หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV 7


รายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2562 รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2561 ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และรายงานงบการเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2562

    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ ดังนี้

  1.    รับทราบรายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติประจำปีงบประมาณ 2562 และรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2561 ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเสนอ
  2. ในส่วนของรายงานงบการเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2562 นั้น ให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติดำเนินการให้ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 43 (ที่ให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเสนองบดุลและรายงานการรับจ่ายเงินของกองทุนในปีที่ล่วงมา ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบรับรองแล้วก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ) แล้วจึงเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง

สาระสำคัญของเรื่อง

          คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) รายงานว่า

  1. รายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2562 ได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 โดยการสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับคนไทยภายใต้แผนปฏิบัติราชการของ สปสช. ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) มุ่งหวังให้ ‘ทุกคนที่อาศัยอยู่บนแผ่นดินไทย ได้รับความคุ้มครองหลักประกันสุขภาพอย่างถ้วนหน้าด้วยความมั่นใจ’ มีเป้าประสงค์หลักคือ ประชาชนเข้าถึงบริการ การเงินการคลังมั่นคง ดำรงธรรมาภิบาล

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ได้รับการจัดสรรงบประมาณสำหรับผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 48.575 ล้านคน วงเงิน 181,584.09 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.05 ของงบประมาณแผ่นดิน ในอัตราเหมาจ่ายเท่ากับ 3,426.56 บาทต่อผู้มีสิทธิ และได้รับการจัดสรรงบประมาณการบริหารจัดการใน สปสช. จำนวน 1,344.81 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.74 เทียบกับงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยมีผลการดำเนินงานสรุปได้ ดังนี้

           1) การเบิกจ่ายงบประมาณ

       มีการเบิกจ่ายงบกองทุนหลักประกันสุขภาะพแห่งชาติให้กับหน่วยบริการที่จัดบริการให้ผู้มีสิทธิ จำนวน 133,802.28 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 99.65 (จากงบประมาณ 134,269.13 ล้านบาท)

      2) ความครอบคลุมสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

       ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ลงทะเบียนสิทธิเลือกหน่วยบริการประจำตน จำนวน 47.52 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 99.88 (เป้าหมาย 47.58 ล้านคน) ครอบคลุมสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

       หน่วยบริการขึ้นทะเบียนให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจำนวน 12,334 แห่ง ซึ่งหนึ่งแห่งสามารถขึ้นทะเบียนได้มากกว่าหนึ่งประเภท ได้แก่ ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิ จำนวน 11,750 แห่ง หน่วยบริการประจำ จำนวน 1,360 แห่ง และหน่วยบริการรับส่งต่อ จำนวน 1,382 แห่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2561 จำนวน 183 แห่ง

          4) การเข้าถึงบริการสุขภาพ

          ผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพเข้าถึงบริการพื้นฐานในงบเหมาจ่ายรายหัว ประกอบด้วย 1) บริการสุขภาพทั่วไป 2) บริการกรณีเฉพาะ 3) บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 4) บริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ 5) บริการแพทย์แผนไทย และ 6) ยาและเวชภัณฑ์ และบริการเฉพาะกลุ่ม เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง

           5) คุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข

          (1) หน่วยบริการรับส่งต่อได้รับการรับรองตามกระบวนการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลระดับ HA (Hospital Accreditation) จำนวน 898 แห่ง จากหน่วยบริการที่รับการประเมิน 1,078 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 83.30

          (2) ประชาชนพึงพอใจต่อการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในระดับมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 97.11 ผู้ให้บริการ ร้อยละ 75.99 และองค์กรภาคี ร้อยละ 93.21

           6) การคุ้มครองสิทธิ     

          (1) ประชาชนและผู้ให้บริการสอบถามข้อมูล ร้องเรียน ร้องทุกข์ และประสานส่งต่อผู้ป่วยผ่านช่องทางต่างๆ จำนวน 916,428 เรื่อง

          (2) ผู้รับบริการยื่นคำร้องช่วยเหลือเบื้องต้นจำนวน 1,188 คน ได้รับการชดเชย 970 คน ผู้ให้บริการยื่นคำร้อง 538 คน ได้รับการชดเชย 464 คน

         (3) มีศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการเพื่อคุ้มครองสิทธิจำนวน 886 แห่ง ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน จำนวน 185 แห่ง (ใน 77 จังหวัด) และหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน ตามมาตรา 50(5) จำนวน 129 แห่ง (ใน 75 จังหวัด)

          7) การมีส่วนร่วมพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

        มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 7,738 แห่ง (จาก 7,776 แห่ง) เข้าร่วมบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ในการดูแลสุขภาพประชาชนกลุ่มต่างๆ ในพื้นที่ เช่น กลุ่มที่มีภาวะเสี่ยง กลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มวัยทำงาน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง วงเงิน 3,719 ล้านบาท ประกอบด้วย งบจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2,474 ล้านบาท (ร้อยละ 66.53) เงินสมทบจาก อปท. 1,218 ล้านบาท (ร้อยละ 32.75) และเงินสมทบจากชุมชนและอื่น ๆ 27 ล้านบาท (ร้อยละ 0.72)

          8) ความท้าทายในการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

          (1) การบริหารระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้สอดรับกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อสร้างโอกาสให้ประชาชนทุกกลุ่มได้รับความคุ้มครองหลักประกันด้านสุขภาพอย่างเสมอภาคทั่วถึง และยังต้องคงไว้ซึ่งการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพมาตรฐานอย่างเท่าเทียมกันตามความจำเป็น และได้รับการปกป้องไม่ให้ล้มละลายหรือยากจนลงจากภาระค่าใช้จ่ายเมื่อเจ็บป่วย

         (2) การสร้างความตระหนักต่อสาธารณะและปรับกรอบคิดในการใช้งบประมาณของรัฐเพื่อการลงทุนด้านสุขภาพของประชาชน การเพิ่มความตระหนักรู้ด้านสุขภาพและการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนเพื่อสร้างผลิตภาพเป็นผลได้ทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับประเทศ ซึ่งถือเป็นการใช้งบประมาณภาครัฐที่มีจำกัด อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

          (3) การสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพ คุณภาพมาตรฐาน และความเพียงพอของระบบบริการสาธารณสุข เพื่อบริหารจัดการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ตามความจำเป็นและเท่าเทียมกันในทุกกลุ่ม ทุกพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการได้ตามความจำเป็น การลดความแออัดในโรงพยาบาลใหญ่ และการขยายหน่วยร่วมให้บริการรองรับการจัดบริการที่ประชาชนยังเข้าถึงได้น้อย

(4) การสร้างพันธมิตรและขยายการมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผู้เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

(5) การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ การจัดบริการสาธารณสุข และการพัฒนางานด้านต่างๆ รวมทั้งการจัดการ Big data ด้านสุขภาพ เพื่อสนับสนุนระบบกำกับติดตามประเมินผลและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

  1. รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินของกองทุนฯ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2561 ซึ่งผ่านการรับรองจากสำนักงงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แล้ว โดยเห็นว่า งบการเงินดังกล่าวถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด ทั้งนี้ ฐานะการเงินของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และงบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน สำหรับ ปีสิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2561 สรุปได้ ดังนี้

หน่วย : ล้านบบาท

รายการ ปี 2561 ปี 2560 เพิ่ม/(ลด)

งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2561

- สินทรัพย์              15,349.64             13,903.97             1,445.67

- หนี้สิน   12,911.57             12,686.15             225.42

- สินทรัพย์สุทธิ       2,438.07               1,217.82               1,220.25

งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2561

- รายได้   140,153.61           132,502.18           7,651.43

- ค่าใช้จ่าย             139,035.27           134,736.97           4,298.30

- รายได้สูง/(ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ      1,118.34               (2,234.79)             3,353.13

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 5 พฤษภาคม 2563

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396   

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!