หมวดหมู่: งานวิจัยเศรษฐกิจ

 

ผลวิจัยจุฬาฯ การตลาดต้านโกง กระเพื่อมสังคม

ภาครัฐ เอกชน เดินหน้าสร้างกลยุทธ์ต่อต้านคอร์รัปชันใหม่

          จากผลงานวิจัย กลยุทธ์ในการสื่อสารด้านการต่อต้านคอร์รัปชันที่เหมาะสำหรับคนไทย 4.0” ภายใต้โครงการวิจัย การตลาดเชิงประยุกต์สำหรับกระตุ้นและจำแนกกลุ่มประชาชนที่มีความตระหนักรู้เกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชัน” โดยคณะผู้วิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับการสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานวิจัยแห่งชาติ ภายใต้แผนงานบูรณาการยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม คนไทย 4.0” (Khon Thai 4.0) ปรากฏว่าประสบผลสำเร็จจากการตอบโจทย์ pain point ของผู้ทำงานต้านโกง และสื่อต่างๆ ที่เป็นกระบอกเสียง จนได้รับกระแสตอบรับที่ดีมาก ทั้งจากภาคประชาสังคม เอกชน และหน่วยงานภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านคอร์รัปชัน ก่อให้เกิดการนำผลวิจัยไปใช้จริง สร้างกลยุทธ์การสื่อสารใหม่ เพื่อกระตุ้นกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม คุ้มค่า ต่อเนื่อง เป็นระบบ

 

3135 ผศดร ต่อภัสสร์


 

          ผลงานวิจัยดังกล่าวได้รับผลตอบรับที่ดี เพราะมีความโดดเด่นและแตกต่างจากงานวิจัยการต่อต้านคอร์รัปชันที่ผ่านมา โดย ผศ.ดร. ต่อภัสสร์ ยมนาค อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าคณะวิจัย เผยว่าที่ผ่านมางานวิจัยเกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชัน นำหลายๆ ศาสตร์เข้ามาร่วมในงานวิจัย และ ทั้งหมดคิดเห็นตรงกันว่าคนเป็นส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน งานวิจัยชิ้นนี้นับเป็นครั้งแรกที่ได้นำศาสตร์การตลาด ซึ่งเป็นศาสตร์ที่เข้าใจคนมากที่สุด เข้ามาร่วมในงานวิจัย โดยศาสตร์การตลาดสามารถแบ่งกลุ่มคน รวมถึงมีวิธีการใช้กลยุทธ์ที่จะสื่อสารกับคนได้ดี โดยศาสตร์ของการตลาดทำให้งานวิจัยชิ้นนี้บรรลุวัตถุประสงค์

          โดยได้บ่งชี้ถึงการต่อต้านคอร์รัปชันมีหลายระดับหลายมิติ ประกอบด้วย มิติการรับรู้ มิติการป้องกัน มิติการยืนหยัด และมิติการระงับและปราบปราม รวมถึงพบปัจจัยซ่อนเร้นที่กระตุ้นให้คนมีส่วนร่วมในการต่อต้านคอร์รัปชัน และสามารถแบ่งกลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะการต่อต้านคอร์รัปชันได้เป็น 4 กลุ่ม จากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ 719 คน ได้แก่ The Frontline กลุ่มคนแนวหน้า 17.10% ต่อต้านคอร์รัปชันสูงและเข้าร่วมปราบปราม The Examplar บุคคลตัวอย่าง 27.68% ต่อต้านคอร์รัปชันสูง เน้นป้องกัน The Mass กลุ่มคนส่วนใหญ่ 45.34% ให้ความสำคัญต่อการต่อต้านคอร์รัปชัน แต่เห็นประโยชน์ส่วนรวมน้อยกว่าอีกสองกลุ่มที่กล่าวมา และ The Individualist กลุ่มคนที่มีความเป็นปัจเจกบุคคลสูง 9.88% ไม่ยุ่งไม่เกี่ยว เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนสูงจึงทำให้ทราบว่ากลุ่มใดคือกลุ่มที่เราควรจะเริ่มต้นมุ่งเน้นก่อน รวมถึงรู้วิธีการใช้สื่อและสารว่าควรใช้อย่างไร ซึ่งจะทำให้การใช้งบประมาณและทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

 

3135 การตลาดต้านโกง info

 

          หลังจากที่งานวิจัยนี้ได้เผยแพร่ออกไป มีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน อาทิ ... และ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ได้ให้ความสำคัญ พร้อมลงมือปฏิบัติการกระตุ้นการต่อต้านคอร์รัปชันมากขึ้น โดยเริ่มระดมความคิดในการนำผลวิจัยไปใช้จริงในการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การสื่อสารการต้านคอร์รัปชัน

          ปัจจัยที่ผ่านมาที่เรายังไปไม่ถึงจุดที่สำเร็จเพราะเราขาดคนที่จะร่วมกันจำนวนมากอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบก่อนหน้านี้เรารู้ว่าต้องมีปัจจัยนี้แต่ไม่รู้ว่าจะกระตุ้นอย่างไร ตอนนี้เรารู้วิธีดึงคนที่จะเข้ามาร่วมอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

 

3135 ผศดร เอกก์

 

          ด้าน ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล ประธานหลักสูตรปริญญาโทด้านแบรนด์และการตลาด (ภาษาอังกฤษ) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหนึ่งในทีมวิจัย เสริมว่าหัวใจของศาสตร์ด้านการตลาดที่สามารถดึงให้คนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นจำนวนมากคือ การเข้าใจลูกค้า หลังจากผลงานวิจัยได้รับการเผยแพร่ผ่านช่องทางสื่อต่างๆ โดยเล่าเรื่องผ่านบทความอินโฟกราฟิก คลิปวิดีโอ บนแพลตฟอร์มออฟไลน์ และออนไลน์ เช่น เพจอัจฉริยะการตลาด มีคนมาร่วมกดไลค์ กดแชร์ คอมเม้นท์ มากกว่า 10,000 ครั้ง และล่าสุดได้มีการพูดคุยเรื่องการต่อต้านคอร์รัปชันในคลับเฮ้าส์ แอปพลิเคชันที่กำลังได้รับความนิยมเวลานี้ คู่กับเฟซบุ๊กไลฟ์มีคนฟังมากกว่า 1,000 คน ได้ผลในเชิงบวก และมีสื่อมวลชนช่วยกระจายข้อมูลสำคัญนี้ต่อ นับเป็นมิติใหม่ที่แสดงให้เห็นว่าคนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญและตื่นรู้ต้านโกงกันเป็นจำนวนมาก

 

3135 การตลาดต้านโกง info2

 

          ความสำเร็จอีกประการหนึ่งของงานวิจัยชิ้นนี้คือการตอบโจทย์ pain point ของผู้ทำงานต้านโกง โดยวิจัยได้บ่งชี้ถึง การเลือกและจัดกลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้องและชัดเจน เพื่อก่อให้เกิดการกระตุ้นการต่อต้านคอร์รัปชันได้อย่างตรงจุด กลยุทธ์การเลือกสื่อ สื่อแบบใดที่สมควรใช้เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ การเลือกสารที่น่าสนใจ แนวข้อมูลใดควรเผยแพร่ให้กลุ่มเป้าหมายใด เปลี่ยนสารจากที่เข้าใจว่าต้องบึกบึนเข้มแข็งดุดัน หยิบเอาตัวเลขของการคอร์รัปชันมาแสดงหวังกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนจำนวนมาก แต่ผลการวิจัยกลับพบว่า ความดุดัน หรือความเป็นชาย” (Masculinity) ให้ผลตอบรับน้อยกว่าการใช้ความอ่อนโยน การมีสุนทรียภาพ อย่างละมุนละม่อม และ การวัดผลการต่อต้านคอร์รัปชัน ขึ้นอยู่กับการรับรู้เรื่องคอร์รัปชัน และต้องกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมออกไปปราบปรามคอร์รัปชันให้ได้”

 

3135 การตลาดต้านโกง info3

 

          “ฉะนั้นคาดหวังจะเห็นกลยุทธ์ไม่ได้คาดหวังจะเห็นแค่ข้อมูล การแบ่งกลุ่มเป้าหมายได้ การเข้าใจมิติของพฤติกรรม กดปุ่มไหนแล้วคนจะต่อต้านคอร์รัปชันมากที่สุด เหล่านี้เป็นข้อมูลเชิงกลยุทธ์ที่สามารถนำไปออกแบบกลยุทธ์ใช้งานได้จริงในทันทีผศ.ดร. เอกก์ กล่าวปิดท้าย

 

A3135

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!