หมวดหมู่: การศึกษา

10613 NXPO


สอวช. ผุดสมุดปกขาวทิศทางการพัฒนา อววน. เพื่อการฟื้นตัวของประเทศหลังวิกฤตโควิด-19’ ชูเป็นคู่มือแนวทางบูรณาการนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผน อววน. เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศหลังวิกฤตโควิด

          สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ประชุมคณะกรรมการอํานวยการ สอวช. ครั้งที่ 7/2563 ห้องประชุมชั้น 4 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้มอบหมายให้ .ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัด อว. เป็นประธานการประชุม โดยในที่ประชุมมีการเสวนาเกี่ยวกับสมุดปกขาวทิศทางการพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อการฟื้นตัวของประเทศหลังวิกฤตโควิด-19 และการจัดตั้งวิทยสถานด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (Thailand Academy of Social Sciences, Humanities, and Arts, TASSHA)

          ดร. กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการ สอวช. เปิดเผยว่า ในการประชุม สอวช. ได้นำเสนอสมุดปกขาวทิศทางการพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการฟื้นตัวของประเทศหลังวิกฤตโควิด-19” ที่ สอวช. จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) อย่างบูรณาการเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศหลังวิกฤตโควิด-19 โดยมุ่งเน้นการใช้ อววน. เพื่อขจัดความยากจน สร้างความมั่นคงของมนุษย์ พัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและวางรากฐานเพื่ออนาคต พัฒนากำลังคนและการอุดมศึกษา และปฏิรูประบบ อววน. ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนใช้เป็นแนวทางในการบูรณาการนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้านการอุดมศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และการพัฒนาหน่วยงานให้เป็นไปอย่างมีเอกภาพและเป็นระบบ โดยได้สรุปถึงปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ใน 6 เรื่อง ประกอบด้วย การเกิดขึ้นของโควิด-19 และโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ ความเหลื่อมล้ำและความไม่เสมอภาคทางสังคม การเปลี่ยนขั้วอำนาจเศรษฐกิจของโลก การเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและการขาดแคลนทรัพยากร การหลากหลายของขั้นชีวิตและสังคมสูงวัย ตลอดจนนวัตกรรมพลิกโฉม หรือที่เรารู้จักกันในนาม Disruptive Innovation 

          จากปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงข้างต้น นำมาสู่การวิเคราะห์ 5 แนวทางการปรับตัวของประเทศสู่อนาคต ซึ่งประกอบด้วย 1. การสร้างสมดุลระหว่างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสร้างสังคมที่มีคุณภาพ ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง พัฒนาระบบสาธารณสุขที่เข้มแข็งและรักษาสิ่งแวดล้อม 2. การคำนึงถึงความมั่นคงของประชาชนในประเทศเป็นที่ตั้ง ทั้งความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางสุขภาพ ความมั่นคงทางพลังงาน และความมั่นคงทางอาชีพ 3. สร้างความเข้มแข็งจากภายใน โดยเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อกระจายความเจริญสู่ท้องถิ่นและส่งเสริมให้เกิดการพึ่งพาตัวเอง เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4. สร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมที่พัฒนาจากความสามารถของคนไทย เพื่อลดการพึ่งพาจากต่างชาติ และ 5. เตรียมการเพื่อรองรับสังคมในอนาคตที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจจากนวัตกรรมพลิกโฉม เช่น สังคมที่มนุษย์และหุ่นยนต์อยู่ร่วมกันในชีวิตประจำวัน เศรษฐกิจที่มีปัญญาประดิษฐ์เป็นฐานในการดำเนินธุรกิจ

          และเพื่อเป็นแนวทางบูรณาการนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผน อววน. สมุดปกขาวฉบับนี้จึงได้นำเสนอทิศทางในการพัฒนา อววน. เพื่อการฟื้นตัวของประเทศหลังวิกฤตโควิด-19 ที่สำคัญ 6 ด้าน ประกอบด้วย 1. เปลี่ยนความยากจนสู่ความมั่งมีอย่างทั่วถึง ด้วย อววน. โดยใช้ อววน. ปรับเปลี่ยนการแก้ไขปัญหาความยากจนจากการอุดหนุนทรัพยากรไปสู่การปลดล็อกศักยภาพความเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรมของคนในพื้นที่ เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตควบคู่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรมให้เกิดเป็นขั้วความเจริญใหม่ของประเทศ 2. สร้างเสริมคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์และพลังทางสังคมเพื่อการพัฒนาที่สมดุล ด้วย อววน. ผ่านการส่งเสริมระบบ อววน. ในการสร้างคน องค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการพัฒนามนุษย์ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่สมดุล ยั่งยืนและทั่วถึง โดยให้ความสำคัญกับความมั่นคงของมนุษย์ สุขภาวะ การพัฒนามนุษย์ทุกช่วงวัย ความหลากหลายของวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ความเปิดกว้างและความเป็นธรรมในสังคม การมีส่วนร่วมทางการเมืองและนโยบายสาธารณะทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น ความเข้าใจโลกและการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ และการอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมอย่างสอดคล้องกับระบบนิเวศและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี 3. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BCG) เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยการใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นเครื่องยนต์ชุดใหม่สำหรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน สร้างการเติบโตเชิงคุณภาพ ต่อยอดจากความได้เปรียบ โดยเปรียบเทียบในด้านความเข้มแข็งของฐานทรัพยากรชีวภาพภายในประเทศสู่กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันในระดับโลก

          4. ยกระดับอุตสาหกรรมและวางรากฐานเพื่ออนาคตด้วย อววน. ผ่านการใช้ อววน. หนุนเสริมการเปลี่ยนผ่านภาคการผลิตและบริการสู่อุตสาหกรรม 4.0” เพิ่มจำนวน Tech Based Enterprises พร้อมกับเร่งสร้างขีดความสามารถในประเทศให้มีเทคโนโลยี วิศวกรรมและวิทยาศาสตร์ขั้นสูงสำหรับแก้ไขโจทย์หรือรับมือกับวิกฤตการณ์สำคัญ รวมถึงมีโครงสร้างพื้นฐานและแพลตฟอร์มที่สามารถรองรับการพัฒนาภาคการผลิตและบริการยุคใหม่ ตลอดจนสนับสนุนการวิจัยขั้นแนวหน้า (Frontier research) ในสาขาที่ประเทศไทยมีศักยภาพเป็นเจ้าของเทคโนโลยี หรือพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ในประเทศ รวมถึงพัฒนาองค์ความรู้ด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ที่นำไปสู่การสร้างพลังทางสังคมและทางสุนทรียะ ตลอดจนส่งเสริมวัฒนธรรมการวิจัย และความตระหนักทางวิทยาศาสตร์เพื่อสร้างความฉลาดรู้ให้กับสังคมไทยในทุกมิติ 5. พลิกโฉมการอุดมศึกษาและพัฒนากำลังคนให้ตอบโจทย์ประเทศ ทั้งการพัฒนากำลังคน การวิจัย นวัตกรรม ที่สอดคล้องกับบริบทประเทศและสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงสร้างความเข้มแข็งและปฏิรูประบบนิเวศการพัฒนากำลังคนของประเทศ ให้ตอบโจทย์การพัฒนากำลังคนในทุกช่วงวัย ที่สอดคล้องกันทั้งมิติการพัฒนาเศรษฐกิจและการส่งเสริมความเท่าเทียม และ 6. ปฏิรูประบบ อววน. ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม โดยการปฏิรูประบบ อววน. เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยออกแบบโครงสร้างระบบหน่วยงาน เพื่อให้เห็น Division of Labour ในระบบ อววน. ทำให้หน่วยงานเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง เกิดความรับผิดชอบต่องาน และสามารถบูรณาการการทำงานระหว่างระบบ . และระบบ ววน. เพื่อลดความซ้ำซ้อน สามารถทำงานเสริมกันได้ ใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า ควบคู่ไปกับการปรับกระบวนทัศน์ในการทำงาน การจัดระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนา อววน. รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของหน่วยงานและบุคลากรให้มีคุณภาพสูงอย่างเพียงพอ เพื่อขับเคลื่อนระบบ อววน. ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาประเทศ

          ดร. กิติพงค์ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ที่ประชุมได้มีการหารือถึงแนวคิดการจัดตั้งวิทยสถานด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ประเทศไทย หรือ TASSHA (Thailand Academy of Social Science Humanities and Arts) เสนอโดยสำนักปลัดกระทรวง อว. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศที่สามารถนำงานวิจัยและวิชาการด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ มาบูรณาการองค์ความรู้และวิธีการแก้ปัญหาแบบองค์รวมเพื่อให้เกิดการพัฒนางานวิจัยที่สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันและอนาคต และนำไปสู่การสร้างคุณค่าและผลประโยชน์ของชาติ ซึ่งในการเสนอแนวคิดตั้ง TASSHA ท่านปลัด อว. มองว่า ถือเป็นการริเริ่มครั้งสำคัญของกระทรวง อว. ที่นำเอาศาสตร์และมิติด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ที่เป็นเรื่องสำคัญของประเทศ มาต่อยอดที่ไม่ใช่แค่เพียงการให้ความรู้ แต่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชาติ ไม่แค่การเข้าใจประวัติศาสตร์แต่คือการเชื่อมโยงกับปัจจุบันและพัฒนาสู่อนาคต

          ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ชื่นชมการทำงาน การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลของ สอวช. ในการจัดทำสมุดปกขาวทิศทางการพัฒนา อววน. เพื่อการฟื้นตัวของประเทศหลังวิกฤตโควิด-19” ที่เป็นเสมือนคู่มือแนวทางบูรณาการนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผน อววน. เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศหลังวิกฤตโควิด และได้เน้นย้ำเมื่อเวลาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแนวทางไปปรับใช้ ต้องมีการตั้งตัวชี้วัดที่ชัดเจนและสามารถวัดผลได้จริงสามารถและสะท้อนผลการดำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรม

 

A10613

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!