หมวดหมู่: พลังงาน

OIL50


ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่ม จากคาดการณ์ผลการประชุมการปรับลดกำลังการผลิต

บทวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมันประจำสัปดาห์ โดย บมจ.ไทยออยล์: ฉบับวันที่ 3 ธันวาคม 2561

              

ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 49 - 54 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวที่กรอบ 57 - 62 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

                                   

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (3 - 7 ธ.ค. 61)

       ราคาน้ำมันดิบคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้น จากแรงหนุนของการประชุมระหว่างผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกที่จะมีการพิจารณาปรับลดกำลังการผลิต เพื่อรักษาสมดุลตลาดน้ำมันดิบ นอกจากนี้ ยังได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่คาดจะปรับลดลงเป็นสัปดาห์แรกในรอบ 2 เดือน หลังความต้องการใช้น้ำมันดิบของสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับ ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านยังคงอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มถูกกดดันจากภาวะอุปทานล้นตลาด หลังผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกปรับเพิ่มกำลังการผลิตในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากคาดการณ์ว่าอุปทานน้ำมันดิบจากอิหร่านจะปรับลดลงมาก

 

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:

           จับตาการประชุมระหว่างผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกในวันที่ 6 ธ.ค. 61 จะมีการปรับลดกำลังการผลิตหรือไม่ โดยตลาดคาดการณ์ว่ากลุ่มผู้ผลิตมีแนวโน้มปรับลดกำลังการผลิตลง 1.0 - 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวันเทียบกับปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในเดือน ต.ค. 61 หลังตลาดน้ำมันดิบเผชิญกับแรงกดดันจากภาวะอุปทานน้ำมันดิบล้นตลาดและอุปสงค์ที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงตามสภาวะเศรษฐกิจโลก โดยล่าสุดซาอุดิอาระเบียได้ส่งสัญญาณว่าควรจะมีการลดกำลังการผลิตเพื่อรักษาสมดุลตลาดน้ำมันดิบ ขณะที่ผู้ผลิตรายอื่น ในกลุ่มโอเปก ได้แก่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิรัก และลิเบียพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการปรับลดกำลังการผลิต อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องจับตารัสเซียว่าจะเห็นด้วยกับข้อตกลงดังกล่าวหรือไม่ หลังรัสเซียค่อนข้างพอใจกับระดับราคาน้ำมันดิบที่ปัจจุบันที่ราว 60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

           ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ คาดจะปรับลดลงเป็นสัปดาห์แรกในรอบ 2 เดือน หลังความต้องการใช้น้ำมันดิบของสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากโรงกลั่นส่วนใหญ่เริ่มกลับมาจากการปิดซ่อมบำรุงตามฤดูกาล โดย สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณการกลั่นน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือนที่ราว 17.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามปริมาณการผลิตน้ำมันดิบและนำเข้าน้ำมันดิบสุทธิของสหรัฐฯ ว่าจะปรับเพิ่มขึ้นหรือไม่

           ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านในเดือน พ.ย. 61 มีแนวโน้มปรับลดลง แม้ว่าสหรัฐฯ จะประกาศผ่อนผันให้ 8 ประเทศได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน อินเดีย อิตาลี กรีซ และตุรกี สามารถนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่านได้ ทั้งนี้เนื่องจาก เกาหลีใต้และญี่ปุ่นเริ่มวางแผนที่จะกลับมานำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่านตั้งแต่ เดือนม.ค. 62 เป็นต้นไป

           ตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากภาวะอุปทานล้นตลาด หลังผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่ของโลก ได้แก่ สหรัฐฯ รัสเซีย และซาอุดิอาระเบีย ปรับเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นต่อเนื่อง โดยในสัปดาห์ล่าสุด EIA รายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นมาแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 11.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่ ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของรัสเซียและซาอุดิอาระเบียอยู่ที่ราว 11 ล้านบาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้ อุปสงค์มีแนวโน้มชะลอตัวลงจากเศรษฐกิจโลกที่เผชิญกับแรงกดดันมากขึ้นจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน

           ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ คาดจะไม่ได้ปรับตัวแข็งค่าขึ้นมากนัก หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีหน้าอย่างค่อยเป็นไปค่อยไป จากเดิมที่คาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยราว 3 ครั้ง หลังเศรษฐกิจโลกเผชิญกับความเสี่ยงที่มากขึ้นจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมถึง การเจรจาออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร (Brexit)

           ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ได้แก่ ดัชนีภาคการผลิตและบริการสหรัฐฯ อัตราการว่างงานสหรัฐฯ การจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ ดัชนีภาคการผลิตและบริการยูโรโซน จีดีพียูโรโซนไตรมาส 3/61 และดัชนีภาคผลิตและบริการจีน

 

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (26 - 30 พ.ย. 61)

       ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวขึ้น 0.51 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 50.93 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในขณะที่ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับลดลง 0.09 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 58.71 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 59 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หลังได้รับแรงกดดันจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 10 สัปดาห์ติดต่อกัน ประกอบกับปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของซาอุดิอาระเบียที่ปรับเพิ่มขึ้นส่งผลให้ตลาดกังวลกับภาวะอุปทานล้นตลาดมากขึ้น นอกจากนี้ ราคายังถูกกดดันจากความตึงเครียดเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่จะกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมันโลก อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นเล็กน้อยจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่เริ่มฟื้นตัว

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

SIAM790x90

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!