หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV3รายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2563 และรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2562 ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเสนอรายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2563 และรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2562 ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ .. 2545 มาตรา 18 (12) และมาตรา 43 ที่บัญญัติให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจัดทำรายงานเกี่ยวกับผลงานและอุปสรรคในการดำเนินงานแล้วรายงานต่อคณะรัฐมนตรีเป็นประจำทุกปี ภายในหกเดือนนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ และเสนองบดุลและรายงานการรับจ่ายเงินของกองทุนในปีที่ล่วงมา ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบรับรองแล้วต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ โดยรายงานดังกล่าวสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

          1. รายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ .. 2563 (ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในคราวประชุม ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564) มีผลการดำเนินงานสรุปได้ ดังนี้

 

ประเด็น

 

สาระสำคัญ

1) การเบิกจ่ายงบประมาณ

 

มีการเบิกจ่ายงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับหน่วยบริการที่จัดบริการให้ผู้มีสิทธิ จำนวน 140,369.81 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 99.88 (จากงบประมาณ 140,533.42 ล้านบาท)

2) ความครอบคลุมสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

 

ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติลงทะเบียนสิทธิเลือกหน่วยบริการประจำตนได้ จำนวน 47.60 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 99.85 (จากเป้าหมาย 47.68 ล้านคน) ครอบคลุมสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

3) หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

 

มีหน่วยบริการขึ้นทะเบียนให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 12,245 แห่ง ได้แก่ การขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิ จำนวน 11,851 แห่ง หน่วยบริการประจำ จำนวน 1,386 แห่ง และหน่วยบริการรับส่งต่อ จำนวน 1,076 แห่ง (หน่วยบริการหนึ่งแห่งสามารถขึ้นทะเบียนได้มากกว่าหนึ่งประเภท)

4) ผลงานบริการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร

 

มีการให้บริการตามสิทธิประโยชน์ ประกอบด้วย 1) บริการพื้นฐานในงบเหมาจ่ายรายหัว เช่น บริการสุขภาพทั่วไป โดยในส่วนของการใช้บริการผู้ป่วยนอกและการใช้บริการผู้ป่วยในมีผลงานต่ำกว่าเป้าหมาย เนื่องจากช่วงเดือนมีนาคม - มิถุนายน 2563 รัฐบาลประกาศมาตรการเว้นระยะทางสังคมจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค บริการแพทย์แผนไทย ยาและเวชภัณฑ์ และ 2) บริการเฉพาะกลุ่ม (นอกงบเหมาจ่ายรายหัว) เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีผลงานการใช้บริการสูงกว่าเป้าหมาย ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง และผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง มีผลงานการใช้บริการต่ำกว่าเป้าหมาย เป็นต้น

5) คุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข

 

1) หน่วยบริการรับส่งต่อได้รับการรับรองตามกระบวนการรับรองคุณภาพของโรงพยาบาลระดับ HA: Hospital Accreditation 921 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 85.28 (จากหน่วยบริการที่รับการประเมิน 1,080 แห่ง) 2) ผลการดำเนินงานตัวชี้วัดตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการ ปี 2563 เช่น ประชากรไทย อายุ 35 - 74 ปี ทุกสิทธิ ที่ได้รับการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิตสูง และหญิงมีครรภ์ทุกสิทธิที่ฝากครรภ์ครั้งแรกภายใน 12 สัปดาห์ เพิ่มขึ้นจากปี 2562 และ 3) ประชาชนพึงพอใจต่อการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในระดับมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 97.64 ผู้ให้บริการ ร้อยละ 83.45 และองค์กรภาคี ร้อยละ 96.41

6) การคุ้มครองสิทธิ

 

1) มีประชาชนและผู้ให้บริการสอบถามข้อมูล ร้องเรียน ร้องทุกข์ และประสานส่งต่อผู้ป่วยผ่านช่องทางต่างๆ จำนวน 995,571 เรื่อง 2) ผู้รับบริการยื่นคำร้องช่วยเหลือเบื้องต้น จำนวน 1,079 คน ได้รับการชดเชย 903 คน รวม 213.96 ล้านบาท ผู้ให้บริการยื่นคำร้อง 590 คน ได้รับการชดเชย 528 คน รวม 6.25 ล้านบาท และ 3) มีศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ เพื่อคุ้มครองสิทธิ จำนวน 885 แห่ง (ใน 77 จังหวัด) ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน จำนวน 187 แห่ง (ใน 77 จังหวัด) และหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระ จากผู้ถูกร้องเรียน ตามมาตรา 50 (5) จำนวน 125 แห่ง (ใน 70 จังหวัด)

7) การมีส่วนร่วมพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

 

มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 7,732 แห่ง (จาก 7,775 แห่ง) รวมกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา) เข้าร่วมบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเพื่อจัดกิจกรรมสำหรับดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่ วงเงิน 3,826 ล้านบาท ประกอบด้วย งบจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2,146 ล้านบาท (ร้อยละ 56.09) เงินสมทบจาก อปท. 1,650 ล้านบาท (ร้อยละ 43.13) และเงินสมทบจากชุมชนและอื่นๆ 30 ล้านบาท (ร้อยละ 0.78)

8) ความท้าทายในการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

 

1) ผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงจากการระบาดของโรคโควิด-19 2) การปรับตัวอย่างรวดเร็วและการนำนวัตกรรมมาปรับใช้อย่างเหมาะสม คุ้มค่า รวดเร็ว ในภาวะปกติและสถานการณ์การระบาดของโรค 3) ข้อจำกัดด้านงบประมาณในการบริหารจัดการกองทุน หากเศรษฐกิจถดถอยและชะลอตัว 4) การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบปฏิบัติการขนาดใหญ่ให้มีข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 5) การเพิ่มความเข้มแข็งของระบบบริการสุขภาพชุมชนและระบบบริการปฐมภูมิขับเคลื่อนความเข้มแข็งรากฐานของระบบสาธารณสุขไทย และ 6) การบริหารระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้สอดรับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ สร้างโอกาสให้ทุกสิทธิได้รับความคุ้มครองหลักประกันด้านสุขภาพอย่างเสมอภาคและทั่วถึง และมีการบูรณาการสอดคล้องกลมกลืนกัน

 

          2. รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินของกองทุนฯ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2562 ซึ่งผ่านการรับรองจาก สตง. แล้วโดยเห็นว่า งบการเงินดังกล่าวถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด ทั้งนี้ ในส่วนของรายงานการเงินของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2563 อยู่ระหว่างเสนอ สตง. เพื่อตรวจสอบรับรอง

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 5 พฤษภาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A5124

COREHOON


******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!