หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV 8


การปรับปรุงกฎกระทรวงเกี่ยวกับการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ รวม 3 ฉบับ

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการ 1. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. 2. ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และ 3. ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. รวม 3 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
          สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
          1. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
              1.1 แก้ไขคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แบบ ง จากเดิม กำหนดให้ผู้ประสงค์จะขอรับใบ ง จะต้องให้บริการเป็นตัวกลางซื้อขายหน่วยลงทุนภายใต้การจัดการของ บลจ. หลายแห่งแก่ผู้ลงทุน เป็น ให้บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยสามารถยื่นขอรับใบ ง เพื่อให้บริการด้านหน่วยลงทุนโดยไม่จำกัดจำนวน บลจ.
              1.2 แก้ไขเพิ่มเติมให้ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์และธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุน ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 140/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 แทนการกำหนดเป็นเงื่อนไขในการให้ใบอนุญาตตามกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551
          2. ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 140/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 แทนการกำหนดเป็นเงื่อนไขในการให้ใบอนุญาตในกฎกระทรวงการอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ พ.ศ. 2555
          3. ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการประกอบธุรกิจที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 140/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 แทนการกำหนดเป็นเงื่อนไขในการให้ใบอนุญาตในกฎกระทรวงการอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2555
          ทั้งนี้ กค. เสนอว่า
          1) การพัฒนาตลาดทุนไทยนั้น เป้าหมายหนึ่งของแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) ในด้านการพัฒนาตลาดทุนไทยให้สามารถเข้าถึง (accessibility) แข่งได้ (competitiveness) เชื่อมโยง (connectivity) และสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน (sustainability) คือ การทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ตลาดทุนไทยในการออมและลงทุนได้อย่างทั่วถึง และทำให้ประเทศมีความพร้อมรับมือกับสังคมผู้สูงอายุ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) จึงเห็นว่า การสนับสนุนให้มีตัวช่วยด้านการลงทุนที่สามารถเข้าถึงผู้ลงทุนได้เป็นจำนวนมากและทั่วถึง เพื่อลดข้อจำกัดและสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการด้านการลงทุนของผู้ลงทุนเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ที่สนใจจะเข้ามาเป็นผู้ให้บริการด้านหน่วยลงทุน โดยมีรูปแบบการประกอบธุรกิจ (business model) ที่สามารถเข้าถึงประชาชนทั่วไปจำนวนมาก และตอบโจทย์ในเรื่องการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางเงินและการลงทุนได้อย่างทั่วถึง
          แต่อย่างไรก็ตาม การเข้าถึงบริการทางเงินและการลงทุนดังกล่าวยังติดอุปสรรคทางด้านหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจ เนื่องจากกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แบบ ง (ใบ ง) เช่น ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยต้องให้บริการเป็นตัวกลางด้านหน่วยลงทุนภายใต้การจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์ ประเภทการจัดการกองทุนรวม (บจล.) หลายบริษัทแก่ผู้ลงทุน ส่งผลให้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แบบ ง ต้องมีการให้บริการเป็นต้วกลางด้านหน่วยลงทุนภายใต้การจัดการของ บลจ. หลายบริษัท อันเป็นการจำกัดรูปแบบการประกอบธุรกิจ ซึ่งไม่สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถประกอบธุรกิจได้ตามความถนัด เพื่อให้ผู้ลงทุนมีตัวช่วยในการลงทุนที่หลากหลาย ดังนั้น จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 เพื่อให้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แบบ ง สามารถให้บริการเป็นตัวกลางด้านหน่วยลงทุนได้ โดยไม่ติดเงื่อนไขที่จะต้องให้บริการภายใต้การจัดการโดย บลจ. หลายบริษัท อันจะทำให้ผู้ประกอบธุรกิจที่มีความพร้อมในการให้บริการสามารถประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ได้ตามความถนัด และส่งผลให้ผู้ลงทุนมีตัวช่วยในการลงทุนที่หลากหลาย
          2) โดยที่นิยามคำว่า “ธุรกิจหลักทรัพย์” ในมาตรา 4 (7) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 หมายความว่า กิจการอื่นที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ตามที่รัฐมนตรีกำหนดตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (คณะกรรมการ ก.ล.ต.) และต่อมารัฐมนตรีว่า การกระทรวงการคลังโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าว ได้ออกกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 กฎกระทรวงการอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ พ.ศ. 2555 และ กฎกระทรวงการอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2555 เพื่อกำหนดประเภทธุรกิจหลักทรัพย์ ได้แก่ ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการเงินร่วมลงทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ และธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ รวมทั้งได้กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาต ตามกฎกระทรวงทั้ง 3 ฉบับ ต้องดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนกำหนด
          3) การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กำหนดประเภทธุรกิจหลักทรัพย์เพิ่มเติมตามข้อ 2) ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 มาตรา 140/1 บัญญัติให้บริษัทหลักทรัพย์ในประเภทธุรกิจหลักทรัพย์ตาม (7) ของบทนิยามคำว่า “ธุรกิจหลักทรัพย์” ในมาตรา 4 ประกอบธุรกิจตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด
          การที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการให้เป็นไปตามประกาศกำหนด สำหรับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ในประเภทที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนดเพิ่มเติมตามข้อ 2. นั้น ส่งผลให้บทกำหนดโทษเกี่ยวกับการกระทำความผิดตามมาตรา 282 และมาตรา 283 (บริษัทหลักทรัพย์ และกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งต้องรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์ และกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งต้องรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทหลักทรัพย์ ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด) ครอบคลุมผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ครบทุกประเภท ซึ่งจะทำให้การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์อยู่ภายใต้การกำกับดูแลที่เท่าเทียมกัน ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องแก้ไขกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2551 กฎกระทรวงการอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ พ.ศ. 2555 และ กฎกระทรวงการอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. 2555 เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติในมาตรา 140/1 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมที่ให้คณะกรรมการกำกับดูแลตลาดทุนในการกำกับดูแลดังกล่าว
          4) คณะกรรมการ ก.ล.ต.
              4.1) ในคราวการประชุมครั้งที่ 3/2562 เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2562 มีมติเห็นชอบหลักการในการปรับปรุงเงื่อนไขในการให้ใบอนุญาตธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนดเพิ่มเติม เพื่อให้ธุรกิจดังกล่าวอยู่ภายใต้การกำกับดูแลที่เท่าเทียมกันกับธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทอื่น
              4.2) ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2562 เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2562 มีมติเห็นชอบหลักการให้ผู้ที่สนใจขอรับใบ ง สามารถให้บริการเป็นตัวกลางด้านหน่วยลงทุนได้โดยไม่ติดเงื่อนไขที่จะต้องให้บริการภายใต้การจัดการโดย บลจ. หลายแห่ง เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจที่มีความพร้อมในการให้บริการสามารถประกอบธุรกิจได้ตามความถนัด ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ลงทุนมีตัวช่วยในการลงทุนที่หลากหลาย
           จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงรวม 3 ฉบับมาเพื่อดำเนินการ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 30 มิถุนายน 2563
สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396


AO6658

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!