หมวดหมู่: คมนาคม

Gสมคด จาตศรพทกษ


'เจบิค'พร้อมอัดแสนล.ให้ไทยกู้ทำรถไฟเชื่อม 3 สนามบินระยะทาง 220 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 200,000 ล้านบาท

    แนวหน้า : ที่ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2561 นายทะดะชิ มะเอะดะ กรรมการผู้อำนวยการและหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิค) ได้เข้าหารือกับ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อติดตามความคืบหน้า ในการผลักดันโครงการต่างๆ ในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยเฉพาะการสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ท่าอากาศยานดอนเมืองสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 200,000 ล้านบาท

      นายสมคิด กล่าวว่า เจบิค พร้อมสนับสนุนทางการเงินดอกเบี้ยต่ำให้กับเอกชนไทย รวมทั้งญี่ปุ่น และจีน ยุโรป ในโครงการดังกล่าว อย่างไรก็ตาม โครงการรถไฟความเร็วสูง ต้องประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจระยะยาว หากจะหวังผลกำไรระยะสั้นต้องประเมินให้ครอบคลุม

     นอกจากนี้ รัฐบาลยังต้องการให้ญี่ปุ่นผลักดันโครงการอินโด-แปซิฟิก เพื่อเชื่อมเส้นทางคมนาคมจากอินเดีย-เมียนมา ไทย-เวียดนาม-ญี่ปุ่น-ออสเตรเลีย จึงต้องผลักดันโครงการให้เห็นเป็นรูปธรรม ขณะที่ไทยอยู่จุดศูนย์กลางโครงการดังกล่าว จึงต้องการให้ญี่ปุ่นออกแรงผลักดันมากขึ้น

      นายสมคิด กล่าวอีกว่า ขณะนี้รัฐบาลยังต้องการเร่งรัดการสร้าง ศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา (MRO) จึงต้องเร่งรัดการแต่งตั้ง กรรมการผู้อำนวยการ บมจ.การบินไทย คนใหม่ พร้อมการแต่งตั้งประธานบอร์ด เพื่อเร่งเดินหน้าโครงการขนาดใหญ่ นอกจากนี้จะ เร่งการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 เพื่อให้การลงทุนโครงการขนาดใหญ่คืบหน้าเพื่อที่จะดึงความเชื่อมั่น การลงทุนกับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศได้มากกว่าในปัจจุบัน

     ส่วนที่ กระทรวงคมนาคม ในวันเดียวกัน นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม

    นายพีระพล กล่าวว่าที่ประชุมได้มีการรายงานความคืบหน้าการดำเนินการโดยทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้มีการนำเสนอ คณะกรรมการ รฟม. เพื่อขอความเห็นชอบแนวทางดำเนินการบัตรระบบเทคโนโลยีบัตร EMV (Euro/ MasterCard และ Visa)มาใช้ ซึ่งในกรอบการดำเนินการในส่วนของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ตามแผนคาดว่าจะสามารถใช้ในระบบของรถไฟฟ้าสายสีม่วง รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินภายในเดือน กรกฎาคมนี้ และจะสามารถใช้บัตรสวัสดิการในระบบของรถเมล์องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิ้งค์ ได้ด้วย ภายในเดือน ตุลาคม 2561

คมนาคม คาดก.ค.เปิดใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐเดินทางด้วยรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน-สีม่วง ก่อนขยายสู่แอร์พอร์ตลิงค์-ขสมก. ต.ค.นี้

    นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ว่า จะเร่งปรับปรุงระบบเพื่อรองรับการใช้งานกับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยภายในเดือนก.ค. 2561 จะสามารถนำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐก่อน ใช้งานกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วง หลังจากนั้นในเดือน ต.ค.61 จะนำไปใช้กับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และรถโดยสาร ขสมก.จำนวน 2,600 คันได้

     พร้อมกันนี้ ได้มอบหมายให้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เร่งพิจารณาเรื่องการใช้บัตรแมงมุม 2 แสนใบ ซึ่ง สนข.จะส่งมอบให้ รฟม.นำออกมาใช้งานต่อไป ส่วนรถไฟฟ้าบีทีเอสนั้น รฟม.จะเจรจากับ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ว่าจะพัฒนาเพื่อรองรับการใช้งานในระยะแรกก่อนหรือไม่ หรือจะรอปรับปรุงเป็นมาตรฐาน EMV และให้บริการพร้อมกันในเดือน ธ.ค.62

     โดยรฟม.จะประชุมร่วมกับผู้ประกอบการระบบขนส่งทุกรายที่เกี่ยวข้องในวันที่ 15-17 พ.ค.นี้ เกี่ยวกับรายละเอียดของเทคนิคระบบ EMV และข้อกำหนดทางธุรกิจในประเด็นต่างๆ ให้เข้าใจร่วมกันและลงมือปรับปรุงตามขอบเขตที่กำหนด

    อย่างไรก็ตาม ตั๋วร่วมในระบบ EMV ที่ รฟม.จะใช้นั้นเป็นระบบเปิดที่มีต้นทุนในการปรับปรุงระบบต่ำกว่าตั๋วร่วมระบบปิดของเดิม และยังมีค่าบริหารจัดการประมาณ 50 ล้านบาทต่อปี ต่ำกว่าเดิมที่มีค่าบริหารจัดการถึง 150 ล้านบาทต่อปี โดย รฟม.ประเมินค่าลงทุนปรับปรุงของสายสีน้ำเงิน สีเขียว และสีม่วง อยู่ที่ 218 ล้านบาท ส่วนระบบหลังบ้านลงทุนประมาณ 240 ล้านบาท ทั้งนี้ รฟม.จะต้องเร่งพิจารณาในการจัดตั้งองค์กรบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม (Common Ticketing Company: CTC) อีกด้วย

     อินโฟเควสท์

 

รัฐลุยเชื่อมขนส่งอู่ตะเภา รับ EEC-ท่องเที่ยว-ศูนย์การบินแห่งที่3

     แนวหน้า : นายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2561 กรมการขนส่งทางบก ร่วมกับ ท่าอากาศยานอู่ตะเภา เปิดเส้นทาง รถโดยสารประจำทาง 3 เส้นทาง เชื่อมต่อ ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา จ.ระยอง กับจังหวัดท่องเที่ยวภาคตะวันออกเพิ่มทางเลือก ในการเดินทาง และเพิ่มศักยภาพท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภาให้เป็นศูนย์กลางการบินแห่งที่ 3 รวมถึงสนับสนุนเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวของประเทศ และนโยบายการพัฒนาระเบียง เศรษฐกิจภาคตะวันออก(EEC) ของรัฐบาล

     สำหรับ 3 เส้นทาง ประกอบด้วย 1.สาย 398 ตราด-อู่ตะเภา 2.สาย 399 ระยอง-อู่ตะเภา และ 3.สาย 400 ชลบุรีอู่ตะเภา

    ด้าน พล.ร.อ.รังสฤษดิ์ สัตยานุกูล ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ กล่าวว่า ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภาถือเป็นสนามบินพาณิชย์แห่งที่ 3 ของประเทศและเป็นประตูสู่ภาคตะวันออก ซึ่งมีส่วน สำคัญในการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และก่อให้เกิดการพัฒนาจังหวัดและภูมิภาค โดยมีสายการบินของไทยที่ให้บริการ ได้แก่ บางกอกแอร์เวย์ส, ไทยแอร์เอเชีย, ไทยไลอ้อนแอร์ และนกแอร์ ส่วนสายการบินจากต่างประเทศ ได้แก่ Azur Air, Royal Flight, North Wing, Scat Air, S7 Airlines, เสิ่นเจิ้นแอร์ไลน์ส

    นายมนตรี ชนะชัยวิบูลวัฒน์ ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง กล่าวว่าขณะนี้จังหวัดระยองอยู่ระหว่างการว่าจ้างสถาบันการศึกษาเข้ามาศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน ของจังหวัดระยองทั้งในเส้นทางหลักและเส้นทางรองในหลายรูปแบบเพื่อรองรับการเดินทางในพื้นที่ และนักท่องเที่ยว รวมทั้งอยู่ระหว่างการเตรียมบุคลากรเพื่อรองรับอุตสาหกรรมต่างๆ ของโครงการ และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!