หมวดหมู่: เกษตร

1aaa Kดร.วิชาญ อิงศรีสว่าง


กรมประมง ก้าวไปสู่มาตรฐานสากลอีกขั้น หลัง..สหรัฐอเมริกา ประกาศ ! รับรองระบบตรวจสอบควบคุมปลาหนังของไทย ผู้ประกอบการเตรียมยื่นคำขอส่งออกได้ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป

    กรมประมง แจ้งผู้ประกอบการที่ประสงค์จะส่งออกผลิตภัณฑ์ปลากลุ่มปลาหนัง (Siluriformes fish and fish products) ไปยังสหรัฐอเมริกา เตรียมยื่นคำขอได้ตั้งแต่บัดนี้ หลังสหรัฐฯ ประกาศรับรองระบบความปลอดภัยของการผลิตปลาหนังของไทย และอนุญาตให้นำเข้าสินค้าฯ ที่ผลิตโดยโรงงานไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยจากกรมประมง มีผล 5 ธันวาคมนี้ เป็นต้นไป

     จากการที่ประเทศไทยได้ยื่นใบสมัครเข้ารับการตรวจสอบความเท่าเทียมระบบตรวจสอบควบคุมปลากลุ่มปลาหนัง(Siluriformes fish and fish products) กับหน่วยงาน United States Department of Agriculture (USDA) , Food Safety and Inspection Service (FSIS) สหรัฐฯ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 เพื่อที่จะดำเนินการตามประกาศข้อปฏิบัติของสหรัฐฯเกี่ยวกับการส่งออกปลากลุ่มปลาหนัง

     ดร.วิชาญ อิงศรีสว่าง  รองอธิบดีกรมประมง ในฐานะที่กำกับดูแลหน่วยงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำของกรมประมง เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไป ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ผลิตจากปลาในกลุ่มปลาหนัง หรือที่เรียกว่า Siluriformes fish และผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ ทั้งปลาสด ปลาแปรรูป สามารถส่งออกไปตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกาได้แล้ว

     โดยหน่วยงาน Food Safety and Inspection Service (FSIS) กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) ซึ่งได้ประกาศในกฎระเบียบสุดท้าย (final rule) รับรองระบบความปลอดภัยของการผลิตปลา กลุ่มปลาหนัง (Siluriformes fish and fish products) ของไทยให้มีความเท่าเทียมกับระบบสหรัฐฯ ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย Federal Meat Inspection Act (FMIA) และอนุญาตให้นำเข้าสินค้าปลาหนัง (ดิบ) ที่ผลิตโดยโรงงานไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยจากกรมประมง เพื่อส่งออกไปยังสหรัฐฯ ได้ ภายใต้เงื่อนไขว่าสินค้านำเข้ายังคงต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากเจ้าหน้าที่ FSIS ณ สถานที่ที่นำสินค้าเข้า (U.S.points-of-entry) ด้วย ซึ่งการก้าวไปสู่มาตรฐานในครั้งนี้ คือ ผลงานของหน่วยงานกองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมงของกรมประมง ที่ทุ่มเทปรับปรุงคุณภาพการตรวจรับรองจนสามารถผ่านการประเมินการรับรองความเท่าเทียมของระบบความปลอดภัย (Equivalence Process) จากสหรัฐอเมริกาที่กำหนดไว้ ทั้งการประเมินจากเอกสารและการเดินทางมาตรวจสอบระบบและกระบวนการการควบคุมการผลิตสินค้าประมง อาทิ ตรวจสอบฟาร์มเลี้ยง โรงงานที่จะส่งออก จนกระทั่งประเทศไทยเป็น 1 ใน 3 ประเทศที่ USDA ให้การรับรอง  ถึงแม้จะใช้เวลาดำเนินการถึง 3 ปีก็ตาม

      ทั้งนี้ มีการประเมินว่าในปี 2563 ผลิตภัณฑ์จากปลากลุ่มปลาหนังที่จะส่งออกไปยังสหรัฐฯ อาทิ ปลาดุกสดแช่เย็น/แช่แข็งเนื้อปลาดุกแบบฟิลเลสด/แช่เย็น/แช่เย็นจนแข็ง  ปลาดุกแห้ง ฯลฯ จะสามารถสร้างมูลค่าไม่น้อยกว่าในอดีตที่ผ่านมา คือ ไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท

      โอกาสนี้ กรมประมงจึงขอประชาสัมพันธ์ไปยังผู้ประกอบการที่ประสงค์จะส่งออกสินค้าปลาหนัง (ดิบ) ไปยังสหรัฐอเมริกาหากต้องการขึ้นทะเบียนสามารถยื่นขอตรวจรับรองสุขลักษณะและระบบคุณภาพ HACCP และยื่นแบบคำขอรับรองจากกรมประมง โดยเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  1. หนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลจากกระทรวงพาณิชย์ กรณีไม่ใช่นิติบุคคลให้แนบสำเนาทะเบียนบ้านของสถานแปรรูปฯพร้อมสำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของกิจการ
  2. ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนบริษัท
  3. ใบอนุญาตผลิตอาหารจากกระทรวงสาธารณสุข
  4. ใบอนุญาตตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานจากกระทรวงอุตสาหกรรม
  5. ทะเบียนผู้ประกอบอาชีพในการประมง (ทบ.2)
  6. คู่มือการจัดระบบวิเคราะห์อันตรายและควบคุมจุดวิกฤติ
  7. แผนที่แสดงที่ตั้งโรงงาน
  8. หนังสือมอบอำนาจในการติดต่อขอการรับรอง

       โดยผู้ประกอบการสามารถติดต่อขอรับการรับรองได้ที่กองตรวจสอบคุณภาพสินค้า กรมประมง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์/โทรสาร 0 2558 0142 สำหรับผู้ประกอบการส่วนภูมิภาคสามารถขอการรับรองได้ที่ศูนย์วิจัยและตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง จังหวัดสมุทรสาคร  โทรศัพท์ 0 3441 0517 ถึง 18 ต่อ 208 โทรสาร 0 3445 7423 ศูนย์วิจัยและตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง จังหวัดสุราษฎร์ธานี  โทรศัพท์ 0 7731 0728 หรือ 0 7731 0845 โทรสาร 0 7731 0898 และศูนย์วิจัยและตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง จังหวัดสงขลา โทรศัพท์ 0 7431 2037 โทรสาร 0 7431 4797 ในวันเวลาราชการ

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

ais 790x90GC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!