หมวดหมู่: เกษตร

DIDสรวศ ธานโต


กรมปศุสัตว์จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการการเฝ้าระวังและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever-War room)

      นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ตามที่องค์การสุขภาพสัตว์โลก รายงานการพบโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever) ที่สาธารณรัฐประชาชนจีนในช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และมีแนวโน้มการระบาดที่รุนแรงขึ้น กรมปศุสัตว์จึงได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการการเฝ้าระวังและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (War room) มีหน้าที่ในการติดตามและประเมินสถานการณ์ของโรคเป็นรายวันโดยรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งข่าวต่างๆ ทั้งที่เป็นทางการเช่น OIE FAO และแหล่งข่าวที่ไม่เป็นทางการ เพื่อกำหนดมาตรการการเฝ้าระวังให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของโรค มิให้สามารถเข้ามาสร้างความเสียหายแก่ประเทศไทยได้

       อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการรวบรวมข้อมูลของ War room พบการระบาดของโรคล่าสุดในประเทศจีน 2 outbreak ในวันที่ 21 กันยายน 2561 ที่เมือง Gongzhuling มณฑล Jiling ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ และที่เขตปกครองพิเศษมองโกลเลีย ทำให้สถานการณ์การระบาดในประเทศจีนตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบันมีการระบาดรวมทั้งสิ้น 20 outbreak ใน 8 มณพล และสถานการณ์การระบาดของโรคนี้ทั่วโลกตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2561 – 21 กันยายน 2561 มีรายงานการระบาด 14 ครั้ง ในทวีปยุโรป 4 ประเทศ ทวีปแอฟริกา 1 ประเทศ และทวีปเอเชีย 1 ประเทศ (แหล่งข้อมูล: OIE) นอกจากนี้จากแหล่งข้อมูลที่ไม่เป็นทางการพบการระบาดครั้งที่ 21 ในวันที่ 24 กันยายน 2561 ที่มณฑล Nei Meug gu ทางตอนเหนือของประเทศ

        นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ได้เข้มงวดการตรวจจับการลักลอบนำผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ที่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ รวมทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยที่กลับจากต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศกลุ่มเสี่ยงนำเข้ามาในประเทศ ซึ่งเป็นการบูรณาการความร่วมมือจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องตามช่องทางเข้าออก (Port of entry) เช่น สนามบินนานาชาติ ท่าเรือ จุดผ่านแดนต่างๆ โดยในส่วนของกรมปศุสัตว์ได้ใช้ศักยภาพของเจ้าหน้าที่และสุนัขดมกลิ่นซึ่งมีระบบประสาทในการรับกลิ่นที่ดีกว่ามนุษย์ถึง 40 เท่า กลิ่นของเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จะยังคงติดที่ถุงบรรจุ สุนัขจะสามารถตรวจพบแม้นว่าอยู่ในถุงปิดอย่างแน่นหนา กรณีเครื่องเอ็กซเรย์ของกรมศุลกากรจะนิยมใช้กับการตรวจวัตถุระเบิด อาวุธปืน ของเหลว อย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดในกรณีเครื่องเอ็กซเรย์ดูได้มิติเดียว และหากมีการซ้อนทับของวัตถุจะหลุดรอดได้ ดังนั้นการใช้สุนัขดมกลิ่น ตรวจที่สายพานกระเป๋า ร่วมกับการใช้เครื่องเอ็กซเรย์ของกรมศุลกากรตรวจร่วมจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจจับได้มากว่าเดิม ที่ผ่านมากรมปศุสัตว์ได้แจ้งขอความร่วมมือ กรมศุลกากร และ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการเข้มงวดตรวจการลักลอบนำผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์เข้าประเทศ

      ท้ายที่สุดนี้ อธิบดีกรมปศุสัตว์ขอความร่วมมือเกษตรกรให้ยกระดับการเลี้ยงสุกรให้มีระบบการป้องกันโรคที่ดีตามมาตรฐาน GAP และหากเป็นรายย่อยให้ใช้มาตรฐานการป้องกันและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจสอบแหล่งที่มาของสุกรก่อนเข้าฟาร์ม ร่วมกับการจัดการด้านระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งจะช่วยป้องกันการนำโรคเข้าสู่ฟาร์มได้ นอกจากนี้ให้สังเกตอาการสุกรอย่างใกล้ชิด หากพบสุกรแสดงอาการป่วย เช่น มีไข้สูง เบื่ออาหาร ผิวหนังเป็นปื้นแดงและต่อมาเป็นสีเขียวคล้ำ พบภาวะแท้งในแม่สุกรและมีจำนวนสุกรตายผิดปกติให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที หรือ call center 063-225-6888 หรือที่แอปพลิเคชัน DLD 4.0 “แจ้งการเกิดโรคระบาด” เพื่อจะได้เร่งดำเนินการช่วยเหลือต่อไป

         

Click Donate Support Web

468x60 16

BIT FUN728x90

yobit 560 60

8

468x60 bit

468x60 DOG

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!