หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV 6


มาตรการช่วยเหลือผลกระทบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ระลอกใหม่

          คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 อนุมัติงบประมาณวงเงินรวม 10,000 ล้านบาท จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อดำเนินมาตรการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป รับทราบมาตรการพักชำระหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และรับทราบรายงานมาตรการการคลัง มาตรการการเงิน และมาตรการอื่นๆ ที่ได้ ดำเนินการเพื่อดูแลและเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ

          สาระสำคัญ

          กระทรวงการคลังเสนอมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ ประกอบด้วยมาตรการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 มาตรการพักชำระหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และรายงานมาตรการการคลัง มาตรการการเงิน และมาตรการอื่นๆ ที่ได้ดำเนินการเพื่อดูแลและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

          1. มาตรการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19

                  1.1 วัตถุประสงค์: เพื่อเพิ่มสภาพคล่องชั่วคราวในการดำรงชีวิตให้แก่ประชาชนและบรรเทาความเดือดร้อนสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19

                  1.2 กลุ่มเป้าหมาย: ผู้มีรายได้ประจำ เช่น พนักงาน/ลูกจ้างหน่วยงานเอกชนที่มีเงินเดือนประจำ เป็นต้น ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น ผู้ประกอบการรายย่อย พ่อค้า แม่ค้า หาบเร่แผงลอย เป็นต้น และเกษตรกรรายย่อยหรือลูกจ้างภาคการเกษตรที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินฉุกเฉิน

                  1.3 วิธีดำเนินงาน: ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (...) สนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 20,000 ล้านบาท (ธนาคารออมสิน และ ... แห่งละ 10,000 ล้านบาท) คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) ไม่เกินร้อยละ 0.35 ต่อเดือน ระยะเวลากู้ไม่เกิน 3 ปี (ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 งวดแรก) ทั้งนี้ ให้ธนาคารออมสินและ ... พิจารณาจัดลำดับความสำคัญของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่มากไปหาน้อย เพื่อดูแลลูกหนี้ในแต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสม

                  1.4 ระยะเวลาดำเนินงาน: ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564

                  1.5 งบประมาณ: รัฐบาลชดเชยความเสียหายที่เกิดจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans: NPLs) ร้อยละ 100 สำหรับ NPLs ที่ไม่เกินร้อยละ 50 ของสินเชื่อที่อนุมัติทั้งหมด 20,000 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 10,000 ล้านบาท (20,000 ล้านบาท* ร้อยละ 50* ร้อยละ 100)

          ทั้งนี้ ประกาศคณะกรรมการฯ เรื่อง กำหนดอัตราชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ของหน่วยงานของรัฐในการดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 28 .. 2561 แห่ง ... วินัยการเงินการคลังฯ ได้กำหนดอัตรายอดคงค้างรวมทั้งหมดของภาระที่รัฐต้องรับชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ในการดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 28 แห่ง ... วินัยการเงินการคลังฯ ต้องมียอดคงค้างทั้งหมดรวมกันไม่เกินร้อยละ 30 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี โดย สิ้นวันที่ 30 เมษายน 2564 ภาระที่รัฐต้องรับชดเชยตามมาตรา 28 แห่ง ... วินัยการเงินการคลังฯ มียอดคงค้างจำนวน 953,223.572 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 29.01 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ .. 2564 (วงเงิน 3,285,962.4797 ล้านบาท) ดังนั้น หากมีการดำเนินมาตรการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 จำนวน 10,000 ล้านบาท จะส่งผลให้ภาระที่รัฐต้องรับชดเชย ซึ่งเมื่อรวมโครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีด้วยแล้ว จะมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 973,962.339 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 29.64 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ .. 2564 ซึ่งยังคงไม่เกินอัตราร้อยละ 30 ที่คณะกรรมการฯ ได้ประกาศกไหนดไว้

          2. มาตรการพักชำระหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ

          การระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ทำให้ประชาชนและผู้ประกอบการที่มีความเปราะบางทางการเงินมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ประกอบกับมาตรการควบคุมโรคของภาครัฐอาจส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชนและส่งผลให้ผู้ประกอบการไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้หรือดำเนินธุรกิจได้อย่างไม่เต็มศักยภาพ จึงมีความจำเป็นในการช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการกลุ่มดังกล่าวเพิ่มเติม เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ โดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (Specialized Financial Institutions : SFIs) ช่วยเหลือลูกหนี้เป็นรายกรณีผ่านการปรับโครงสร้างหนี้หรือพักชำระหนี้ตามข้อตกลงระหว่างสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันอาจไม่เพียงพอ สาเหตุมาจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 มีความรุนแรงและยืดเยื้อมากกว่าในปีที่ผ่านมา

          กระทรวงการคลังจึงมอบหมายให้ SFIs พิจารณาขยายระยะเวลามาตรการพักชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ตามความสมัครใจ โดยการพักชำระเงินต้นเพื่อลดภาระการชำระหนี้เป็นการชั่วคราวให้แก่ลูกหนี้ หรือเพื่อนำเงินงวดที่จะต้องชำระหนี้ไปเป็นสภาพคล่องในการดำเนินชีวิตประจำวันหรือเพื่อการประกอบธุรกิจในช่วงที่มีความไม่แน่นอนสูง โดยวิธีการชำระหนี้ที่พักชำระไว้ดังกล่าวจะต้องไม่เพิ่มภาระให้แก่ลูกหนี้มากจนเกินควรเพื่อพิจารณาอัตราดอกเบี้ยตลอดระยะเวลาสัญญาเงินกู้ ซึ่งรวมถึงดอกเบี้ยกรณีที่ SFIs ได้พิจารณาพักชำระไว้ด้วย นอกจากนี้ ให้ SFIs พิจารณาจัดลำดับความสำคัญของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่มากไปหาน้อย เพื่อดูแลลูกหนี้ในแต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงประโยชน์ของลูกหนี้เป็นสำคัญ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะพิจารณาแนวทางในการช่วยเหลือ SFIs ตามความจำเป็นและเหมาะสมในนกรณีที่การดำเนินการดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องหรือฐานะทางการเงินของ SFIs

          3. รายงานมาตรการการคลัง มาตรการการเงิน และมาตรการอื่นๆ ที่ได้ดำเนินการเพื่อดูแลและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 

                  3.1 มาตรการการคลัง

                          1) มาตรการเยียวยาเพื่อช่วยเหลือด้วยการลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชนภายใต้โครงการเราชนะ

                          โครงการเราชนะมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือด้วยการลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 โดยจะสนับสนุนวงเงินเพื่อช่วยเหลือจำนวนไม่เกิน 3,500 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 2 เดือน (สำหรับเดือนมกราคม - เดือนกุมภาพันธ์ 2564) ตามช่องทางการจ่ายวงเงินที่กำหนด ทั้งนี้ วันที่ 30 เมษายน 2564 มีผู้ได้รับสิทธิ์ตามโครงการเราชนะแล้วจำนวนประมาณ 33.2 ล้านคน โดยแบ่งเป็นกลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 13.7 ล้านคน กลุ่มผู้มีแอปพลิเคชันเป๋าตังจำนวน 8.3 ล้านคน กลุ่มผู้ลงทะเบียนใหม่ จำนวน 8.7 ล้านคน กลุ่มผู้ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ จำนวน 2.4 ล้านคน และกลุ่มผู้ยื่นขอทบทวนสิทธิ์และผ่านเกณฑ์การทบทวนสิทธิ์ จำนวน 7.0 หมื่นคน โดยมีผู้ได้รับสิทธิ์ตามโครงการเราชนะที่ใช้จ่ายจนครบวงเงินสิทธิ์แล้ว จำนวนกว่า 24.5 ล้านคน ทั้งนี้ การใช้จ่ายวงเงินสนับสนุนภายใต้โครงการเราชนะ คิดเป็นมูลค่าการใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยแล้วกว่า 203,295 ล้านบาท ผ่านผู้ประกอบการร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นที่มีแอปพลิเคชันถุงเงินร้านค้าคนละครึ่งที่ตกลงยินยอมเข้าร่วมโครงการเราชนะ และผู้ประกอบการร้านค้าและผู้ให้บริการที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการเราชนะจำนวนทั้งสิ้นกว่า 1.3 ล้านกิจการ

                          ทั้งนี้ วงเงินสนับสนุนที่ได้รับตามโครงการเราชนะสามารถสะสมเพื่อใช้จ่ายได้จนถถึงสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ โดยคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564 ได้มีมติขยายระยะเวลาโครงการเราชนะ โดยสามารถใช้จ่ายได้จากเดิมที่สิ้นสุดวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 เป็นวันที่ 30 มิถุนายน 2564

                          2) มาตรการภาษี

                                  2.1) มาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับปีภาษี 2564 

                                  กระทรวงการคลังได้เสนอมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อประชาชนและผู้ประกอบการที่เป็นผู้เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เนื่องจากไม่สามารถประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ตามปกติอันเนื่องมาจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยให้ลดภาษีในอัตราร้อยละ 90 ของจำนวนภาษีที่คำนวณได้สำหรับการจัดเก็บภาษีของปีภาษี .. 2564 ทั้งนี้ เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาลดภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภท (ฉบับที่ 2) .. 2564 ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2564

                                  2.2) การขยายกำหนดเวลาดำเนินการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประจำปี 2564

                                  กระทรวงมหาดไทยได้ขยายระยะเวลาดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำหรับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจำปี .. 2564 เป็นการทั่วไปออกไปอีก 2 เดือน ซึ่งมีผลที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียภาษีใน 2 ส่วน ได้แก่ (1) ขยายกำหนดเวลาการชำระภาษี จากเดิม ภายในเดือนเมษายน 2564 เป็นภายในเดือนมิถุนายน 2564 และ (2) ขยายกำหนดระยะเวลาในการผ่อนชำระภาษี 3 งวด จากเดิมผ่อนชำระได้ระหว่างเดือนเมษายน - มิถุนายน 2564 เป็นระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม 2564

                                  2.3) มาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัย

                                  กระทรวงการคลังได้เสนอมาตรการเพื่อสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยใหม่เป็นของตนเอง รวมถึงช่วยรักษาระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเชื่อมโยงกับการจ้างงานและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับภาคอสังหาริมทรัพย์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยให้ลดค่าธรรมเนียมการโอนจากร้อยละ 1 ลงเหลือร้อยละ 0.01 และลดค่าธรรมเนียมการจำนองจากร้อยละ 1 ลงเหลือร้อยละ 0.01 (เฉพาะการโอนและจดจำนองในคราวเดียวกัน) สำหรับที่อยู่อาศัยใหม่ ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อหน่วย ซึ่งครอบคลุมบ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว อาคารพาณิชย์ และห้องชุด ที่ซื้อจากผู้ประกอบการ ตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ - 31 ธันวาคม 2564 ทั้งนี้ เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน กรณีอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นที่ดินพร้อมอาคาร ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดและประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด กรณีห้องชุด ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564

                                  2.4) การขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

                                  มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยกระทรวงการคลังได้ออกประกาศ เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการและชำระภาษีให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปีภาษี .. 2563 เพื่อขยายระยะเวลาการยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับแบบแสดงรายการภาษี ... 90 และ ... 91 ของปีภาษี 2563 ที่ยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจากเดิมภายในเดือนมีนาคม 2564 ออกไปเป็นภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ซึ่งจะช่วยให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีระบบผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นประมาณ 10,600 ล้านบาท โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล

                                  2.5) มาตรการเลื่อนเวลาการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล

                                  มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการและผู้ทำบัญชีที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ที่มีความรุนแรงและครอบคลุมทั่วประเทศ และสนับสนุนการทำธุรกรรมภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงช่วยลดความแออัดและความเสี่ยงจาก COVID-19 อีกทั้งช่วยเพิ่มสภาพคล่องในมือผู้ประกอบการให้มีมากขึ้นและนานขึ้น โดยกระทรวงการคลังได้ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการและชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 3) และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นรายการและชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 4) เพื่อขยายเวลาการยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลรอบระยะเวลาบัญชีปี 2563 จากเดิมที่ต้องยื่นภายในเดือนพฤษภาคม 2564 ถึงเดือนมิถุนายน 2564 ให้ขยายออกไปเป็นภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นประมาณ 14,200 ล้านบาท โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล

                                  2.6) มาตรการขยายเวลาลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเครื่องบิน

                                  กระทรวงการคลังได้ขยายเวลาการลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินไอพ่นที่นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับอากาศยานภายในประเทศ จากเดิมอัตรา 4.726 บาทต่อลิตร เป็น 0.20 บาทต่อลิตร ออกไปจนถึงวันที่  31 ธันวาคม 2564 เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังคงส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวและสายการบินอย่างต่อเนื่อง เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและสายการบิน

                                  2.7) มาตรการยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้รักษา วินิจฉัย หรือป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 

                                  กระทรวงการคลังได้ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรศุลกากรสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้รักษา วินิจฉัย หรือป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว และเพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศและความผาสุกของประชาชน โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 - 31 มีนาคม 2565 ซึ่งจะยกเว้นอากรตามรายการที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวเป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นอากรให้ต่อเนื่องจากมาตรการเดิมซึ่งสิ้นสุดระยะเวลาการบังคับใช้ไปเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 อนึ่ง กระทรวงสาธารณสุขอยู่ระหว่างการออกประกาศเพื่อกำหนดรายการของที่ได้รับยกเว้นอากรตามประกาศดังกล่าว

                  3.2 มาตรการการเงิน

                          1) พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (... ฟื้นฟูฯ) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดกลไกการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 โดยมีสาระสำคัญประกอบด้วย 2 มาตรการ ดังนี้

                                  1.1) มาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ (มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู) วงเงิน 250,000 ล้านบาท

                                  มาตรการสินเชื่อฟื้นฟูกำหนดกลไกการช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ให้เข้าถึงสินเชื่อในอัตราที่เหมาะสมผ่านกลไกการลดความเสี่ยงด้านเครดิตของภาครัฐ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจกลุ่มดังกล่าวสามารถประคับประคองธุรกิจและรักษาการจ้างงาน รวมทั้งปรับปรุงธุรกิจเพื่อให้สอดรับกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากการระบาดของ COVID-19 คลี่คลายลง

                                  ผู้ประกอบธุรกิจทั้งที่ไม่มีสินเชื่อและมีสินเชื่อกับสถาบันการเงินแต่ละแห่งไม่เกิน 500 ล้านบาท วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 สามารถยื่นขอสินเชื่อได้ไม่เกิน 20 ล้านบาท สำหรับลูกหนี้ที่ไม่มีสินเชื่อกับสถาบันการเงิน และไม่เกินร้อยละ 30 ของวงเงินสินเชื่อ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 หรือ 31 ธันวาคม 2562 แล้วแต่วงเงินใดจะสูงกว่าแต่ไม่เกิน 150 ล้านบาท ทั้งนี้ ... ฟื้นฟูฯ กำหนดให้สถาบันการเงินคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปีในช่วง 2 ปีแรกของสัญญา และเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี ในช่วง 5 ปีแรกที่สถาบันการเงินได้รับแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นอกจากนี้รัฐบาลจะจ่ายดอกเบี้ยแทนผู้ประกอบธุรกิจในระหว่าง 6 เดือนแรกของสัญญา นอกจากนี้ มาตรการสินเชื่อฟื้นฟูยังกำหนดให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกันสินเชื่อดังกล่าว เพื่อลดความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้ประกอบธุรกิจ โดยรับภาระชดเชยความเสียหายสูงสุดร้อยละ 40 ของวงเงินสินเชื่อทั้งหมดที่สถาบันการเงินปล่อยกู้ ค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อไม่เกินร้อยละ 1.75 ต่อปี และรัฐบาลชดเชยค่าธรรมเนียมดังกล่าวไม่เกินร้อยละ 3.5 ตลอดอายุสัญญา

                                  1.2) มาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ (มาตรการพักทรัพย์ พักหนี้) วงเงิน 100,000 ล้านบาท

                                  มาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ กำหนดกลไกในการช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่มีศักยภาพ แต่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID - 19 และต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการฟื้นตัว โดยสนับสนุนให้ผู้ประกอบธุรกิจไม่ต้องรับภาระต้นทุนทางการเงินเป็นการชั่วคราว และไม่ถูกบังคับให้ขายทรัพย์สินหลักประกันในราคาต่ำกว่าสภาพความเป็นจริง (Fire Sale) ให้แก่กลุ่มทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งมีโอกาสกลับมาดำเนินธุรกิจโดยใช้ทรัพย์สินหลักประกันเดิมได้หลังสถานการณ์การระบาดของ COVID - 19 คลี่คลายลง

                                  ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินอยู่แล้วก่อนวันที่ 1 มีนาคม 2564 ซึ่งมีทรัพย์สินเป็นหลักประกัน สามารถยื่นขอโอนทรัพย์สินหลักประกันชำระหนี้ในราคาที่ตกลงกับสถาบันการเงิน โดยผู้ประกอบธุรกิจหรือเจ้าของทรัพย์สินนั้นมีสิทธิเช่าทรัพย์สินเพื่อประกอบธุรกิจต่อไปและมีสิทธิซื้อทรัพย์สินนั้นคืนได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันโอนหรือระยะเวลาที่ ธปท. กำหนด หากมีการขยายระยะเวลามาตรการ ทั้งนี้ ราคาซื้อคืนต้องไม่สูงกว่าราคาที่รับโอนไว้รวมกับ Carrying Cost ไม่เกินร้อยละ 1 ต่อปี และค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทรัพย์สิน ทั้งนี้ หากผู้ประกอบธุรกิจเช่าสินทรัพย์เพื่อไปดำเนินธุรกิจ สถาบันการเงินต้องนำค่าเช่าดังกล่าวมาหักออกจากราคาซื้อคืนด้วย กลไกดังกล่าวจะเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถซื้อทรัพย์สินนั้นคืนจากสถาบันการเงินเพื่อประกอบธุรกิจในราคาที่ไม่สูงเกินไปเมื่อสถานการณ์คลี่คลายลง โดย ธปท. จะสนับสนุนแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำให้แก่สถาบันการเงินเพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจโดยการลดค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่สถาบันการเงินเรียกเก็บจากผู้ประกอบธุรกิจ

                          ทั้ง 2 มาตรการดังกล่าวข้างต้นมีระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี โดยคณะรัฐมนตรีสามารถขยายระยะเวลามาตรการออกไปได้อีก 1 ปี ในกรณีที่มีความจำเป็นและมีวงเงินเหลืออยู่ และคณะรัฐมนตรีสามารถอนุมัติให้เกลี่ยวงเงินระหว่างมาตรการได้ นอกจากนี้ ในการดำเนินมาตรการทั้ง 2 มาตรการ ผู้ประกอบธุรกิจ เจ้าของทรัพย์สินหลักประกัน สถาบันการเงิน และ บสย. จะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย ค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจำนอง การจดทะเบียนสัญญาหลักประกันธุรกิจ และค่าธรรมเนียมอันเนื่องมาจากการโอนทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ ผู้ประกอบธุรกิจที่สนใจสามารถขอเข้าร่วมโครงการดังกล่าวได้ที่สถาบันการเงินได้ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2564 เป็นต้นไป

                          2) มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของ COVID - 19 ระลอกใหม่

                          นอกจากโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 9 (PGS9) ที่ช่วยเหลือผู้ประกอบการผ่านกลไกการค้ำประกันสินเชื่อของ บสย. ธปท. ยังได้ออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID - 19 ระลอกใหม่เพื่อให้ยังคงมีกระแสเงินสดสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำรงชีพ ประกอบอาชีพ และดำเนินธุรกิจ โดยมีรายละเอียดดังนี้

                                  2.1) ต่ออายุมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้โดย (1) ลดเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล (2) เพิ่มวงเงินบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับประเภทวงเงินหมุนเวียนหรือที่ผ่อนชำระเป็นงวด และ (3) กำหนดให้ผู้ให้บริการทางการเงินให้ช่วยเหลือขั้นต่ำลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบตามประเภทสินเชื่อ และมีช่องทางเพื่อให้ลูกหนี้สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการดังกล่าวได้ เช่น บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (mobile application) เว็บไซต์ ศูนย์บริการข้อมูลลูกค้า (call center) และการส่งข้อความทาง SMS ได้ โดยลูกหนี้สามารถสมัครขอรับความช่วยเหลือด้วยตนเอง หรือนายจ้างหรือเจ้าของกิจการสมัครขอรับความช่วยเหลือแทนลูกหนี้ได้ โดยสามารถสมัครรับความช่วยเหลือได้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564

                                  2.2) ให้ผู้ให้บริการทางการเงินเร่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ทุกประเภท (ลูกหนี้รายย่อย ลูกหนี้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) และลูกหนี้ธุรกิจขนาดใหญ่) ตามความเหมาะสมกับประเภทสินเชื่อและคำนึงถึงความเสี่ยงของลูกหนี้ จำแนกตามลักษณะธุรกิจและพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งมีแนวทางต่างๆ ได้แก่ (1) ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เช่น ลดค่างวด ขยายระยะเวลาชำระหนี้ต่ออายุวงเงินหรือคงวงเงิน เปลี่ยนประเภทหนี้จากสินเชื่อระยะสั้นเป็นสินเชื่อระยะยาว ปลอดชำระเงินต้นและ/หรือดอกเบี้ยชั่วคราว ลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำกว่าอัตราตลาด เป็นต้น (2) ให้เงินทุนหมุนเวียนและเสริมสภาพคล่องเพิ่มเติม (3) พิจารณาชะลอการชำระหนี้สำหรับลูกหนี้ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท ภายใต้พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 .. 2563 และ (4) ผ่อนปรนเงื่อนไขอื่นตามความเหมาะสม

                          3) โครงการมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล

                          ธปท. สำนักงานศาลยุติธรรม และกรมบังคับคดี ได้ร่วมกันดำเนินโครงการมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์ - 14 เมษายน 2564 เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่เป็นลูกหนี้รายย่อยที่รายได้ลดลงจากการระบาดของ COVID - 19 แต่ยังคงมีภาระหนี้ที่ต้องจ่ายเท่าเดิม และป้องกันไม่ให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้และทำให้เกิด NPLsในวงกว้าง โดยแนวทางการไกล่เกลี่ยหนี้ภายใต้โครงการครอบคลุมลูกหนี้ทุกสถานะ ดังนี้

                                  3.1 ลูกหนี้สถานะยังเป็นหนี้ดีแต่เริ่มขาดสภาพคล่องสามารถขอเปลี่ยนหนี้บัตรเครดิตที่มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 16 ต่อปี เป็นหนี้ที่มีระยะเวลาผ่อนนานถึง 4 ปี โดยดอกเบี้ยต่ำลงที่ร้อยละ 12 ต่อปี และมีค่างวดที่แน่นอนได้ ซึ่งเป็นผลดีต่อลูกหนี้กว่าการจ่ายผ่อนขั้นต่ำตามหลักเกณฑ์ของหนี้บัตรเครดิต

                                  3.2) ลูกหนี้ที่มีสถานะเป็น NPLs ทั้งที่ยังไม่ถูกฟ้องหรือถูกฟ้องแล้ว สามารถใช้ช่องทางของงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ครั้งนี้สมัครเข้าคลินิกแก้หนี้ได้ โดยสามารถจ่ายเฉพาะส่วนเงินต้นภายในระยะเวลา 10 ปี และเจ้าหนี้จะยกดอกเบี้ยคงค้างให้ลูกหนี้เมื่อลูกหนี้ชำระเงินต้นหมด

                                  3.3) ลูกหนี้ที่มีสถานะเป็น NPLs ที่มีคำพิพากษาบังคับคดีแล้ว สามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งแตกต่างจากการไกล่เกลี่ยหนี้ทั่วไปที่เจ้าหนี้จะไม่เจรจากับลูกหนี้เมื่อมีคำพิพากษาและถูกบังคับคดีแล้ว แต่ภายใต้โครงการหนี้ ลูกหนี้กลุ่มดังกล่าวสามารถเข้าคลินิกแก้หนี้ได้ โดยสามารถจ่ายเฉพาะส่วนเงินต้นภายในระยะเวลา 5 ปี และเจ้าหนี้จะยกดอกเบี้ยคงค้างให้ลูกหนี้เมื่อลูกหนี้ชำระเงินต้นหมด

                         โครงการมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ได้รับผลตอบรับที่ดีจากประชาชน โดยมีประชาชนมากกว่า 200,000 รายให้ความสนใจและได้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการประมาณ 500,000 บัญชี ธปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันขยายระยะเวลาโครงการไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 เพื่อให้ลูกหนี้มีโอกาสเข้ามาไกล่เกลี่ยหนี้ได้มากและกว้างขวางยิ่งขึ้น เนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนสูงจากการระบาดของ COVID – 19 ระลอกใหม่อาจส่งผลกระทบต่อรายได้และความสามารถในการชำระหนี้ โดยประชาชนที่สนใจสามารถลงทะเบียนผ่านช่องทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของ ธปท. สำนักงานศาลยุติธรรม และกรมบังคับคดี

                          4) การปรับวิธีคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ของ ธปท.

                          ธปท. ได้ออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เรื่องการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้และการตัดชำระหนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดภาระหนี้ สร้างความเป็นธรรมในการให้บริการทางการเงินแก่ประชาชน และลดการเกิดหนี้ด้อยคุณภาพในระบบการเงิน ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติที่สำคัญในระบบการเงินของไทยใน 3 เรื่อง ได้แก่

                                  4.1) การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้บนฐานของเงินต้นที่ผิดนัดจริงเท่านั้น ไม่ให้รวมส่วนของเงินต้นของค่างวดในอนาคตที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ ต่างจากแนวปฏิบัติเดิมที่หากผิดนัดชำระหนี้เพียงงวดเดียว ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้จากฐานเงินต้นคงค้างทั้งหมด ส่งผลให้มูลค่าดอกเบี้ยผิดนัดสูงมาก ซึ่งเกณฑ์ใหม่นี้จะทำให้การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง และเกิดความเป็นธรรมกับประชาชนมากขึ้น

                                  4.2) การกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ที่อัตราดอกเบี้ยตามสัญญาบวกไม่เกินร้อยละ 3 เช่น ถ้าอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเท่ากับร้อยละ 8 ผู้ให้บริการทางการเงินจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ได้ไม่เกินร้อยละ 11 โดยต้องคำนึงถึงประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาด้วย ซึ่งต่างจากเดิมที่ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ได้เอง

                                  4.3) การกำหนดลำดับการตัดชำระหนี้โดยให้ตัดค่างวดที่ค้างชำระนานที่สุดเป็นลำดับแรกเพื่อให้ลูกหนี้ทราบลำดับการตัดชำระหนี้ที่ชัดเจน โดยเมื่อลูกหนี้ชำระหนี้ เงินที่จ่ายเข้ามาจะถูกนำไปจ่ายค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ย และเงินต้นของงวดหนี้ที่ค้างชำระนานที่สุดก่อน ต่างจากแนวทางเดิมที่เงินที่จ่ายเข้ามาจะถูกนำไปตัดค่าธรรมเนียมทั้งหมด ตามด้วยดอกเบี้ยทั้งหมด ก่อนนำเงินส่วนที่เหลือมาตัดเงินต้น ซึ่งการปรับเกณฑ์ใหม่นี้จะช่วยเพิ่มโอกาสให้เงินงวดที่ลูกหนี้ผ่อนในแต่ละเดือนสามารถตัดถึงเงินต้นได้มากขึ้น

                          5) พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.. 2564 (แก้ไขเพิ่มเติมอัตราดอกเบี้ยในกฎหมาย)

                          พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ .. 2564 มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงกฎหมาย 3 ประเด็น ได้แก่ (1) อัตราดอกเบี้ยที่มิได้กำหนดโดยนิติกรรม หรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง (2) อัตราดอกเบี้ยผิดนัด และ (3) กำหนดฐานการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ในหนี้ที่เจ้าหนี้กำหนดให้ลูกหนี้ผ่อนชำระเป็นงวด สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

                                  5.1) ปรับอัตราดอกเบี้ยที่มิได้กำหนดโดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้งจากอัตราเดิมที่เป็นอัตราคงที่ร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นอัตราใหม่ที่สามารถปรับเปลี่ยนให้มีความสอดคล้องกับสภาพการณ์และสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้เหลือร้อยละ 3 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศที่ยังมีความไม่แน่นอนจากการระบาดของ COVID - 19 นอกจากนี้กำหนดให้สามารถปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวให้สอดคล้องกับสภาพการณ์และสภาพเศรษฐกิจของประเทศได้ในอนาคต โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

                                  5.2) ปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยผิดนัด จากอัตราเดิมที่เป็นอัตราคงที่ร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นอัตราใหม่ที่สามารถปรับเปลี่ยนให้มีความสอดคล้องกับสภาพการณ์และสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยกำหนดให้เป็นอัตราที่เชื่อมโยงกับอัตราดอกเบี้ยที่มิได้ กำหนดโดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้งและบวกอัตราเพิ่มอีกร้อยละ 2 ต่อปี เพื่อจูงใจให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตรงเวลา และอัตราดอกเบี้ยผิดนัดที่กำหนดใหม่จะเท่ากับร้อยละ 5 ต่อปี อันเป็นอัตราที่เหมาะสมสำหรับการใช้บังคับในช่วงเวลานี้ ทั้งนี้ ยังคงหลักการเดิมของกฎหมายไว้ อันได้แก่ การกำหนดให้เจ้าหนี้อาจเรียกดอกเบี้ยผิดนัดสูงขึ้นได้หากมีเหตุอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย การห้ามคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด และการให้เจ้าหนี้สามารถพิสูจน์ค่าเสียหายอย่างอื่นได้นั้น

                                  5.3) เพิ่มหลักการให้มีการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ในกรณีที่ลูกหนี้ผ่อนชำระหนี้เป็นงวดให้มีความชัดเจนและเป็นธรรมต่อลูกหนี้ยิ่งขึ้น โดยกำหนดให้เมื่อลูกหนี้ ผิดนัดไม่ชำระหนี้ในงวดใดเจ้าหนี้อาจคำนวณจำนวนดอกเบี้ยผิดนัดได้เฉพาะจากต้นเงินของงวดที่ลูกหนี้ผิดนัดแล้วเท่านั้น ไม่อาจคำนวณจำนวนดอกเบี้ยผิดนัดจากต้นเงินที่ยังคงค้างชำระทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับหลักการการคิดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดของ ธปท. และกำหนดให้สัญญาที่เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยได้จากต้นเงินที่ยังคงค้างชำระทั้งหมดเป็นโมฆะ

                  3.3 มาตรการอื่นๆ

                          1) การช่วยเหลือลูกหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

                          คณะกรรมการ กยศ. เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID - 19 ดังนี้

                                  1.1) ขยายระยะเวลามาตรการช่วยเหลือผู้กู้ยืมสู้ภัยโควิด ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 โดยมีรายละเอียดของมาตรการ ดังนี้ (1) ลดเบี้ยปรับร้อยละ 100 สำหรับการชำระหนี้ปิดบัญชี (2) ลดเบี้ยปรับร้อยละ 80 สำหรับผู้กู้ยืมที่ยังไม่ถูกดำเนินคดีและชำระหนี้ค้างทั้งหมดให้มีสถานะปกติ (3) ลดเงินต้นร้อยละ 5 สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่อยู่ระหว่างการชำระเงินคืน กยศ. ซึ่งไม่ได้เป็นหรือเคยเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้และชำระหนี้ปิดบัญชีในคราวเดียว และ (4) ลตอัตราการคิดเบี้ยปรับเหลือร้อยละ 0.5 ต่อปี สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ยังไม่ถูกดำเนินคดีและไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด

                                  1.2) ชะลอการฟ้องร้องดำเนินคดี สำหรับผู้กู้ยืมที่ผิดนัดชำระหนี้ประจำปี 2563 และปี 2564 ยกเว้นคดีที่จะขาดอายุความในปี 2564

                                  1.3) งดการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้กู้ยืมและ/หรือผู้ค้ำประกันที่ กยศ. ได้ขอให้กรมบังคับคดียึดทรัพย์ไว้จนถึงสิ้นปี 2564 โดย กยศ. จะต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้กู้ยืมและ/หรือผู้ค้ำประกันที่ถูกยึดทรัพย์ รวมทั้งผู้มีส่วนได้เสีย เช่น ผู้ถือกรรมสิทธิร่วม ผู้รับจำนองที่ยึดไว้ (ถ้ามี) เป็นต้น

                                  1.4) ลดอัตราดอกเบี้ยเหลือร้อยละ 0.01 ต่อปี สำหรับผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างการชำระเงินคืน กยศ. และไม่ได้เป็นหรือเคยเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564

                                  1.5) ยกเลิกการกำหนดให้มีผู้ค้ำประกันการชำระเงินคืน กยศ. สำหรับผู้กู้ยืมที่ได้รับอนุมัติให้กู้ยืมเงินและทำสัญญากู้ยืมเงินใหม่ตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 เป็นต้นไป เพื่อช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของผู้กู้ยืมเงินที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของ COVID - 19

                          2) การชดเชยให้แก่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม .. 2533 กรณีได้รับผลกระทบจากการประกาศของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

                          กระทรวงแรงงานได้ออกกฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ .. 2563 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2563 โดยมีสาระสำคัญ คือ ในกรณีมีเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม .. 2533 ซึ่งมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างไม่ให้ทำงานเนื่องจากต้องกักตัวหรือเฝ้าระวังการระบาดของโรคหรือในกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานเนื่องจากนายจ้างต้องหยุดประกอบกิจการไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนเนื่องจากทางราชการมีคำสั่งให้ปิดสถานที่เป็นการชั่วคราวเพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ และลูกจ้างไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น ให้ลูกจ้างดังกล่าวมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่มีการกักตัวหรือเฝ้าระวังการระบาดของโรค หรือมีคำสั่งปิดสถานที่ดังกล่าว แล้วแต่กรณี แต่รวมกันไม่เกิน 90 วัน ทั้งนี้ กฎกระทรวงดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม .. 2563 เป็นต้นไป

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 5 พฤษภาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A5115

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!