หมวดหมู่: บทวิเคราะห์

บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 3-7-2020dbs


จ้างงานนอกภาคการเกษตรดี-น้ำมันขึ้น-แต่กังวลโควิด

  • หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : --

ภาวะตลาดและปัจจัยก่อนหน้า : SET วานนี้ปรับขึ้น ตอบรับความคาดหวังวัคซีน ปิด +24.69 จุด ที่ 1374.13 จุด มูลค่าซื้อขาย 84.5 พันลบ. บวกเหมือนตลาดหุ้นเพื่อนบ้านบริษัทยาไฟเซอร์ อิงค์มีความคืบหน้าการทดสอบวัคซีน คาดว่าจะสามารถผลิตวัคซีน 100 ล้านโดสได้ภายในปลายปีนี้ ตัวเลขภาคการผลิตสหรัฐ-จีน-ยุโรปมิ.ย.ดี และราคาน้ำมันปรับขึ้นสูงตามสต็อกที่สหรัฐที่ร่วงลง ซื้อสุทธิมาก-สถาบัน ขายสุทธิมาก-รายย่อย YTD ต่างชาติขายสุทธิเพิ่มเป็น 220 พันลบ.

# ปัจจัยและกลยุทธ์:

SET มีโอกาสขึ้นต่อจากตัวเลขจ้างงานดี น้ำมันปรับขึ้น แต่ต้องระวังแรงขายจากผู้ติดเชื้อเพิ่ม และสงครามการค้า ปัจจัยบวกคือ ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรและอัตราว่างงานออกมาดี ดาวโจนส์ +92 จุด ราคาน้ำมันดิบโลกปรับขึ้น ดัชนีความกังวลดลงเป็น 27.7 จุด เช้านี้ตลาดหุ้นเพื่อนบ้านปรับเพิ่มถ้วนหน้า ด้านไทย ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคดีขึ้นเป็นเดือนที่ 2 แต่ยังอยู่ระดับต่ำ ส่วนปัจจัยลบคือ กังวลผู้ติดเชื้อสหรัฐสูง เป็นอันดับ 1 ของโลก สงครามการค้าเรื่องความขัดแย้งที่ฮ่องกง ตัวเลขขอสวัสดิการว่างงานและขาดดุลการค้าสหรัฐยังเพิ่ม เข้าหาทองคำ ดาวโจนส์ล่วงหน้าปรับลงเล็กน้อย และความเชื่อมั่นด้านธุรกิจของญี่ปุ่นที่มีต่อไทยปรับลงมากสุดในรอบ 25 ปี

กลยุทธ์ระยะสั้น เข้าไว-ออกไว เล่นรอบเมื่อปรับลง คาดดัชนีซื้อ-ขายในกรอบ 1350-1400 วันนี้ปัจจัยต่างประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี ยกเว้นเรื่องผู้ติดเชื้อ ด้านกลยุทธ์ระยะกลาง-ยาว เนื่องจากเศรษฐกิจโลกและไทยยังย่ำแย่ แต่มีสัญญาณ PMI ดีขึ้น จึงแนะนำทยอยถอยรับหลักทรัพย์พื้นฐานดีที่แนะนำซื้อ หุ้นกลุ่มการแพทย์เข้าไฮซีซัน- BCH,BDMS,CHG,RJH,RPH หุ้น Defensive- ADVANC,CHG ปันผลสูง-KKP,TISCO,LH เติบโต-ฟื้นตัว- MTC,DELTA,TASCO กลุ่มพาณิชย์เด่นจากการคลายล็อกดาวน์ เพิ่มระยะเวลาปิดห้างฯ- CPALL,HMPRO ราคาเนื้อสัตว์ดี- CPF ขนส่ง- หุ้นกลับมาฟื้นตัวเร็ว BEM,BTS หุ้นกลุ่ม REITs & IFFs ปันผลสูง ดอกเบี้ยในตลาดต่ำ- DIF,AIMIRT,HREIT ติดตามหุ้นพลังงาน หลังราคาน้ำมันดิบกลับมาฟื้นตัวดีขึ้น แนวรับคือ 1350-1300 จุด และ แนวต้าน 1380-1400 จุด ส่วนตัดขาดทุนต่ำกว่า1360 จุด ปัจจัยที่น่าติดตาม คือ วันนี้ฝ่ายวิจัยฯออกบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ตัวใหม่คือ RBF ซึ่งเป็นผู้นำตลาดวัตถุส่วนผสมในอาหาร...พื้นฐานแกร่ง คาดการณ์อัตราการเติบโตกำไรสูง ฐานะการเงินดี เป็นเงินสดสุทธิ คำแนะนำ ซื้อ ราคาพื้นฐาน 9.50 บาท ราคาปิดมีส่วนเพิ่มได้อีก 12% เทียบกับราคาพื้นฐาน ด้าน Sentimentกลุ่มสายการบิน โรงแรม และสนามบิน (AOT) ดีขึ้น จากการที่รัฐให้งบกระตุ้นมากกว่า 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งอยู่ในช่วงเปิดให้ลงทะเบียนรับสิทธิประโยชน์

# Stock Pick Today :

BEM คาดธุรกิจฟื้นตัวสูง เปิดเทอม ต้น ก.ค.63 นี้แล้วทำให้ทั้งปริมาณการใช้ทางด่วน และรถไฟฟ้าใต้ดินเพิ่มขึ้นเป็นอย่างดี ปีนี้ถือเป็นปีที่สำเร็จได้ต่ออายุสัมปทานทางด่วนขั้นที่ 2 ออกไปถึง 15 ปี 8 เดือน และเปิดรถไฟฟ้าสีน้ำเงินส่วนขยายได้เต็มวงเป้าหมายต่อไปคือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม คาดว่ากำไรปีนี้-ปีหน้าโตดี+17%/+43% จากภาระตัดจำหน่ายลดลง หลังได้ยืดสัมปทานทางด่วน และปีหน้าฟื้นตัวแข็งแกร่ง แนะนำ ซื้อ ราคาพื้นฐานที่ 10.70 บาท

การวิเคราะห์ทางเทคนิค: สั้น...ภาพยังเป็นบวกเล็กๆ อาจมีรีบาวด์...แต่ยังให้น้ำหนักกับการลงในระยะกลาง ระยะสั้น สัญญาณ Candlestick & Indicators (ยัง)เป็นบวกเล็กๆ {“ปิดบวกแรงเหนือ“SMA10วันต่อ (แต่ติดแนวต้านสำคัญ และมีโครงสร้างขาลง ระยะกลางกดดัน)} ชี้ความน่าจะเป็นของตลาดฯวันนี้แกว่งแบบมีรีบาวด์ฯสั้นๆ(แรงหนุนของ“SMA10”)ก่อน(แล้วจึงลงต่ำ,ตามมา)ได้ แนวต้าน 1380 (หรือ 13901400) จุด {แนวตัดขาดทุน ต่ำกว่า 1360” (แนวรับย่อย 13501330 / 1300จุด)}

Thailand Research Team : reseach-th.dbs.com

Inside Story

Key Drivers TODAY : ปัจจัยต่างประเทศ / ปัจจัยในประเทศ

Economic Focus : การจับจ่ายใช้สอยเริ่มฟื้นตัวหลังผ่อนคลาย Lockdown

Company Guide : RBF (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 9.50)

In The News : ม.หอการค้าไทยระบุว่าเงินสะพัดช่วงเข้าพรรษาลดลง 21%YoY ในปีนี้

ดร.สมคิดเร่งให้หน่วยงานด้านเศรษฐกิจออกมาตรการเพิ่มเติม

ข่าวเด่นวันนี้

Turnover List Watch : คาด IP และ YGG ติด Cash Balance แล้ว

New Listing : JMART-W3, JMART-W4

Key Drivers TODAY

ปัจจัยต่างประเทศ

+ สหรัฐ: ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่ง 4.8 ล้านตำแหน่ง อัตราการว่างงานลดเป็น 11.1%ในเดือนมิ.ย.

# รายงานของกระทรวงแรงงานสหรัฐซึ่งระบุว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่งขึ้น 4.8 ล้านตำแหน่งในเดือนมิ.ย.มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 3 ล้านตำแหน่ง ขณะที่อัตราการว่างงานเดือนมิ.ย. ลดลงสู่ระดับ 11.1%จากระดับ 13.3% ในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นการลดลงเดือนที่สองติดต่อกัน ด้านนักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าอัตราว่างงานจะอยู่ที่ 12.3%

- สหรัฐ: นักลงทุนยังคงกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ในสหรัฐซึ่งมากที่สุดในโลก

# ดัชนีดาวโจนส์ลดช่วงบวกหลังจากที่พุ่งขึ้นกว่า 400 จุดในระหว่างวัน เนื่องจากนักลงทุนยังคงกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ในสหรัฐ โดย Worldometer ซึ่งเป็นเว็บไซต์รายงานข้อมูลล่าสุดที่มีการรวบรวมจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขทั่วโลก ระบุว่า สหรัฐยังคงเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 สูงสุดในโลก โดยจำนวนผู้ติดเชื้อขณะนี้อยู่ที่ 2,780,152 ราย และจำนวนผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 130,798 ราย

-/+ สหรัฐ: ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่ม-ขาดดุลการค้าขยาย-คำสั่งซื้อภาคโรงงานสูงขึ้น

# กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกจำนวน 1.43 ล้านรายในสัปดาห์ที่แล้ว สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.35 ล้านราย

# ขณะที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขขาดดุลการค้าของสหรัฐขยายตัวเพิ่มขึ้น 9.7% ในเดือนพ.ค. สู่ระดับ5.46 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2561 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 5.31หมื่นล้านดอลลาร์ และคำสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐปรับตัวขึ้น 8% ในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบสามเดือน แต่ยังน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 8.9%

+ ตลาดหุ้นสหรัฐ: ดาวโจนส์ปิดบวก 92.39 จุด ขานรับตัวเลขจ้างงานสหรัฐพุ่งเกินคาด

# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (2 ก.ค.) ขณะที่ดัชนี Nasdaq ปิดทำนิวไฮ หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่งขึ้นเกินคาดในเดือนมิ.ย. ซึ่งทำให้นักลงทุนมีความหวังว่า การฟื้นตัวของตลาดแรงงานจะเป็นปัจจัยหนุนเศรษฐกิจให้กลับมาขยายตัวอีกครั้ง อย่างไรก็ดี ดัชนีดาวโจนส์ลดแรงบวกในระหว่างวัน เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจากไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

+ น้ำมัน: WTI ปิดบวก 83 เซนต์ รับตัวเลขจ้างงานสหรัฐแกร่งเกินคาด

# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (2 ก.ค.) หลังจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรพุ่งขึ้นเกินคาดในเดือนมิ.ย. ซึ่งช่วยหนุนสัญญาน้ำมันดิบปิดในแดนบวกติดต่อกันเป็นวันที่สอง หลังจากที่พุ่งขึ้น 1.4% เมื่อวันพุธ อันเนื่องมาจากตลาดขานรับตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐที่ลดลงมากกว่าตัวเลขคาดการณ์คาดการณ์

  • ทองคำ: ปิดพุ่ง $10.1 นลท.รุกซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยหลังยอดโควิดพุ่ง

# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ (2 ก.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัยท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจากไวรัสโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นทั้งในสหรัฐและทั่วโลก

  • วันนี้ 3 ก.ค.63 ตลาดสำคัญต่างๆจะปิดทำการ

# ตลาดหุ้น-น้ำมัน-ทองคำ นิวยอร์กจะปิดทำการซื้อขายในวันศุกร์ที่ 3 ก.ค. เนื่องในวันชาติสหรัฐ

ปัจจัยในประเทศและข่าวหลักทรัพย์

+/- เศรษฐกิจไทย: ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคดีขึ้นต่อเนื่อง หลังจากมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์

# ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 หลังจากมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ แต่ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมยังอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ทำการสำรวจมาในรอบ 21 ปี 9 เดือน เบื้องต้นศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะหดตัวมากขึ้นเป็น -8 ถึง -10% จากเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้ -3.5 ถึง -5%ส่วนการส่งออกไทยปีนี้คาดว่าจะหดตัวในระดับ -8 ถึง -10% เช่นกัน

-การใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบ GSP 4M63 ลดลง 12.08%

# อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) และการใช้สิทธิประโยชน์สำหรับการส่งออกภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) ช่วง 4เดือนของปี 2563 (ม.ค.-เม.ย.) ว่า มีการใช้สิทธิประโยชน์ฯ รวมมูลค่า 21,340.04 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 12.08% มีสัดส่วนการใช้สิทธิประโยชน์ฯ 78.11% ของการใช้สิทธิทั้งหมด

+ รองนายกรัฐมนตรี มอบหมายให้กระทรวงการคลังไปหามาตรการกระตุ้นการบริโภค และท่องเที่ยว

# นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมหารือมาตรการเศรษฐกิจ ร่วมกับกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังไปหามาตรการกระตุ้นการบริโภค และหารือกับกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อหามาตรการเสริมด้านการท่องเที่ยว รวมทั้งพิจารณาแนวทางการพักชำระหนี้ระยะยาวตามคำขอภาคเอกชน

-ความเชื่อมั่นทางธุรกิจของบริษัทญี่ปุ่นที่มีการดำเนินงานอยู่ในประเทศไทย ดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 35 ปีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของบริษัทญี่ปุ่นที่มีการดำเนินงานอยู่ในประเทศไทย ดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 35 ปี

-ความเชื่อมั่นทางธุรกิจของบริษัทญี่ปุ่นที่มีต่อไทย ดิ่งต่ำสุดในรอบ 35 ปี

# หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ เปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นทางธุรกิจของบริษัทญี่ปุ่นที่มีการดำเนินงานอยู่ในประเทศไทย ดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 35 ปี เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

นักวิเคราะห์&กลยุทธ์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

******************************************

 

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!