หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV9


รายงานการเงินรวมภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562

  

    คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้

  1. รับทราบรายงานการเงินรวมภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
  2.    ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดให้ความสำคัญ ควบคุม กำกับดูแล หน่วยงานภายใต้สังกัดส่งรายงานการเงินของหน่วยงานภายในระยะเวลาที่พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 กำหนด หากไม่สามารถส่งรายงานการเงินให้กระทรวงการคลังได้ตามกำหนด ให้หน่วยงานรายงานเหตุผลหรือปัญหาอุปสรรคต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัดทราบ
  3.     ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดควบคุม กำกับดูแล หน่วยงานภายใต้สังกัดจัดทำบัญชีและรายงานการเงินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
  4. ให้กระทรวงการคลังกำหนดมาตรการและแนวทางในการเร่งรัด ติดตามให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐจัดส่งรายงานการเงินในปีต่อๆ ไป ให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

สาระสำคัญของเรื่อง

กค. รายงานว่า

  1.      ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 กค. ได้รวบรวมรายงานการเงินรวมภาครัฐ จำนวน 8,412 หน่วยงาน จากทั้งหมด 8,431 หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 99.77 ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงินและงบแสดงผลการดำเนินงานของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ ได้แก่ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐสภา ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์กรอัยการ องค์การมหาชน ทุนหมุนเวียน ที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กฎหมายกำหนด

     ทั้งนี้ จะไม่รวมรายงานการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เนื่องจากคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐได้มีมติเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2561 ให้ กค. แยกรายงานการเงินของ ธปท. ออก เพื่อให้เกิดความชัดเจน เนื่องจากหนี้สินของ ธปท. ไม่มีความเกี่ยวข้องกับฐานะการคลังของประเทศ แต่ยังคงกำหนดให้รายงานการเงินของ ธปท. ต้องแสดงไว้ในรายงานการเงินรวมภาครัฐ เพื่อให้เป็นไปตามนัยมาตรา 77 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ  พ.ศ. 2561 โดยภาพรวมของรายงานการเงินรวมภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 สรุปได้ ดังนี้

รายการ  จำนวน

(แสนล้านบาท)    รายละเอียด

สินทรัพย์ 296.14    เป็นสินทรัพย์ของสถาบันการเงินของรัฐ 89.17 แสนล้านบาท ของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ 206.97 แสนล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของที่ดินราชพัสดุ 47.06 แสนล้านบาท เงินลงทุนภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) 22.47 แสนล้านบาท

หนี้สิน     205.86    เป็นหนี้สินของสถาบันการเงินของรัฐ 80.13 แสนล้านบาท และเป็นของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ 125.73 แสนล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินกู้ยืมระยะยาวที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) 53.54 แสนล้านบาท

รายได้     80.34      ส่วนใหญ่เป็นรายได้ภาษี 27.55 แสนล้านบาท และรายได้จากการขายสินค้าและบริการ 43.12 แสนล้านบาท (ร้อยละ 91 เป็นของรัฐวิสาหกิจ)

ค่าใช้จ่าย 76.19      เป็นต้นทุนขายสินค้าและบริการ 28.78 แสนล้านบาท (ร้อยละ 98 เป็นของรัฐวิสาหกิจ) รองลงมาเป็นค่าใช้จ่ายบุคลากร 13.55 แสนล้านบาท (ร้อยละ 70 เป็นของหน่วยงานของรัฐ)ทั้งนี้ สามารถจำแนกเป็นรายงานเงินรวมของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ รายงานการเงินรวมของรัฐวิสาหกิจ และรายงานการเงินรวมของ อปท. สรุปได้ดังนี้

       1.1 รายงานการเงินรวมของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ

รายการ  จำนวน

(แสนล้านบาท)    รายละเอียด

สินทรัพย์ 156.36    เป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ 64.24 แสนล้านบาท (ส่วนใหญ่เป็นที่ดินราชพัสดุ 47.06 แสนล้านบาท) รองลงมาเป็นเงินลงทุนระยะยาว 44.76 แสนล้านบาท (ส่วนใหญ่เป็นเงินลงทุนภายใต้การดูแลของ สคร. 22.47 แสนล้านบาท)

หนี้สิน 81.87 เป็นเงินกู้ยืมระยะยาว 53.57 แสนล้านบาท (ส่วนใหญ่เป็นเงินกู้ยืมระยะยาวที่อยู่ในความรับผิดชอบของ สบน. 53.54 แสนล้านบาท) รองลงมาเป็นประมาณการหนี้สินระยะยาว 14.07 แสนล้านบาท (ส่วนใหญ่เป็นประมาณการหนี้สินประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพของกองทุนประกันสังคม 13.98 แสนล้านบาท)

รายได้ 35.81 ส่วนใหญ่เป็นรายได้แผ่นดิน 25.19 แสนล้านบาท

ค่าใช้จ่าย 33.84เป็นค่าใช้จ่ายบุคลากร 9.43 แสนล้านบาท ค่าใช้จ่ายเงินอุดหนุน 7.52 แสนล้านบาท ค่าตอบแทน ใช้สอย วัสดุ สาธารณูปโภค 6.03 แสนล้านบาท และค่าใช้จ่ายบำเหน็จบำนาญ 2.94 แสนล้านบาท                            

1.2 รายงานการเงินรวมของรัฐวิสาหกิจ

รายการ  จำนวน

(แสนล้านบาท)    รายะเอียด

สินทรัพย์ 158.07    รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินของรัฐ

- สินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 91.29 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (ธนาคารกรุงไทยฯ) 28.13 แสนล้านบาท รองลงมาเป็นธนาคารออมสิน 26.80 แสนล้านบาท และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 19.07 แสนล้านบาท

- หนี้สินรวมทั้งสิ้น 80.27 แสนล้านบาท ส่วนใหญเป็นของธนาคารกรุงไทยฯ 25.12 แสนล้านบาท รองลงมาเป็นธนาคารออมสิน 25.71 แสนล้านบาท และ ธ.ก.ส. 17.73 แสนล้านบาท

- รัฐวิสาหกิจที่มีผลขาดทุน 1 แห่ง คือ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย มีผลขาดทุน 0.0117 แสนล้านบาท

รัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินของรัฐ

- สินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 66.78 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) 24.19 แสนล้านบาท รองลงมาเป็นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 9.23 แสนล้านบาท และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 6.44 แสนล้านบาท

- หนี้สินรวมทั้งสิ้น 45.77 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นของ ปตท. 11.30 แสนล้านบาท รองลงมาเป็น รฟท. 5.99 แสนล้านบาท และองค์การคลังสินค้า 5.92 แสนล้านบาท

- รัฐวิสาหกิจที่มีผลขาดทุนสูงสุด คือ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 0.19 แสนล้านบาท รองลงมาเป็นองค์การคลังสินค้า 0.14 แสนล้านบาท

หนี้สิน     126.04

รายได้     41.69

ค่าใช้จ่าย 38.57                             

1.3 รายงานการเงินรวมของ อปท.

รายการ  จำนวน

(แสนล้านบาท)    รายละเอียด

สินทรัพย์ 7.51        ส่วนใหญ่เป็นเงินสดและเงินฝากธนาคาร 3.96 แสนล้านบาท เงินลงทุนระยะสั้น 1.95 แสนล้านบาท

หนี้สิน     1.82        ส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายค้างจ่าย 1.11 แสนล้านบาท โดยมีเงินสะสมของ อปท. 5.69 แสนล้านบาท ประกอบด้วย เงินสะสมที่สามารถนำไปใช้ได้ 2.78 แสนล้านบาท (ไม่รวมเงินสะสมส่วนของกรุงเทพมหานคร)

รายได้     6.82        ส่วนใหญ่เป็นภาษีจัดสรรจากรัฐบาล 3.31 แสนล้านบาท เงินอุดหนุนจากรัฐบาล 2.82 แสนล้านบาท

ค่าใช้จ่าย 6.10        ส่วนใหญ่เป็นเงินเดือน 1.60 แสนล้านบาท เป็นค่าที่ดิน สิ่งก่อสร้าง และครุภัณฑ์ 1.33 แสนล้านบาท                 

  1. รายงานการเงินรวมของ ธปท.

รายการ  จำนวน

(แสนล้านบาท)    รายละเอียด

สินทรัพย์ 77.13      สินทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นเงินลงทุนในหลักทรัพย์ 63.19 แสนล้านบาท รองลงมาเป็นเงินสดและเงินฝาก 6.29 แสนล้านบาท

หนี้สิน     84.25      หนี้สินส่วนใหญ่เป็นตราสารหนี้ ธปท. 49.62 แสนล้านบาท รองลงมาเป็นธนบัตรออกใช้ (บัญชีทุนสำรองเงินตรา) 17.14 แสนล้านบาท

รายได้     1.58        รายได้ส่วนใหญ่เป็นดอกเบี้ยรับ 1.42 แสนล้านบาท

ค่าใช้จ่าย 3.01        ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นการชดเชยการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสุทธิ 1.92 แสนล้านบาท                  

  1. ผลการวิเคราะห์ที่สำคัญ ประกอบด้วย

       3.1 หนี้สินรวมของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ 81.87 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นเงินกู้ยืมระยะยาวของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ 53.54 แสนล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 65.40) และประมาณการหนี้สินประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพของกองทุนประกันสังคม 13.98 แสนล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 17.08) ดังนั้น จึงควรบริหารการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้กองทุนประกันสังคมเป็นหลักประกันที่มั่นคง

       3.2 ค่าใช้จ่ายรวมของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ 33.84 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายบุคลากร 9.43 แสนล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 27.87) ทั้งนี้ ส่วนราชการควรปรับอัตรากำลังให้เหมาะสมและสอดคล้องกับโครงสร้างของส่วนราชการ

  1.   ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 มีหน่วยงานภาครัฐที่ไม่ส่งข้อมูลรายงานการเงินภายในระยะเวลา 90 วัน ตามมาตรา 70 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 จำนวน 67 หน่วยงาน ได้แก่ หน่วยงานของรัฐ จำนวน 27 หน่วยงาน รัฐวิสาหกิจ จำนวน 3 หน่วยงาน และ อปท. จำนวน 37 หน่วยงาน และหน่วยงานของรัฐที่ไม่ส่งรายงานการเงิน จำนวน 19 หน่วยงาน ได้แก่ หน่วยงานของรัฐ จำนวน 4 หน่วยงาน รัฐวิสาหกิจ จำนวน 4 หน่วยงาน และ อปท. จำนวน 11 หน่วยงาน

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396  

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!