หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV1 copy


ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ของคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา

          คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ของคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป

          เรื่องเดิม

          1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา (สว.) ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษาเรื่อง ปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ของคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภามาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ มีข้อเสนอแนะรวม 2 ประเด็น ได้แก่ (1) การดำเนินการแก้ไขปัญหาในระยะเร่งด่วนและในช่วงวิกฤตของทุกปี (ธันวาคม - กุมภาพันธ์) เช่น การนำน้ำมันดีเซลเกรดปกติที่มีกำมะถันไม่เกิน 10 ppm มาใช้ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลให้มากที่สุด การขยายพื้นที่และเวลาในการจำกัดรถบรรทุกขนาดใหญ่ตั้งแต่ 6 ล้อ ขึ้นไปที่ใช้น้ำมันดีเซลไม่ให้เข้ามาภายในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นต้น และ (2) มาตรการระยะยาว เช่น มาตรการลดการเกิดและปล่อยฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) จากแหล่งกำเนิดต่างๆ การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการมลพิษอากาศ เป็นต้น

          2. รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ ทส. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานและข้อสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

          ข้อเท็จจริง

          ทส. ได้รวบรวมผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษาและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามข้อ 2 แล้ว มีความเห็นว่ารายงานและข้อเสนอแนะดังกล่าวส่วนใหญ่มีความเหมาะสมในหลักการและเป็นการศึกษาที่มีความครอบคลุมในหลายมิติ และจะเป็นประโยชน์ในการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยสรุปผลการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว ดังนี้

 

ข้อเสนอแนะของกรรมาธิการฯ

 

ผลการพิจารณา

1. การดำเนินการแก้ไขปัญหาในระยะเร่งด่วนและในช่วงวิกฤตของทุกปี (ธันวาคม - กุมภาพันธ์เช่น ต้องนำน้ำมันดีเซลเกรดปกติที่มีกำมะถันไม่เกิน 10 ppm มาใช้ในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล ขยายพื้นที่และเวลาในการจำกัดรถบรรทุกขนาดใหญ่ตั้งแต่ 6 ล้อ ขึ้นไป ที่ใช้น้ำมันดีเซล ไม่ให้เข้ามาภายในเขตพื้นที่ กทม. และปริมณฑล เป็นต้น

 

เนื่องจากการนำน้ำมันยูโร 5 ไปจำหน่ายในสถานีน้ำมันจำเป็นต้องมีระบบการจัดเก็บและการขนส่งน้ำมันที่แยกออกมาโดยเฉพาะจากระบบการขนส่งน้ำมันตามปกติ จึงมีผู้ค้าน้ำมันเพียงบางรายเท่านั้นที่มีศักยภาพในการดำเนินการดังกล่าว ดังนั้น การนำน้ำมันยูโรไปจำหน่ายในพื้นที่ กทม. และปริมณฑลในช่วงวิกฤติ ควรดำเนินการโดยขอความร่วมมือจากผู้ค้าน้ำมัน

2. มาตรการระยะยาว

     2.1 มาตรการลดการเกิดและปล่อยฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) จากแหล่งกำเนิด การคมนาคมขนส่งทางถนน การเผาชีวมวลในที่โล่งและภาคอุตสาหกรรม

     2.2 การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ

มลพิษอากาศ

 

1. มาตรการลดการเกิดและปล่อยฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) จากแหล่งกำเนิด

     1.1 การคมนาคมขนส่งทางถนน

          (1) กระทรวงพลังงาน (พน.) ได้ประกาศปรับลดปริมาณกำมะถันในน้ำมันดีเซลหมุนเร็วและน้ำมันกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอล์จากไม่เกิน 50 ส่วนในล้านส่วน เป็นไม่เกิน 10 ส่วนในล้านส่วน โดยประกาศดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่.. 2567 เป็นต้นไป

          (2) จะได้เร่งรัดให้มีการออกกฎหมายกำหนดมาตรฐานการระบายมลพิษสำหรับยานพาหนะต่างแดนที่จะเดินทางเข้ามาในประเทศต่อไป

          (3) สำหรับการปรับปรุงเครื่องมือและวิธีการตรวจวัดควันดำที่ใช้ในการตรวจสภาพด้านมลพิษประจำปีสำหรับรถที่ใช้น้ำมันดีเซล นั้น คค.เห็นว่าการตรวจวัดควันดำแบบทึบแสงโดยวิธีการตรวจวัดควันดำแบบแสงไหลผ่านบางส่วน เป็นวิธีการที่เหมาะสมแล้ว

          (4) เนื่องจากรถที่ใช้งานบนท้องถนนมีการเสื่อมสภาพตามระยะเวลาการใช้งาน ประกอบกับมีการดัดแปลงสภาพรถ เป็นเหตุให้รถมีความไม่ปลอดภัยในการใช้งาน เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้งปล่อยมลพิษทางอากาศและทางเสียงเกินกว่าเกณฑ์ที่ราชการกำหนด จึงสมควรมีการลดเกณฑ์อายุรถที่จะต้องผ่านการตรวจสภาพด้านมลพิษก่อนการเสียภาษีและต่อทะเบียนประจำปี

        (5) ตช. ได้ดำเนินการเพิ่มความเข้มข้นในการบังคับใช้กฎหมายโดยเคร่งครัดกับรถยนต์ที่ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะทางอากาศและเสียงแล้ว

     1.2 การเผาชีวมวลในที่โล่ง

          (1) ได้มีการดำเนินการตามมาตรการต่างๆ ที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” .. 2562-2567 และข้อเสนอแนะของ กมธอย่างจริงจัง เพื่อจะนำไปสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5ในเขต กทม. และปริมณฑล ให้มีประสิทธิผลและประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้น

     1.3 ภาคอุตสาหกรรม

          (1) ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีการติดตั้งระบบบำบัดมลพิษทางอากาศ ซึ่งสามารถกำจัดสารเจือปนในอากาศประเภทก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ระบายออกจากโรงงานอุตสาหกรรมอยู่แล้วรวมทั้งได้มีการดำเนินการให้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 10 เป็นน้ำมันชนิดพื้นฐานของประเทศไทยแล้วและให้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 เป็นน้ำมันชนิดทางเลือก

          (2) ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดมลพิษทางอากาศ คือ การเติบโตของเมืองอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาเซียนได้ริเริ่มจัดตั้งเครีอข่ายเมืองอัจฉริยะอาเซียนขึ้น เพื่อเป็นเวทีส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเมืองของอาเซียนด้วยแล้ว

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 11 พฤษภาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A5397

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!