หมวดหมู่: ธปท.

1aaa KBOA6


คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 1.25 เป็นร้อยละ 1.00 ต่อปี
      คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยปี 2563 มีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าประมาณการเดิมและต่ำกว่าระดับศักยภาพมากขึ้น จากการระบาดของไวรัสโคโรนา ความล่าช้าของ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี และภัยแล้ง
     คณะกรรมการฯ จึงเห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเพิ่มขึ้นจะช่วยลดผลกระทบจากปัจจัยลบที่เกิดขึ้น รวมทั้งสนับสนุนสภาพคล่องและการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้กับภาคธุรกิจและครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ
      สามารถอ่านรายละเอียดต่อได้ที่นี่ครับ https://bit.ly/2Sio7Lz

The Committee voted unanimously to cut the policy rate by 0.25 percentage point from 1.25 to 1.00 percent.
      The Committee assessed that the Thai economy would expand at a much lower rate in 2020 than the previous forecast and much further below its potential due to the coronavirus outbreak, the delayed enactment of the Annual Budget Expenditure Act, and the drought.

      The Committee viewed that a more accommodative monetary policy stance would alleviate the negative impacts. Monetary accommodation would also support liquidity provision and debt restructuring for businesses and households severely affected from the economic slowdown, both of which should be urgently implemented.
.
For more information, click https://bit.ly/2Un8k0J

#แบงก์ชาติ #กนง #ลดดอกเบี้ย #นโยบายการเงิน

1aaa Kทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส

กนง.มีมติลดดบ.เหลือ 1% สู้ภัยโคโรน่า –เล็งหั่นเป้าจีดีพีปี 63 มี.ค.นี้

     กนง. มีมติเอกฉันท์ หั่นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เหลือ 1% ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เหตุไวรัสโคโรน่า-พ.ร.บ.งบปี 63 กระทบภาพรวมเศรษฐกิจขยายตัวต่ำกว่าคาด เล็งหั่นเป้าจีดีพีปีนี้ ช่วงเดือนหน้า

  นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และในฐานะ เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมกนง.มีมติเอกฉันท์ ลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ต่อปี จาก 1.25% เหลือ 1% ต่อปีโดยมีผลทันที ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในประวัติการณ์

    สำหรับ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ คณะกรรมการประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2563 มีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าประมาณการเดิมและต่ำกว่าศักยภาพมาก จากการระบาดไวรัสโคโรน่า ความล่าช้าของพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 (ต.ค.62-ก.ย.63) และภัยแล้ง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อตลอดช่วงประมาณการ

  ด้านเสถียรภาพระบบการเงินเปราะบางเพิ่มขึ้นจากแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องประสานมาตรการทั้งการเงินและการคลัง คณะกรรมการจึงเห็นว่า นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเพิ่มขึ้นจะช่วยลดผลกระทบจากปัจจัยลบที่เกิดขึ้น รวมทั้งสนับสนุนสภาพคล่องและการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้กับภาคธุรกิจและครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งจะต้องเร่งดำเนินการให้เกิดผลชัดเจนขึ้น

  ขณะที่การส่งออกมีแนวโน้มลดลงจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับห่วงโซ่การผลิตในภูมิภาคด้วย สำหรับด้านอุปสงค์ในประเทศ การใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มขยายตัวต่ำลงจากการประกาศใช้พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ล่าช้าและยังมีความไม่แน่นอนสูง นอกจากนี้ การบริโภคเอกชนยังได้รับแรงกดดันจากรายได้ครัวเรือนที่มีแนวโน้มชะลอลงมากขึ้นทั้งครัวเรือนในภาคบริการ เกษตร และอุตสาหกรรม รวมถึงหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง

   ทั้งนี้ คณะกรรมการ ให้ติดตามผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนา ความล่าช้าของการเบิกงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 และภาวะภัยแล้งที่อาจรุนแรงกว่าที่ประเมินไว้ รวมทั้งสภาวะกีดกันทางการค้าและความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์​ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง

   “จากการประเมินว่า ครึ่งแรกของปีนี้จะได้รับผลกระทบแน่นอน จากสถานการณ์ดังกล่าว ซึ่งผลกระทบเกิดขึ้นพอสมควรจึงทำให้กนง.ตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ย แต่จะมากหรือน้อยคงต้องติดตาม ทั้งนี้จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทำให้กนง.อาจปรับประมาณการเศรษฐกิจทั้งปีนี้ในช่วงเดือนมีนาคม ”นายทิตนันทิ์ กล่าว

   สำหรับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2563-2564 มีแนวโน้มต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อตลอดช่วงประมาณการ ตามอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ชะลอลงตามแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่อยู่ในระดับต่ำ รวมถึงราคาพลังงานต่ำกว่าคาดเนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันมีแนวโน้มลดลงจากการระบาดของไวรัสโคโรนา แม้อัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสดจะปรับเพิ่มขึ้นบ้างจากภัยแล้ง

   อย่างไรก็ตาม ภาวะการเงินที่ผ่านมาอยู่ในระดับผ่อนคลาย โดยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลง สภาพคล่องในระบบการเงินอยู่ในระดับสูง แต่สินเชื่อภาคธุรกิจมีแนวโน้มชะลอลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจ ด้านอัตราแลกเปลี่ยน แม้ว่าเงินบาทอ่อนค่าลงบ้างเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้าคู่แข่ง แต่ยังไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทย และมีแนวโน้มผันผวน

   “คณะกรรมการจะติดตามสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนและเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด ท่ามกลางความไม่แน่นอนด้านต่างประเทศที่มีอยู่สูง รวมถึงให้ติดตามประสิทธิผลของการผ่อนคลายกฎเกณฑ์กำกับดูแลแลกเปลี่ยนเงินเพื่อเอื้อให้เงินทุนไหลออก และสนับสนุนให้ธปท.ดำเนินมาตรการเพิ่มเติมต่อเนื่องร่วมกับภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวเนื่อง”นายทิตนันทิ์ กล่าว

   นายทิตนันทิ์ กล่าวว่า ระบบการเงินโดยรวมมีความเปราะบางมากขึ้น จากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ชะลอตัวโดยเฉพาะความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนและธุรกิจเอสเอ็มอี คณะกรรมการเห็รว่ามาตรการทางการเงินการคลังต่างๆที่ภาครัฐและธปท.ได้เร่งดำเนินการเป็นการช่วยเหลือที่ตรงจุด

   ทั้งนี้ คณะกรรมการจะติดตามประสิทธิผลของมาตรการต่างๆอย่างใกล้ชิด รวมถึงติดตามพฤติกรรมการก่อหนี้และความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนและธุรกิจเอสเอ็มอี พฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นในภาวะดอกเบี้ยต่ำ การขยายสินทรัพย์และความเชื่อมโยงภายในของสหกรณ์ออมทรัพย์ และการก่อหนี้ของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่อาจนำไปสู่การประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควร ดังนั้น คณะกรรมการ จึงเห็นว่าควรใช้มาตรการกำกับดูแลสถาบันการเงิน และมาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินร่วมกันในจังหวะที่เหมาะสม

   อย่างไรก็ตาม มองไปข้างหน้า คณะกรรมการจะติดตามพัฒนาการของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ และเสถียรภาพระบบการเงิน รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยเฉพาะผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี และภัยแล้ง เพื่อประกอบการดำเนินนโยบายการเงินในระยะต่อไป โดยพร้อมใช้เครื่องมือเชิงนโยบายอย่างเหมาะสม รวมทั้งจะติดตามปัญหาเชิงโครงสร้างที่กระทบกับความสามารถในการแข่งขันและแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่งต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังจากทุกภาคส่วน

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!