หมวดหมู่: การตลาด

1.ADEmark


DEmark ปลุกกระแสดีไซน์เนอร์ เน้นการออกแบบเพื่อเพิ่มความคุ้มค่าทางการตลาด

     สำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่ม กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จัดโครงการพิจารณาคัดเลือกสินค้าไทยที่มีการออกแบบดี ปี 2562 หรือ Design Excellence Award 2019 (DEmark) เพื่อส่งเสริมผลงานที่โดดเด่นด้านการออกแบบ และยกระดับสินค้าไทยให้เป็นที่ยอมรับแพร่หลายในตลาดโลก ช่วยส่งเสริมการออกแบบสินค้าของผู้ประกอบการไทย ใช้ตราสัญลักษณ์ Demark เป็นเครื่องหมายรับรองผลงานที่มีความโดดเด่นด้านการออกแบบ สร้างความแตกต่างและสร้าง มูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าไทย รวมถึงยกระดับสินค้าที่มีการออกแบบดีให้เป็นที่ยอมรับแพร่หลาย เพื่อประโยชน์ทางการค้า และเกิดความภาคภูมิใจเป็นแบบอย่างในการพัฒนาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ของประเทศ

       รางวัล Demark ในปีนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด DESIGN IS LIVE!ดีไซน์สร้างวิถีชีวิต พร้อมการนำเสนอความคิดเห็นของดีไซน์เนอร์ชื่อดัง ในงานเสวนาหัวข้อเดียวกัน เพื่อสร้างการรับรู้ และกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในการส่งผลงานการออกแบบเข้าโครงการ DEMARK AWARD ในปี 2019

 

2

 

       คุณพิพิธ โค้วสุวรรณ MANAGING DIRECTOR, SALT AND PEPPER STUDIO CO., LTD.ผู้ได้รับรางวัล DEMARK AWARD ในปี 2016 และ 2017 ในสาขาเฟอร์นิเจอร์ หนึ่งในผู้ร่วมเสวนา ให้ความเห็นเกี่ยวกับการออกแบบว่า เริ่มต้นมันมาจาก PAIN POINT คือการที่ไม่สามารถหาสิ่งที่เราชอบได้ เคยมองหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับสัตว์เลี้ยงของเราเองแต่หาไม่ได้ และก็ไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมที่นอนสุนัขมีแต่ลายสตรอเบอรี่ เลยออกแบบเองโดยไม่ได้คำนึงถึงเทรนด์ เราทำตามความชอบ ซึ่งก็คิดว่าหลายคนอาจเป็นเหมือนกัน ที่นี้พอได้รางวัลจากการ ออกแบบ มันก็เลยทำให้เราได้ประสบการณ์ และได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นทั้งในด้านการตลาดและการสร้างแบรนด์ สามารถนำมาต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกไปได้อีก สำหรับ DESIGN IS LIVE นั้นมองว่ามันคือไลฟ์สไตล์และการดีไซน์ ที่มารวมกันสร้างวิถีชีวิต

     หรืออาจเป็นวิถีชีวิต สร้างดีไซน์ ก็ได้ ปัจจุบันผลงานงานเฟอร์นิเจอร์ที่สรรสร้างขึ้นมา ไม่ได้นำเอาเรื่องของความงามมาเป็นตัวตั้ง แต่เริ่มต้นคิดมาจาก เรื่องการตลาดและความคุ้มค่า เอามาเป็นแนวทางในการออกแบบ นักออกแบบหลายคนที่สร้างสรรค์ผลงานที่สวยงาม แต่ยังอาจจะไม่มีใครมองเห็น หรือสนใจ DEmark เป็นเวทีที่สร้างสรรค์ผลงานที่นำมาใช้ได้จริง และเป็นเวทีที่ผลิกชีวิตของเราเพราะได้เรียนรู้ว่า ดีไซน์ที่ดีที่สุด คืองานที่ขายได้ และใช้งานได้จริง นอกจากนี้ ยังได้ประโยชน์จากการไปออกงาน TRADE FAIR ในต่างประเทศร่วมกับกรมด้วย ทำให้ได้ประสบการณ์ ในการทำการตลาดเพิ่มขึ้น

       สำหรับ คุณมนัสพงษ์ สงวนวุฒิโรจนา , Architect & Design Director, Hypothesis Co., Ltd.ผู้ได้รับรางวัล Designer of the year Award 2017 และเจ้าของผลงานออกแบบ IR-ON Hotel, AIR SPACE HUA HIN และ Vivarium by chef ministry ได้เล่าถึงที่มาที่ไปของการออกแบบตกแต่งภายในของ Vivarium ร้านอาหารที่มาจากโกดังเก่า และองค์ประกอบที่ตกแต่งภายในล้วนมาจากของใช้แล้ว นำมาปรับแต่งใหม่ทำให้เกิดบรรยากาศแปลกใหม่โปร่งโล่ง สบายตา ซึ่งคิดว่า ด้วยประโยชน์ใช้สอยของพื้นที่น่าจะทำให้เกิดผลลัพท์อย่างอื่นได้อีก เราก็เอามาคิดต่อเป็นสถานที่สำหรับจัดงานต่างๆ ได้ และที่นี้เหมาะมากกับการจัดงานแต่งงาน ด้วยชื่อ Vivarium สามารถแปลมาเป็นภาษาง่ายๆ ได้ว่า’มาแต่งงานกัน’

      โดยสรุปแล้วตนเองคิดว่า DESIGN IS LIVE นั้น มาจากทุกๆอย่างรอบตัว อยู่ที่เราตีความ และเลือกเอามาใช้การดีไซน์ไม่ควรจะออกมาสวยอย่างเดียว เพราะความสวยมันขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นคนมองและตัดสิน แต่ต้องควรตอบโจทย์และวัตถุประสงค์ของการใช้สอยให้ได้ งานดีไซน์ต้องประกอบด้วยมิติอื่นๆในการสร้างคุณค่าของสิ่งที่เราออกแบบ เช่น ร้านอาหาร ก็ควรต้องสามารถช่วยทำกำไรได้ ทำให้ธุรกิจได้ตอบสนองความต้องการของคนทำธุรกิจได้ ของบางอย่างสวยแต่ไม่ตอบโจทย์ มันก็ไม่เวิรค์ การส่งผลงานประกวด DEmark นี้ เหมือนการเดินทางลัดที่จะได้ทั้งโอกาสทางการตลาด และชื่อเสียง สามารถช่วยผลักดันความฝันของเราให้เกิดขึ้น ขอเพียงให้ทุ่มเท ตั้งใจ คนก็จะเห็นผลงานเรา

      คุณภูมิศักดิ์ เฑียรฆประสิทธิ์ , Design Director / Founder , DOT LINE PLANE Co., Ltd.ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศงานประกวดแบบบ้านและสวนปี 2004 และเจ้าของแบรนด์เสื้อผ้า PAINKILLER กล่าวถึงแนวคิดเกี่ยวกับ DESIGN IS LIVE ได้อย่างน่าสนใจว่า สิ่งแวดล้อมรอบตัวเราหรือสิ่งที่เราต้องดำเนินชีวิตประจำวัน มันได้ถูกออกแบบมาแล้วตั้งแต่เราตื่นนอน จนกระทั่งทำกิจวัตรประจำวันอื่นๆ โดยเราเป็นผู้ออกแบบเอง งานดีไซน์เป็นกระบวนการที่ตอบโจทย์ หรือเป็นการแก้ปัญหา เพื่อสร้างสิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิม มันเป็นการทำสิ่งธรรมดาให้เป็นสิ่งที่พิเศษขึ้นมา พร้อมให้คำแนะนำว่า DEmark คือเวทีสำหรับดีไซน์เนอร์ในการที่จะผลิตผลงานให้มีมาตรฐานในการออกแบบของบ้านเราให้ดีขึ้น ซึ่งการสร้างสรรค์ผลงานทุกชิ้น ไม่ว่าจะได้รางวัลหรือไม่ก็ตาม เพียงถ้าเราตั้งใจทำให้มันเกิด ก็สามารถกระตุ้นให้วงการเกิดการตื่นตัว ในกลุ่มดีไซน์เนอร์ เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและ มุมมอง นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสให้เกิดการสร้างแบรนด์ มีการทำการตลาดอย่างเป็นระบบ ทำให้เราได้ชุดความรู้ในด้านการทำธุรกิจเพิ่มเติมและสามารถต่อยอดนำไปปรับใช้ในเรื่องอื่นๆ ได้อีกด้วย

       นอกจากนี้ Mr.Koichi Suzuno, Architect l CEO, Torafu Architects Inc.กรรมการตัดสินรางวัล G-mark ยังได้นำเสนอไอเดียการออกแบบคอนเซปต์ Insight Out คือแนวคิดกลับด้านที่มองจากสิ่งเล็กๆ ภายในก่อน ค่อยมองภาพใหญ่ซึ่งจะสามารถเก็บรายละเอียดของงานได้มากขึ้น จากตัวอย่างงานที่นำเสนอคือเมืองจำลองขนาดเล็ก ที่สามารถชมได้จากกล้องที่ติดอยู่กับรถรางที่วิ่งรอบเมืองจำลองเสมือนว่าเรากำลังเดินทางชมเมืองนั้นจริงๆ หรืออีกตัวอย่างของการออกแบบแหวนแต่งงาน ที่นำเอาเรื่องของระยะเวลาที่คู่สมรสอยู่ด้วยกัน มาเป็นปัจจัยในการออกแบบด้วย ยิ่งอยู่ด้วยกันนาน สีโลหะของแหวนก็จะยิ่งส่งประกายแวววาวสวยงามยิ่งขึ้น นั่นคือตัวอย่างของการคิดที่นำเอาเรื่องของชีวิตประจำวันมาใช้ในการออกแบบ

    จะเห็นได้ว่า มุมมองของดีไซน์เนอร์บ้านเราต่างก็มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันคือ การเน้นเรื่องการตลาดและความคุ้มค่า นำมาเป็นปัจจัยตั้งต้นในการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งผลงานที่ออกมาจะเห็นเป็นรูปธรรมและจับต้องได้มากขึ้น เวที DEmark จะช่วยส่งเสริมให้ ดีไซน์เนอร์ไทย ได้รับการยอมรับในตลาดสากลมากขึ้น

         รางวัล Demark ในปีนี้ มีการพิจารณารางวัลเพิ่มขึ้นอีกกลุ่มผลงาน จากเดิม 6 เดิม มาเป็น 7 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มสินค้าเฟอร์นิเจอร์ (Industrial Process / Industrial Craft)

2. กลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ (Gift & Decorative Items / Household Items)

3. กลุ่มความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมผลิตภัณฑ์แฟชั่นเครื่องแต่งกาย (Creative & Innovative Fashion / Apparel / Jewelry / Textile / Etc.)

4. กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม (Home Appliances/ Equipment and Facilities for Office / Etc.)

5. กลุ่มออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design)

6. กลุ่มผลงานกราฟฟิกดีไซน์ (Font / Graphic on Surface / Digital Media / Identity Design)

7. กลุ่มผลงานออกแบบตกแต่งภายใน (Hotel / Restaurant / Café)ซึ่งเป็นกลุ่มผลงานใหม่ที่เกิดขึ้นในปีนี้

       สำหรับ ผู้ได้รับรางวัล DEmark จะได้รับสิทธิประโยชน์มากมายจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เช่น สามารถใช้โลโก้ DEmark ในการส่งเสริมการขายสินค้าได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ได้รับส่วนลดค่าใช้จ่ายสมทบโครงการร้อยละ 50 ในการเข้าร่วมงาน แสดงสินค้าในต่างประเทศที่กรมฯเข้าร่วม (ไม่เกิน 3 ครั้งในเวลา 1 ปี) ได้รับการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการขายสินค้าทั้งในและต่างประเทศ ผ่านการโฆษณาในสื่อต่างๆ รวมทั้งนำสินค้าไปจัดแสดงนิทรรศการทั้งในและต่างประเทศ อาทิ งานแสดงสินค้า STYLE Bangkok และ Milan Design Week นอกจากนี้ ผู้ที่ได้รับรางวัล Demark จะได้เข้ารอบ 2 รางวัล G-mark ประเทศญี่ปุ่นโดยทันที    

      โครงการ DEmark Award 2019 เปิดรับสมัครทั้งในรูปแบบของบริษัทและนักออกแบบอิสระ ซึ่งผู้สมัคร 1 ราย หรือ 1 บริษัท สามารถสมัครได้มากกว่า 1 ผลิตภัณฑ์ แต่ไม่เกิน 5 ผลิตภัณฑ์ และจะต้อง เตรียมเอกสารการสมัครและเอกสารประกอบต่างๆ ให้ครบทุกผลิตภัณฑ์ โดยสมัครในช่องทางออนไลน์ได้ที่ www.demarkaward.net ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม จนถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2562 โดยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 082-365-2649, 089-687-0507 หรือ สำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2507-8262, 0-2507-8278

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90SIAM790x90

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!