หมวดหมู่: คลัง

Gประสงค พนธเนศ


ปลัดคลัง แจงโครงการคืน VAT ให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ เป็นโครงการชั่วคราว คาดเริ่มพ.ย.61-เม.ย.62

     นายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงโครงการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ให้กับผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐว่า ไม่ได้เป็นโครงการถาวร หรือโครงการระยะยาว โดยจะดำเนินการทั้งสิ้น 6 เดือนเท่านั้น คือ เริ่มตั้งแต่เดือน พ.ย.61-เม.ย.62 เพราะอาจติดช่วงเลือกตั้ง ตามที่รัฐบาลได้มีการประกาศไปก่อนหน้านี้ ดังนั้นระยะเวลาดำเนินโครงการคืนภาษีแวตจึงต้องอยู่ภายในกรอบดังกล่าวด้วย

     สำหรับ วงเงินคืนภาษีสูงสุดไม่เกินรายละ 500 บาท/เดือน โดยคำนวณจากยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรสวัสดิการทั้งหมด ซึ่งรวมถึงเงินในส่วนที่ประชาชนเติมเข้าไปในบัตรเอง และเงินสวัสดิการที่ได้รับจากรัฐบาล อาทิ เงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค เงินค่าฝึกอบรมอาชีพ และเงินสำหรับผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย ซึ่งหลังจากนั้นจะคำนวณออกมาเป็นเงินภาษีที่เจ้าของบัตรจะได้รับคืนต่อไป

     "รัฐบาลมองว่าโครงการนี้เป็นสิ่งที่ดี เป็นการมอบสวัสดิการและความช่วยเหลือให้กับคนรายได้น้อย โดยวงเงินที่ใช้ในการดำเนินงานจำนวน 3 พันล้านบาทนั้นไม่ได้มาจากงบประมาณหรือภาษีแน่นอน โดยจะใช้เงินจากกองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก..." นายประสงค์ กล่าว

     สำหรับ ภาพรวมการจัดเก็บรายได้ของปีงบประมาณ 61 นั้น นายประสงค์ คาดว่าจะทำได้เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้เล็กน้อย โดยเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ภาพรวมอยู่ที่ 2.9 ล้านล้านบาท โดยการจัดเก็บภาษีปีนี้เป็นไปตามกรอบที่วางไว้ทั้งหมด และขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อจัดทำงบประมาณปี 63

               อินโฟเควสท์

คลังตีปี๊บศก.พุ่งแรง เดือนกค.ยอดเก็บ VAT ขยายตัว 18.2%

       แนวหน้า : เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2561 นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน ในฐานะโฆษก สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง พร้อมด้วย นายศรพล ตุลยะเสถียร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แถลงภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนกรกฎาคม 2561

       นายพรชัย กล่าวว่า ในเดือนกรกฎาคม มีหลายปัจจัยบวกหนุนเศรษฐกิจไทยขยายตัวดีต่อเนื่อง ประกอบด้วย ปัจจัยด้านการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ดี สะท้อนจากยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัว ร้อยละ 21.4 รายได้เกษตรกรดีขึ้นจากราคาข้าวเปลือก ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพด ปรับสูงขึ้น แม้ราคายางยังไม่สูงมากนัก เมื่อประชาชนมีกำลังซื้อส่งผลต่อภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT)ขยายตัวถึงร้อยละ 18.2 สูงสุดในรอบ 68 เดือน

      ขณะที่ ดัชนีความเชื่อมั่น ผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 69.1 สูงสุดในรอบ 42 เดือน การส่งออกขยายตัวดีมีมูลค่า 20.4 พันล้านดอลลาร์ ขยายตัว ร้อยละ 8.3 ต่อปี นับว่าขยายตัวต่อเนื่อง เป็นเดือนที่ 17 ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 20.9 พันล้านดอลลาร์ ขยายตัวร้อยละ 10.5 ต่อปี การลงทุนของภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวดีจากการเพิ่มขึ้นของยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ร้อยละ 28.8 เสถียรภาพภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนกรกฎาคมร้อยละ 1.5 ต่อปี หนี้สาธารณะต่อ จีดีพี ณ สิ้นเดือนมิถุนายนร้อยละ 41 ต่อจีดีพี อยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งเพดานไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ต่อจีดีพี ในครึ่งปีหลังคาดว่า การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ภาคเอกชนจะปรับสูงขึ้น

        นายพรชัย กล่าวว่า ถึงภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนกรกฎาคม ปี 2561 ว่า ยังคง ขยายตัว นำโดยกทม.และปริมณฑล ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชน และการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนในหลายภูมิภาค รวมถึงการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจทุก ภูมิภาคยังอยู่ในเกณฑ์ดี

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!