หมวดหมู่: น้ำมัน-แก๊ส

1aaa2OIL15rw


มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการลดกำลังการผลิตของโอเปกพลัส หนุนราคาน้ำมันดิบในระดับสูงต่อเนื่อง

บทวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมันประจำสัปดาห์ โดย บมจ.ไทยออยล์: ฉบับวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564

             

ไทยออยล์ คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 57-62 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวที่กรอบ 60-65 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (15 - 19 ก.พ. 64)

     ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มทรงตัวในระดับสูง หลังเกิดเหตุความไม่สงบในตะวันออกกลาง รวมถึงความคาดหวังต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มูลค่ากว่า 1.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่คาดจะสามารถดำเนินการใช้ได้ก่อนวันที่ 15 มี.ค. ซึ่งเป็นวันที่สวัสดิการให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ของสหรัฐฯ จะสิ้นสุดลง ทั้งนี้หากมาตรการสามารถบังคับใช้ได้อย่างรวดเร็ว คาดว่าจะช่วยหนุนให้ความต้องการใช้น้ำมันของสหรัฐฯ ฟื้นตัวขึ้น นอกจากนี้ ราคายังได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังทั่วโลกที่มีแนวโน้มปรับลดลง จากอุปทานที่มีแนวโน้มตึงตัวจากการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปกและประเทศพันธมิตร อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มได้รับแรงกดดันจากความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของความต้องการใช้น้ำมัน และปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของลิเบียและสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:

          มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มีแนวโน้มจะสามารถบังคับใช้ได้เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ หลังล่าสุดสภาคองเกรสได้มีมติเห็นชอบต่อแนวทางการอนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยใช้เสียงเพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น แทนที่จะต้องการมีการดำเนินการโดยการใช้เสียงกว่า 2 ใน 3 ของทั้งหมด ซึ่งส่งผลให้มีแนวโน้มที่มาตรการดังกล่าวจะสามารถดำเนินการได้ก่อน 15 มี.ค.ซึ่งเป็นวันที่มาตรการช่วยเหลือผู้ว่างงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ของสหรัฐฯจะสิ้นสุดลง ทั้งนี้หากสามารถดำเนินการมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ จะส่งผลให้เศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมันของสหรัฐฯ ฟื้นตัวได้ดีขึ้น

          กลุ่มโอเปกและประเทศพันธมิตร ยังคงเดินหน้าปรับลดกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่องตามข้อตกลงการปรับลดกำลังผลิตที่ระดับ 7.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน จนกระทั่งถึงเดือน มี.ค. 64 ในขณะที่ซาอุฯ ปรับลดการผลิตเพิ่มเติมอีก 1 ล้านบาร์เรลต่อวันซึ่งล่าสุดอิรักเปิดเผยว่าในเดือนมกราคมที่ผ่านมา อิรักได้ปรับลดกำลังการผลิตมากกว่าโควต้า ส่งผลให้อิรักยังต้องปรับลดกำลังการผลิตอีก 0.576 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพื่อชดเชยก่อนหน้านี้ที่ผลิตเกินกว่าโควต้าที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ กลุ่มผู้ผลิตจะมีการประชุมในการประชุมวันที่ 4 มี.ค. 64 เกี่ยวกับระดับการปรับลดกำลังผลิตในเดือน เม.ย. 64 เป็นต้นไป ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่าซาอุฯ มีแนวโน้มที่จะไม่ต่อมาตราการปรับลดกำลังการผลิตเพิ่มเติมที่ราว 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน

          ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับลดลงเนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันสหรัฐฯ มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นสืบเนื่องจากการผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์ในหลายเมืองใหญ่ โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ สิ้นสุด ณ วันที่ 5 ก.พ. 64 ปรับลดลงกว่า 6.6 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 469 ล้านบาร์เรล ซึ่งระดับที่ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 63 ซึ่งสวนทางกับนักวิเคราะห์ที่คาดการณ์ว่าจะปรับเพิ่ม 1.0 ล้านบาร์เรล ขณะที่ ปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง ณ จุดส่งมอบคุชชิ่งโอกลาโฮมา ปรับลดลงมาแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 63

          ความต้องการใช้น้ำมันในระยะสั้นยังมีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ จากผลกระทบของมาตรการล็อกดาวน์และการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยในรายงานฉบับเดือน ก.พ. 63 พบว่าสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ปรับคาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันในสำหรับไตรมาส 1 ของปี 2564 ต่ำกว่าไตรมาสก่อนหน้าที่ราว 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้น้ำมันคาดจะฟื้นตัวขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีและส่งผลให้ทั้งปีความต้องการใช้จะเติบโตที่ราว 5.5 ล้านบาร์เรลต่อวันจากปีก่อนหน้าที่ปรับลดลงถึง 8.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน

          สถานการณ์ความไม่สงบในลิเบียได้คลี่คลายลงและส่งผลให้ปริมาณการผลิตและส่งออกน้ำมันดิบของลิเบียมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังก่อนหน้านี้เกิดเหตุประท้วงโดยหน่วยรักษาความปลอดภัยของลิเบีย (Petroleum Facilities Guard) ส่งผลให้มีการปิดท่าเรือส่งออกน้ำมันดิบ Hariga ซึ่งมีกำลังการขนส่งที่ราว 0.14 ล้านบาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตาม ล่าสุดได้มีการกลับมาเปิดดำเนินการแล้ว รวมทั้ง ท่าเรือส่งออกอื่นๆ อาทิเช่น Es Sider และ Ras Lanuf ซึ่งมีกำลังการขนส่งที่ราว 0.35 และ 0.20 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตามลำดับ ที่มีการกลับมาดำเนินการตั้งแต่ช่วงต้นเดือนนี้ หลังมีการปิดไปในช่วงกลางเดือน ม.ค. 64

          ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ มีแนวโน้มทรงตัวถึงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย หลังผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ปรับเพิ่มปริมาณการขุดเจาะน้ำมันดิบขึ้นต่อเนื่อง โดยบริษัทเบเกอร์ ฮิวจ์ รายงานจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 5 ก.พ. 64 ปรับเพิ่มขึ้นติดต่อกันกว่า 11 สัปดาห์ต่อเนื่องกันไปอยู่ที่ระดับ 392 แท่น ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2563

          เศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ GDP ไตรมาส 4 ของยูโรโซน ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมและบริการของสหรัฐฯ และยูโรโซน เดือน ก.พ. 2564

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (8 - 12 ก.พ. 64) 

   ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับเพิ่มขึ้น 2.62 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 59.47 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับเพิ่มขึ้น 3.09 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 62.43 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 60.51 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หลังได้รับแรงหนุนจากความคาดหวังต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและความต้องการใช้น้ำมัน หลังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มูลค่า 1.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ มีแนวโน้มออกมาได้เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ และจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มีการปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ราคายังได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่ปรับลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน มาอยู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 2563 อย่างไรก็ตาม ราคายังเผชิญกับแรงกดดันจากจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องกว่า 11 สัปดาห์ติดต่อกัน

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!