หมวดหมู่: พลังงาน

1.AAA A AAA7 EN


ไทยเจ้าภาพประชุมผู้นำพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 37 กวาด 23 รางวัล อาเซียน เอนเนอร์ยี่ อวอร์ด แชมป์สูงสุดต่อเนื่องปีที่ 10

      กระทรวงพลังงาน โชว์ความสำเร็จผู้ประกอบการไทยคว้ารางวัลเวที อาเซียน เอนเนอร์ยี่ อวอร์ด ประจำปี 2562 (ASEAN Energy Awards 2019) กวาด 23 รางวัล ครองแชมป์รางวัลสูงสุดต่อเนื่องเป็นปีที่ 10 ปักหมุดผู้นำด้านพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน เดินหน้าส่งเสริมทุกภาคส่วนร่วมมือกันเพิ่มความมั่นคงทางพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการอนุรักษ์พลังงาน สำหรับภูมิภาคอาเซียน ผ่านเวทีประชุม AMEM ครั้งที่ 37

         นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในปีนี้ถือเป็นปีที่สำคัญของประเทศไทย ในฐานะที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 37 (37th ASEAN Ministers on Energy Meeting and Associated Meetings : 37th AMEM) ซึ่งเป็นเวทีความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างประเทศอาเซียน 10 ประเทศ  และถือเป็นความสำเร็จของประเทศไทยอีกครั้ง ที่ผู้ประกอบการไทยสามารถคว้ารางวัลด้านพลังงานทดแทนและด้านการอนุรักษ์พลังงานในเวที อาเซียน เอนเนอร์ยี่ อวอร์ด ประจำปี 2562 (ASEAN Energy Awards 2019) 

      รวมทั้งสิ้น 23 รางวัล ซึ่งถือเป็นประเทศที่ได้รับรางวัลในเวทีนี้มากสุดต่อเนื่องเป็นปีที่ 10 ขณะเดียวกันไทยยังได้รางวัลประเภท ASEAN Coal Awards 2019 จำนวน 6 รางวัล และรางวัลบุคคลพลังงานดีเด่น ผู้มีบทบาทสำคัญด้านพลังงานในภูมิภาคอาเซียนจำนวน 6 รางวัล โดยบุคลากรจากประเทศไทยที่ได้รับรางวัล ได้แก่ นายนที ทับมณี ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน นายยงยุทธ์ สวัสดิสวนีย์  รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน นายบุญรอด สัจจกุลนุกิจ อาจารย์บัณฑิตวิทยาลัยร่วมพลังงานและสิ่งแวดล้อม นายกิตติ เพ็ชรสันทัด ผู้ช่วยผู้ว่าการปฏิบัติการและบริหารสินทรัพย์ ระบบส่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นายธวัชชัย สำราญวานิช ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนระบบไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และ นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

     นับว่า ไทยมีความก้าวหน้าและตื่นตัวเป็นอย่างมากในการแสวงหาเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงพัฒนาระบบการผลิตพลังงานทดแทน ทำให้ทั่วโลกให้การยอมรับ รางวัลที่ไทยได้รับครั้งนี้เป็นเครื่องการันตีที่ทั้งภาครัฐและเอกชนไทยได้ร่วมมือกันเป็นอย่างดี

      นายยงยุทธ จันทรโรทัย อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กล่าวว่า พพ.ได้จัดกิจกรรมในการส่งเสริมให้ภาครัฐและเอกชนร่วมกันอนุรักษ์พลังงานและใช้พลังงานทดแทนมาอย่างต่อเนื่อง ผ่านการจัดประกวดไทยแลนด์ เอนเนอร์ยี่ อวอร์ด จากนั้นได้คัดเลือกผู้ชนะการประกวดเพื่อชิงรางวัลในเวที อาเซียน เอนเนอร์ยี่ อวอร์ด ซึ่งปี 2562 มีผู้แทนประเทศไทย ได้รับรางวัล 23 รางวัล แบ่งเป็นโครงการพลังงานหมุนเวียนดีเด่นได้รับรางวัลรวม 10 รางวัล การบริหารจัดการพลังงานดีเด่นรวม 5 รางวัล อาคารอนุรักษ์พลังงานดีเด่นรวม 5 รางวัล และอาคารเขียวดีเด่นรวม 3 รางวัล

       “การขับเคลื่อนส่งเสริมพลังงานทดแทนภายใต้แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP) ซึ่งเป็นแผนระยะยาว 20 ปี โดยไทยมีเป้าหมายไว้ชัดเจนในการส่งเสริมให้เกิดการลงทุน การพัฒนาและวิจัยเพื่อก่อให้เกิดความมั่นคงพลังงาน ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ความมุ่งมั่นดังกล่าวได้พิสูจน์ให้เห็นถึงศักยภาพเอกชนไทยที่ได้รางวัลมากที่สุดในเวที อาเซียน เอนเนอร์ยี่ อวอร์ด ต่อเนื่องเป็นปีที่10” นายยงยุทธกล่าว

 

การแถลงข่าวสรุปการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 37

โดย สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

       วันนี้คือพิธีเปิดและเป็นวันแรกของการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน โดยท่าน นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม

     รัฐมนตรีอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ และรัฐมนตรีพลังงานของประเทศคู่เจรจา และผู้นาองค์กร ระหว่างประเทศ ได้แก่ ทบวงพลังงานระหว่างประเทศ ทบวงพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ ได้เข้าคารวะท่านนายกฯ

     สาหรับ การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานในวันนี้ ได้มีการหารือในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

     การหารือกับทบวงพลังงานระหว่างประเทศ(IEA)ในเรื่องภาพอนาคตพลังงานของภูมิภาคอาเซียน สถานการณ์และสภาวะปัญหาทางด้านพลังงาน โดยมีการคาดการณ์ว่าอาเซียนจะมีการเติบโตของ การใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเติบโตของการใช้พลังงานสะอาด ทั้งนี้ เพื่อให้อาเซียน สามารถรับมือกับประเด็นความเสี่ยงด้านความมั่นคงด้านพลังงานในอนาคตได้ มีข้อเสนอแนะให้ อาเซียนมุ่งพัฒนานโยบายการส่งเสริมการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานให้เพียงพอ ต่อความต้องการใช้พลังงานในอนาคต และ IEA ยินดีให้การสนับสนุนในความร่วมมือกับอาเซียน ต่อไป

     การหารือกับทบวงพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ(IRENA)ในประเด็นบทบาทของพลังงาน ทดแทนทั้งในบริบทโลกและในภูมิภาค และการเตรียมการรับมือกับยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านด้าน พลังงาน ไปสู่พลังงานสะอาดในอนาคต ซึ่งทุกประเทศต้องมีการพัฒนานโยบาย การลงทุน และ การสร้างนวัตกรรม เพื่อให้สามารถผลิตและใช้พลังงานสะอาดได้มากขึ้นในอนาคต ซึ่งทาง IRENA ยินดีที่จะสนับสนุนกิจกรรมภายใต้ ASEAN-IRENA MOU ต่อไป

      ในช่วงบ่ายวันนี้ ที่ประชุมรับทราบผลการนาเสนอโดยประเทศไทยได้กล่าวรายงานผลความ คืบหน้าภายใต้แผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านพลังงานอาเซียน (SOME Chair Report) ของ ความร่วมมือด้านพลังงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในด้านปิโตรเลียม ไฟฟ้า พลังงานทดแทนและอนุรักษ์ พลังงาน ถ่านหินสะอาด พลังงานนิวเคลียร์ และนโยบายและแผนพลังงาน รวมทั้ง ความร่วมมือ กับประเทศคู่เจรจา ที่ได้สรุปจากที่ประชุมไปในวันที่ 2-3 กันยายน ที่ผ่านมา ทั้งนี้ ที่ประชุมได้รับ รองเนื้อหา (SOME Chair Report) และได้รายงานผลความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาและองค์กร ระหว่างประเทศต่าง ๆ

      จากนั้นรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนได้มีการพิจารณาและรับรอง Joint Ministerial Statement of 37th AMEM หรือ ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 37 เป็นถ้อยแถลงร่วมสรุปผลการประชุม ซึ่งประกอบด้วยสาระหลัก คือ การดาเนินงานและ ความสาเร็จของประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการความร่วมมือ ด้านพลังงานของอาเซียน APAEC พ.ศ. 2559-2568 โดยในระยะที่ 1 พ.ศ. 2559-2563 ให้ ความสาคัญในเรื่องหลักๆ ดังนี้

                1. การลดความเข้มของการใช้พลังงานในอาเซียน

                2. การเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนในภาพรวมการใช้พลังงาน

                3. การขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานให้ครอบคลุมในภูมิภาคมากขึ้น ส่งผลดีต่อความมั่นคง ด้านพลังงานในภาพรวมของภูมิภาค

                ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ผลักดันความสาเร็จของประเด็นสาคัญด้านพลังงานที่ไทยต้องการผลักดัน ในช่วงที่ไทยเป็นประธานอาเซียน ปี 2562 (Key Priority Deliverables) ไดส้ าเร็จตามเป้าหมาย ที่วางไว้ อาทิ

                1. การศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายการซื้อขายไฟฟ้าแบบพหุภาคี

                2. การศึกษาแนวทางการเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนในโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าอาเซียน โดยผล การศึกษาที่เกิดขึ้น จะเป็นข้อมูลและแนวทางสาหรับการวางนโยบายและกรอบความร่วมมือของ อาเซียนต่อไป

    สาหรับ วาระสุดท้ายของการประชุมในวันนี้คือ การเตรียมความพร้อมในการประชุมรัฐมนตรี พลังงานบวกสาม (ASEAN+3 จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น) ครั้งที่ 16 และการประชุมรัฐมนตรี พลังงานแห่งเอเชียตะวันออก (EASEMM) ครั้งที่ 13 รวมถึงแถลงการณ์เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม รัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 38 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90

banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!