หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV3รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนพฤศจิกายน 2563 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 2563 และแนวโน้มปี 2564

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนพฤศจิกายน 2563 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 2563 และแนวโน้มปี 2564 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้

          สาระสำคัญ 

          ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2563 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ขยายตัวร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการขยายตัวครั้งแรก ในรอบ 19 เดือน

          อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนพฤศจิกายน 2563 ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ

          1. รถยนต์ และเครื่องยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.02 เป็นการขยายตัวเป็นเดือนแรก ในรอบ 19 เดือน จากการขยายตัวของทั้งตลาดในประเทศ และตลาดส่งออก โดยมีปัจจัยหลักจากกำลังซื้อในประเทศฟื้นตัวดีขึ้น และการเตรียมเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่เพื่อกระตุ้นตลาดในงานแสดงรถยนต์ ช่วงต้นเดือนธันวาคม 2563 รวมถึงคำสั่งซื้อของประเทศคู่ค้าต่างๆ ที่เริ่มมีมากขึ้น

          2. การกลั่นปิโตรเลียม เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.95 เนื่องจากปีก่อนโรงกลั่นปิโตรเลียมบางรายมีการหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่น

          3. ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.71 ตามความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของโลกที่มีแนวโน้มดีขึ้น

          4. เภสัชภัณฑ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.61 จากการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ของผู้ผลิต และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีเพราะมีคุณภาพเทียบเท่าต่างประเทศรวมถึงผู้ผลิตบางรายสามารถเพิ่มการผลิตได้สูงขึ้น หลังขยายอาคารเก็บรักษายาตั้งแต่ปลายปีก่อน

          5. มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.29 จากมอเตอร์ และหม้อแปลงไฟฟ้ามอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.29 เนื่องจากความต้องการใช้มอเตอร์ และหม้อแปลงไฟฟ้าในช่วงการกักตัวอยู่บ้านของลูกค้าประเทศต่างๆ เพิ่มขึ้น

          สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2563 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) คาดว่าจะหดตัวร้อยละ 8.0 ในขณะที่ปี 2562 MPI หดตัวร้อยละ 3.6 โดย อุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัวในปี 2563 อาทิ รถยนต์ เป็นการลดลงของตลาดในประเทศและตลาดส่งออกเนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลก ส่วนปัจจัยในประเทศมีการหยุดการผลิตชั่วคราวช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2563 ตามมาตรการลดการแพร่ระบาด การกลั่นปิโตรเลียม ภาวะการผลิตลดลง เนื่องจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ในประเทศและการส่งออกในปีนี้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลงไป โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ทำให้การเดินทางของผู้คนทั้งที่เป็นการเดินทางระหว่างประเทศและในประเทศลดลง ยางล้อ จากการชะลอตัวของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับการหดตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ ส่วนอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวดีในปี 2563 อาทิ เภสัชภัณฑ์ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนตามแนวโน้มความต้องการใช้ที่สูงขึ้นจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของตลาดทั้งในและต่างประเทศ อาหารสัตว์สำเร็จรูป ภาวะการผลิตเพิ่มขึ้นจากความต้องการสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเป็นผลจากความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ที่ขยายตัวต่อเนื่องในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

          แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2564 ประมาณการอัตราการขยายตัวของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 4.0 - 5.0 โดยมีแรงสนับสนุนจาก (1) การปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ (2) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก (3) แรงขับเคลื่อนจากภาครัฐจากการเบิกจ่ายภายใต้กรอบงบประมาณและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ และ (4) ฐานการขยายตัวที่ต่ำผิดปกติในปี 2563 อย่างไรก็ตามการขยายตัวจะดำเนินไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปและยังมีความไม่แน่นอนสูง เนื่องมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงระบาดต่อเนื่องทั่วโลก และรอความชัดเจนของการใช้วัคซีนที่จะเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม ในปี 2564

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 9 กุมภาพันธ์ 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A2320

COREHOON


******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!