานของจีนและเป็นหลักการพื้นฐานของหนทางสิทธิมนุษยชนที่มีอัตลักษณ์ของจีน

         หนทางนี้ยึดแนวคิดการพัฒนาที่ถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง สิทธิมนุษยชนในฐานะที่เป็นสิทธิแห่งความเป็นคนของมนุษย์หาใช่สิทธิของมนุษย์ที่เป็นนามธรรม แต่เป็นสิทธิของมนุษย์ในโลกแห่งความเป็นจริง หาใช่สิทธิของคนส่วนน้อย แต่เป็นสิทธิของประชาชนทั้งมวล ยิ่งไม่ใช่สิทธิที่ใช้ลงโทษผู้อื่นในนามการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน แต่เป็นสิทธิที่สามารถให้ประชาชนทุกคนมีความสุขถ้วนหน้า พรรคคอมมิวนิสต์จีนยึดมั่นแนวคิดสิทธิมนุษยชนที่ ‘ถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง’ มาโดยตลอด และถือการเพิ่มพูนความสุขแก่ประชาชน การประกันให้ประชาชนเป็นเจ้าของประเทศ และการส่งเสริมการพัฒนารอบด้านของปัจเจกบุคคลเป็นจุดเริ่มต้นและเป้าหมายแห่งการพัฒนา

         ด้วยเหตุนี้ จึงได้ใช้ความพยายามส่งเสริมการพัฒนาอย่างครอบคลุมและประสานกันทั้งด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิทธิพลเมืองและการเมือง ตลอดจนพิทักษ์ความเป็นธรรมและความเที่ยงตรงทางสังคม และเสริมสร้างการคุ้มครองตามกฎหมายในด้านสิทธิมนุษยชน

         หนทางนี้ยืนหยัดถือสิทธิในการดำรงชีพและสิทธิในการพัฒนาเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานลำดับแรก ในสารแสดงความยินดีถึง "ฟอรั่มนานาชาติเพื่อรำลึกการผ่าน ‘ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิในการพัฒนา’ ครบรอบ 30 ปี’ สี จิ้นผิงชี้ให้เห็นอย่างลึกซึ้งว่า ‘การพัฒนาเป็นหัวข้อนิรันดร์ของสังคมมนุษย์ ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิในการพัฒนาของสหประชาชาติยืนยันว่า สิทธิในการพัฒนาเป็นสิทธิมนุษยชนที่ไม่อาจลิดรอนได้ ในฐานะประเทศกำลังพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีประชากรมากกว่า 1,300 ล้านคน การพัฒนาถือเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหาทั้งหมดของจีน ทั้งยังเป็นภารกิจสำคัญลำดับแรกในการใช้อำนาจปกครองและพัฒนาประเทศชาติของพรรคคอมมิวนิสต์จีนอีกด้วย

         จีนยืนหยัดที่หลอมรวมหลักการทั่วไปด้านสิทธิมนุษยชนเข้ากับสภาพความเป็นจริงของประเทศตนเอง และยืนหยัดที่จะถือสิทธิในการดำรงชีวิตและสิทธิในการพัฒนาเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานลำดับแรก’ ลักษณะพิเศษของ ‘สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน’ อยู่ที่ ‘ความเป็นพื้นฐาน’ ไม่เพียงแต่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในการดำรงอยู่ของมนุษย์ในโลกแห่งความเป็นจริง รวมถึงชีวิตและศักดิ์ศรีของมนุษย์เท่านั้น แต่ยังเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในการประสานงานและส่งเสริมสิทธิทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมของประชาชนทุกคน ตลอดจนการใช้ความพยายามเพื่อพิทักษ์ความเป็นธรรมและความเที่ยงตรงของสังคม และการส่งเสริมการพัฒนารอบด้านของปัจเจกบุคคลอีกด้วย

         หนทางนี้ยืนหยัดถือการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขของประชาชนเป็นสิทธิมนุษยชนที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในสารแสดงความยินดีที่ส่งถึง ‘การประชุมสัมมนาเพื่อระลึกการออก ‘ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน’ ครบรอบ 70 ปี’ สี จิ้นผิงชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ‘ชีวิตที่มีความสุขของประชาชนคือสิทธิมนุษยชนที่ยิ่งใหญ่ที่สุด’ ‘สิทธิมนุษยชนที่ยิ่งใหญ่ที่สุด’ กับ ‘สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน’ มีความเชื่อมโยงกัน และสูงกว่า ‘สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน’ ข้อสรุปนี้มีความหมายเชิงบุกเบิกในประวัติศาสตร์การพัฒนาแนวคิดด้านสิทธิมนุษยชนแห่งโลก พรรคคอมมิวนิสต์จีนยึดแนวคิดสิทธิมนุษยชนเช่นนี้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาภารกิจสิทธิมนุษยชนของจีนอย่างจริงจังเพื่อสร้างความผาสุกแก่ประชาชน

         ในสารแสดงความยินดีถึง "ฟอรั่มนานาชาติเพื่อรำลึกการผ่าน 'ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิในการพัฒนา' ครบรอบ 30 ปี" สี จิ้นผิงชี้ให้เห็นว่า "ในปัจจุบัน ประชาชนจีนกำลังใช้ความพยายามเพื่อบรรลุเป้าหมายการฟันฝ่าต่อสู้ '100 ปี 2 ประการ' และเพื่อบรรลุความฝันจีนที่จะฟื้นฟูความเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งใหญ่ของประชาชาติจีน ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนจีนจะมีความสุขมากยิ่งขึ้น สิทธิของประชาชนจีนจะได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มที่ยิ่งขึ้น จีนจะสร้างคุณูปการมากยิ่งขึ้นในการพัฒนาและความก้าวหน้าของมนุษยชาติ"

         หนทางนี้มีการถกเถียงกันว่าการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนนั้นไม่มี'ดีที่สุด'มีแต่ 'ดียิ่งขึ้น' ซึ่งตามแนวคิดวัตถุนิยมและวิภาษวิธี  สิ่งต่างๆล้วนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ภาคปฏิบัตินั้นลึกซึ้งขึ้นอย่างต่อเนื่อง และความเข้าใจกฎต่างๆของผู้คนก็ลึกซึ้งยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

         สำหรับประเด็นสิทธิมนุษยชนนั้น ไม่ว่าผู้คนจะมีความยินดีหรือไม่ก็ตาม ภารกิจสิทธิมนุษยชนจะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของผู้คนก็ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน จาก ‘ปฏิญญาสิทธิมนุษยชน’ ที่ประกาศใช้ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส สู่ ‘ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน’ ที่องค์การสหประชาชาติให้การรับรองภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงการถือกำเนิดขึ้นของเอกสารด้านสิทธิมนุษยชนฉบับแล้วฉบับเล่าหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประวัติศาสตร์แห่งการพัฒนาสิทธิมนุษยชนของโลกได้พิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า "การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนไม่มี 'ดีที่สุด' มีแต่ 'ดียิ่งขึ้น' ‘ตามที่สี จิ้นผิงได้ชี้ให้เห็นนั้นเป็นความเข้าใจตามกฎ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่มีความหมายโดยทั่วไป ขณะเดียวกันยังเป็นหลักอ้างอิงทางความคิดที่สำคัญที่หนทางสิทธิมนุษยชนที่มีอัตลักษณ์ของจีนเกิดขึ้นในภาคปฏิบัติและได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องท่ามกลางภาคปฏิบัติ

         จากที่กล่าวมาข้างต้นเห็นได้ว่า หนทางการพัฒนาสิทธิมนุษยชนที่มีอัตลักษณ์ของจีนตามที่ปธน.สี จิ้นผิงอรรถาธิบาย ซึ่งรวมถึงแนวคิดสิทธิมนุษยชนที่มีเอกลักษณ์ของจีนด้วยนั้น เป็นส่วนประกอบสำคัญของความคิดสี จิ้นผิงว่าด้วยสังคมนิยมที่มีอัตลักษณ์ของจีนในยุคใหม่และเป็นแนวทางชี้นำปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาภารกิจต่างๆ ของจีน

https://www.facebook.com/ChinafacecriThai/photos/pcb.3401059926787331/3401059806787343/

 

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!