หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV8


สรุปผลการดำเนินมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศชิมช้อปใช้และมาตรการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศชิมช้อปใช้

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการดำเนินมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศชิมช้อปใช้และมาตรการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศชิมช้อปใช้ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ โดยมีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้

          1. ผลการดำเนินมาตรการชิมช้อปใช้ ระหว่างวันที่ 27 กันยายน 2562 – 31 มกราคม 2563 มีผู้ได้รับสิทธิจำนวน 14,354,159 คน มีผู้ใช้สิทธิจำนวน 11,802,073 คน และมีร้านค้าที่มีผู้ไปใช้สิทธิจำนวน 103,053 ร้าน โดยมียอดค่าใช้จ่ายผ่านระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์โดยภาครัฐ (g-Wallet) สรุปได้ดังนี้

 

(หน่วย : ล้านบาท)

รายการ

การใช้จ่าย

 กค. จ่ายเงินสนับสนุน/

เงินชดเชย

ผู้ใช้สิทธิ (คน)

ยอดใช้จ่ายรวม

g-Wallet ช่องที่ 1

11,737,997

11,671.80

11,671.80

g-Wallet ช่องที่ 2

487,820

17,148.10

(ไม่รวมยอดใช้จ่ายในร้านค้าทั่วไปที่ไม่ได้รับสิทธิเงินชดเชย

จำนวน 147 ล้านบาท)

1,258.90

รวม

28,819.90

12,930.70 

หมายเหตุ : - g-Wallet ช่องที่ 1 คือ รัฐบาลสนับสนุนวงเงินจำนวน 1,000 บาทต่อคน

                 - g-Wallet ช่องที่ 2 คือ รัฐบาลสนับสนุนเงินชดเชยในรูปแบบเงินคืน (Cashback) ร้อยละ 15-20 ของยอดชำระเงินที่จ่ายจริง ตามเงื่อนไขที่กำหนด

 

           ทั้งนี้ กค. ได้มีการตรวจสอบข้อมูลผู้ที่เข้าข่ายมีพฤติกรรมหรือธุรกรรมที่ผิดปกติ สรุปได้ดังนี้ (1) ประชาชน : ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ส่งข้อความ (SMS) ไปยังประชาชนที่เข้าข่ายมีพฤติกรรมหรือธุรกรรมที่ผิดปกติจำนวน 195,299 คน เพื่อให้ชี้แจงข้อมูลกับ กค. โดยมีผู้ติดต่อให้ข้อมูลรวมทั้งสิ้น 4,746 คน ซึ่งภายหลังการตรวจสอบแล้วได้จ่ายเงินคืนให้กับประชาชนจำนวน 1,541 คน เป็นเงินจำนวน 12.55 ล้านบาท และอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลและหลักฐานเพิ่มเติมอีก 265 คน (2) ร้านค้า : กค. ได้ตรวจสอบผู้ประกอบการร้านค้าที่เข้าข่ายมีพฤติกรรมหรือธุรกรรมที่ผิดปกติจำนวน 5,302 ร้าน โดยผลการพิจารณาพบว่ามีการดำเนินการผิดเงื่อนไขจำนวน 3,201 ร้าน จึงได้ระงับการรับชำระค่าสินค้าด้วยแอปพลิเคชันถุงเงินของร้านค้าดังกล่าว

          2. ผลการประเมินผลความคุ้มค่าและแบบสำรวจความพึงพอใจของมาตรการฯ คณะทำงานประเมินผลและความคุ้มค่าของมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศชิมช้อปใช้ได้สรุปการประเมินผลความคุ้มค่าของมาตรการฯ และการประเมินความพึงพอใจของมาตรการฯ ดังนี้

 

หัวข้อ

 

ผลการประเมิน

ความคุ้มค่าของมาตรการฯ

มิติที่ 1 การกระจายตัวของ

การไปใช้จ่าย

 

ผู้ใช้สิทธิผ่าน g-Wallet ช่องที่ 1 เดินทางไปใช้สิทธิในทั่วภูมิภาคและทุกจังหวัด โดนส่วนใหญ่เดินทางไปเที่ยวในภูมิภาคที่เป็นภูมิลำเนา

มิติที่ 2 การใช้จ่ายในเมืองหลัก

เมืองรอง

 

• ผู้ใช้สิทธิเดินทางไปเที่ยวเมืองหลักมากกว่าเมืองรอง โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 55 และร้อยละ 45 ตามลำดับ

• การใช้จ่ายในเมืองรองสูงกว่าเมืองหลัก โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 60 และร้อยละ 40 ของยอดใช้จ่ายรวม ตามลำดับ

มิติที่ 3 อัตราการใช้สิทธิ

และอัตราการใช้จ่าย

 

รูปแบบการใช้จ่ายของผู้ได้รับสิทธิทั่วประเทศมีลักษณะคล้ายกันโดยผู้ได้รับสิทธิจะใช้เงิน 1,000 บาท ผ่าน g-Wallet ช่องที่ 1 ก่อน แล้วจึงใช้จ่ายเงินของตนเองผ่าน g-Wallet ช่องที่ 2

มิติที่ 4 รายได้ของผู้ประกอบการ

 

• การใช้จ่ายส่วนใหญ่ถูกใช้ไปกับร้านช้อปเช่น ร้าน OTOP และร้านธงฟ้าประชารัฐ

• ยอดการใช้จ่ายของร้านชิม” “ช้อปและใช้รวมกัน มีมูลค่ามากกว่าร้านค้าทั่วไปถึง 7.8 เท่า ซึ่งแสดงให้เห็นว่าร้านค้ารายย่อยได้รับรายได้จากมาตรการฯ มากกว่าร้านค้ารายใหญ่

มิติที่ 5 ผลบวกต่อการใช้จ่าย การท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด

 

• มาตรการฯ มีผลบวกต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศซึ่งคาดว่าจะส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 0.1-0.3

• ไตรมาส 4 ปี 2562 มีการขยายตัวของเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการขยายตัวสาขาการขายส่งขายปลีก เช่น โรงแรม ที่พัก และร้านอาหาร ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการฯ

• ยอดการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้มูลค่าการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสูงกว่าปกติอย่างมีนัยสำคัญ

มิติที่ 6 ผลประโยชน์ทางอ้อม

 

• ก้าวสู่สังคมไร้เงินสด

• สร้างทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลแก่ประชาชน

• สร้างฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อใช้วิเคราะห์เชิงลึก

• เพิ่มขีดความสามารถของหน่วยงานในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ

ความพึงพอใจของมาตรการฯ : ผ่านแบบสอบถามออนไลน์ ระหว่างวันที่ 31 มกราคม – 17 กุมภาพันธ์ 2563 มีผู้ตอบแบบสอบถามแบ่งเป็นประชาชน 76,382 คน และผู้ประกอบการหรือร้านค้าถุงเงิน” 458 ร้านค้า

ประชาชน

 

ความพึงพอใจ 3 ลำดับแรก ได้แก่

1) เงินสนับสนุน 1,000 บาท ร้อยละ 74.6

2) ความปลอดภัยในการใช้งานแอปพลิเคชันเป๋าตังร้อยละ 74.2

3) ความสะดวกในการใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังร้อยละ 73.9

ผู้ประกอบการ/ร้านค้าถุงเงิน

 

ความพึงพอใจ 3 ลำดับแรก ได้แก่

1) ความปลอดภัยในการใช้งานแอปพลิเคชันถุงเงินร้อยละ 86.6

2) ความสะดวกในการรับเงินผ่านแอปพลิเคชันถุงเงินร้อยละ 84.9

3) ขั้นตอนและรูปแบบการลงทะเบียน ร้อยละ 70.5

 

          3. สรุปภาพรวมการดำเนินการ พบว่า มาตรการได้ส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยมีการกระจายตัวของการใช้จ่ายครอบคลุมทั่วประเทศและลงไปถึงร้านค้ารายย่อย รวมทั้งได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชนให้มีความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การผลักดันให้ประเทศเข้าสู่สังคมไร้เงินสด และการสร้างฐานข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อใช้ในการวิเคราะห์เชิงลึกต่อไป

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 10 พฤศจิกายน 2563

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A11246

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!