หมวดหมู่: บริษัทจดทะเบียน

1aaaaaaaaaaaifec


‘พลตรี บุญเลิศ แจ้งนพรัตน์’ ประธานกรรมการตรวจสอบIFEC หาช่องร้องต่อศาล ขอตั้งคณะกรรมการชุดใหม่

   ‘พลตรี บุญเลิศ แจ้งนพรัตน์’ ประธานกรรมการตรวจสอบIFEC แถลงหาช่องร้องต่อศาล ขอตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ หลังกลต.-ดีเอสไอ เข้ายึดเอกสารหลักฐาน สำนักงานใหญ่ เดินหน้าตรวจสอบคณะผู้บริหารชุดเก่า ให้เกิดความโปร่งใสต่อสาธารณะชน

     พลตรีบุญเลิศ แจ้งนพรัตน์ ประธานกรรมการตรวจสอบ แถลงข่าว ณ วันอังคารที่ 13 มีนาคม 2561 เวลา 14.00 น. ณ โรงแรมแม็กซ์ (Maxx Hotel) เลขที่ 288 ถนนพระรามที่ 9 ห้วยขวาง กรุงเทพฯ ว่า ตามที่ ท่านคงจะได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ IFEC ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มากันบ้างแล้วว่า ในช่วงระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา ได้เกิดข้อสงสัยมากมายจากทั้งผู้ถือหุ้น นักลงทุน หน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแลบริษัท มหาชนจำกัด และบริษัทจดทะเบียน

    รวมทั้งประชาชนทั่วไป ถึงความไม่น่าจะโปร่งใสในการทำธุรกิจธุรกรรมของ IFEC ในหลายๆ โครงการ ที่ดูเหมือนมีข้อบกพร่องในการบริหารจัดการ และมีข้อสงสัยว่าอาจจะเกิดกรณีการกระทำทุจริต จนทำให้องค์กรธุรกิจแห่งนี้เกิดความเสียหายมีมูลค่าหลายพันล้านบาท อันอาจจะมีผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อประชาชนในวงกว้าง นั้น อนึ่ง เพื่อให้ผู้สื่อข่าวได้มีโอกาสได้ทราบถึงข้อมูล สถานการณ์ และมูลเหตุของปัญหาที่ชัดเจนเกี่ยวกับ IFEC และเพื่อที่ท่านจะได้นำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องต่อประชาชนต่อไป    

      พลตรีบุญเลิศ แจ้งนพรัตน์ ประธานกรรมการตรวจสอบ กล่าวว่า วันนี้ ได้มีกรรมการยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นกรรมการ 2 ท่าน คือ นายธีรธัช สุขพงษ์ และ พลตรีไชยนาจ ญาติฉิมพลี บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ IFEC คงเหลือเพียง 2 ท่าน ที่ต้องอยู่เป็นกรรมการตามกฎหมาย ม.157 ที่มีอำนาจ จัดการประชุมจัดตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ โดยให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องร้องต่อศาล ให้ศาลมีคำสั่งในการเรียกประชุมจัดตั้งกรรมการชุดใหม่ได้ คาดจะแล้วเสร็จ ในเร็วๆนี้

     ในส่วนของนายฉัตรณรงค์ ในฐานะกรรมการ AC ตั้งแต่ต้นที่เข้ามาตั้งแต่ 14 กุมภาพันธ์พร้อม พล.ต บุญเลิศ ซึ่งเป็นผู้บริหารมืออาชีพทั้งจากภาครัฐและเอกชนในตำแหน่งประธานกรรมการมาหลยแห่ง ซึ่งเคยบริหารกองทุนทางการเงินหลักล้านๆมาแล้ว และเชี่ยวชาญเรื่องการบริหารจัดการเชิงธรรมมาภิบาลมามากใด้ไห้ความเห็นถึงแนวทางแก้ปัญหาของบริษัทฯไว้น่าสนใจอันจะนำพาไอเฟคไปสู่บริษัทที่มีศักยภาพรุ่งเรืองประสบความสำเร็จทั้งในเชิงการบริหารจัดการ การบริหารเชิงรายได้และลดต้นทุน การบริหาร เชิงยุทธศาสตร์ การบริหารการเงินและบัญชี การปรับโครงสร้างหนี้ให้สอดรับกับรายได้ของบริษัทฯ. ซึ่งสามารถสรุปได้เป็นประเด็นๆใด้ดังนี้

     1). การบริหารจัดการที่ผ่านมาอำนาจอยู่ที่คนๆเดียวทั้งหมดทำไห้เกิดข้อผิดพลาดในการบริหาร

     2). การสร้างอณาจักรบุคคลล้อมรอบกายซึ่งอาจขาดความรู้ความเข้าใจในเชิงบริหารและได้ข้อมูลผิดๆรวมทั้งขาดความรู้ประสพการณ์และพื้นฐานทางการศึกษา

     3). มีการปกปิดข้อมูลเชิงลึกซึ่งควรรายงานตลท/กลต/ประชาชน/ผู้ถือหุ้น/เจ้าหนี้/สถาบันการเงิน อันอาจนำมาซึ่งการตัดสินใจและการบริหารผิดทิศทางนำความเสียหายมาสู่องค์กรได้

     4). มีการทุจริต/ฉ้อโกงเกิดขึ้นในบริษัทฯตั้งแต่ป57-59 เป็นต้นมาและมีการต่อสู้ฟ้องร้องกันไปมาอยู่ในขณะนี้ยิ่งนานยิ่งเสียหาย

     5).การตรวจสอบและรับรองงบจากผูตรวจสอบบัญชีอนุญาตบริษัทกรินทน์ ในปี 59 มีการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญอยู่ที่ราว 1,800 บาทเศษ

     5). สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือการที่ผู้สอบบัญชีไม่ขอแสดงความคิดเห็นต่อการลงทุนในโครงการบงทุนในต่างประเทศเช่น เขมร เวียนนาม ญี่ปุ่น ออสเตรเลียรวมทั้งมิได้มีการทำดีลแคร์ก่อไห้เกิดคำถามในสังคมว่าเงินหายไปไหนซึ่งผู้สอบบัญชีก็อ้างว่าไม่มีเอกสารเพียงพอต่อการตรวจสอบ

     6). การเพิ่มรายได้จากการออกตั๋ว instrumental ทางการเงินประเภทต่างๆกว่า 6,500 ล้านบาทไม่รวม bank loan ไม่สามารถตรวจสอบเชิงลึกว่าเงินหายไปไหนแม้จะมีการสอบทาน bank reconcileก็ยากลำบากเพราะมีการปิดบังข้อมูลจากการร้องของท่านประธานAC หลายครั้งแล้วก็ตามเงินจำนวนดังกล่าวทำไห้ไอเฟคมีหนี้รวมดอกเบี้ยราว 8,500 ล้านบาทในขณะที่มีสินทรัพย์ราว 12,000 บาทซึ่งหากถูกตั้งค่า depreciation ,lmpair ,force sale คุณภาพและราคาสินทรัพย์อาจจะมีมูลค่าตำ่ลงไปอีก

      7). การเข้าไปซื้อโรงแรมดาราเทวีราว 4170 ล้านบาทในลักษณะเร่งรีบทำไห้ราคาซื้อเกินกว่ามูลค่าความเป็นจริงซึ่งเมื่อมีการคำนวนถึง income/cost approach ราคาที่ได้มาไม่น่าคุ้มค่าต่อการลงทุนอีกทั้งมิได้ทำ due diligence อย่างถูกต้อง มีหนี้ปลอมเกิดขึ้นกว่าร้อยล้านและมีการชำระเงินออกไปหลายล้านบาทก่อนเซ็นต์สัญญาซื้อขาย มีการเช่าหน้าบาน เช่าอุปกรณ์ตกแต่งนอกเหนือจากราคาซื้อ โรงแรมตั้งอยู่คร่อมลำรางสาธารณะซึ่งจะมีปัญหาต่อใบอนุญาตและการขอEIAในขนาดห้องที่เกิน 80 ห้อง อีกทั้งมีเรื่องการบริหารจัดการมีการไล่ผู้บริหารมืออาชีพออกรายได้ตกตำ่สุดขีดในขณะที่สภาพโรงแรมทรุดโทรมและมีการนำเงินออกมาเลี้ยงไอเฟคและจ่ายดอกเบี้ยไอเฟคจนเป็นปัญหาโรงแรมขาดสภาพคล่องอย่างหนักรายได้ตกพนักงานมีปัญหามากมาย

       8).บริษัทฯมิได้วางรูปแบบบริหารตามหลักCorporate Governance ไม่ว่าจะเป็น Vision , Mission, Straitegy, Tactic , Planing, Project Grouping , BSC, KPI , Risk Management Appraisal , Accountabilities Outcome Ultimate Outcome ซึ่งถือเป็นหลักการบริหารเชิงลึกในการทำงานนอกเหนือจาก Legal Compliance’s Internal Auditor

        9). เรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นประเด็นสำคัญเนื่องจากไอเฟคมีภาระหนี้จากการออกตั๋วทุกประเภทราว 8,500 ล้านบาทไม่รวมดอกเบี้ยและBank Loan ไอเฟคเริ่มมีปัญหาค้างชำระและถูกเจ้าหนี้รุมฟ้องรวมทั้งไม่สามารถชอใช้ดอกเบี้ยผิดนัดได้อย่างเช่นกับบริษัท Solalis กว่า 1,000 ล้านและศาลได้ตัดสินไห้ไอเฟคใช้หนี้อีกทั้งปัจจุบันเจ้าหนี้ทะยอยฟ้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ที่ผ่านมาผมพยายามที่จะเจรจากับเจ้าหนี้ทุกรายจนตกผลึกว่าในวันที่ 2/11/60 เราจะประชุมร่วมกันที่โรงแรม Mercure Fortune เช้า 10.00 น โดยมีสาระสำคัญของการตกลงคือไอเฟคตกลงที่จะขยายระยะเวลาตั๋วทุกประเภท 3-6 เดือนออกไปเป็น 5 ปีโดยในไตรมาสแรกจะชำระเงินต้นให้ราว 25-28% ของมูลหนี้ด้วยดอกเบี้ยราว 7% สูงสุด เงินต้นส่วนที่เหลือจะขยายไป 5 ปี

       และเมื่อใดไอเฟคขายทรัพย์สินได้ก็ไห้นำมาชำระเพื่อลดภาระดอกเบี้ยอีกทั้งรูปแบบการผ่อนชำระ 5 ปีอาจจะมีวิธีชำระในลักษณะ Progressive Rate ,Balloon Payments และหรือกรรมวิธีอื่นๆที่จะเป็นประโยชน์และรองรับ Cash Flow ของบริษัทไห้เดินไปได้ก่อนจนแข็งแรงซึ่งเจ้าหนี้ทุกรายมีความคิดเห็นตรงกัน แต่ก่อนถึงวันประชุมราวช่วง 20.00 นก็มีคำสั่งไม่ไห้มีการประชุมโดยอ้างว่าผิดกฏหมายและวันรุ่งขึ้นก็ไม่แจ้งเจ้าหนี้/ผู้ถือตั๋ว/ผถห ปล่อยไห้ทุกคนมาประชุมเก้อทำไห้ผมเสียหายหมดเคารพนับถือจากทุกฝ่ายและสังคมนอกจากนั้นทางเจ้าหนี้ก็มีความคิดเห็นที่จะเรียกประชุมเองและเชิญไอเฟคไปรับฟังก็ถูกคำขู่ด้วยการออกจดหมายเซ็นต์โดยนายศุภรนันทน์จะเอาโทษทางกฏหมายหากเจ้าหนี้กระทำการดังกล่าวมาอีกหนึ่งฉบับ

      การบริหารจัดการที่ไม่น่าไว้วางใจดังกล่าวและขาดความโปร่งใสไม่น่าเชื่อถือซำ้แล้วซำ้เล่าและอาจมีการยักย้ายถ่ายเทข้อมูลรวมถึงการไม่ให้ข้อมูลขั้นต้นและเชิงลึกต่อคณะกรรมการ AC ทำไห้การทำงานของคณะกรรมการเป็นไปด้วยความยาวลำบากอีกทั้งมีการสร้างปรากฏการณ์ล่วงละเมิดสิทธิ์ส่วนบุคคลด้วยการติดตั้งกล้องวงจรปิด 2-3 ตัวพร้อมเครื่องมือดักฟังการสนทาของกรรมการมาตลอดซึ่งแสดงไห้เห็นถึงความไม่ไว้ใจกรรมการและได้มีการกล่าวหาเมื่อกรรมการทราบว่ามาทำลายทรัพย์ของบริษัทซึ่งกรรมการใด้แจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้แล้ว

      10). ในเรื่องของการตรวจสอบความไม่โปร่งใสที่คณะการให้ข้อคิดเห็นและตั้งประเด็นสงสัยและสอบถามหลายครั้งแต่ไม่ใด้รับควมร่วมมือเชิงลึกและไม่ได้รับทำไห้การทำงานยากลำบากมาก แต่ก็สบายใจที่ DSI/ กลต ใด้เข้ามาตรวจสอบบริษัฯในข่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาจึงน่าจะยึดและตรวจสอบเอกสารและอุปกรณ์ดักฟัง/กล้องวงจรปิดและเอกสารทางบัญชีการเงินที่สามารถตรวจสอบการลงทุนในต่างประเทศ การซื้อโรงแรมดาราเทวี การลงทุนของบริษัทลูกทุกบริษัทใด้ดีก่อนนำมาเปิดเผยต่อผู้ถือหุ้นเจ้าหนี้ผู้ถือตั๋วได้อย่างกระจ่างชัดและสามารถนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีลงโทษและนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการตามหลักธรรมมาภิบาลที่แท้จริงและสามารถคืนสิทธิไห้ผู้ถือหุ้น/เจ้าหนี้/ผู้ถือตั๋ว/ราชการในการบริหารต่อไป

 

ประเด็นปัญหาของ IFEC

    1) การบริหารจัดการไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) และขาดการกำกับดูแลที่ดี

    2). ขาดการจัดการเรื่องบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ซึ่งที่ผ่านมาคุณฉัตรณรงค์เคยแนะนำให้ฝ่ายบริหารแต่งตั้งบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาช่วยดูแลงานด้านนี้ ซึ่งก็ทำงานอยู่ได้ในช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น เพราะ เมื่อเจ้าหน้าที่คนนั้นตรวจข้อมูลลึกไปถึงเรื่องโครงการบางโครงการที่น่าสงสัย บริษัทฯ ก็ไล่เจ้าหน้าที่คนนั้นออกจากงานทันที  

   3). มีการว่าจ้างผู้อำนวยการตรวจสอบภายในเข้ามา แต่ฝ่ายบริหารเข้าไปก้าวก่ายงานและทำให้กระบวนการตรวจสอบไม่เป็นไปตามมาตรฐานและหลักธรรมาภิบาลที่ดี

   4). อดีตผู้บริหารที่ถูก ก.ล.ต. กล่าวโทษต้องออกจากตำแหน่งไปแล้ว ยังฝ่าฝืนเข้ามามีอำนาจสั่งการฝ่ายบริหารอยู่เบื้องหลังตลอดเวลา

   5). คณะกรรมการตรวจสอบ ได้ใช้ความพยายามอย่างสุดความสามารถในการติดตามตรวจสอบกระบวนการทำงาน ให้เป็นไปตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ เพื่อให้การปฏิบัติงานมีความโปร่งใส แต่ก็ไม่ได้รับความร่วมมือจากฝ่ายจัดการเท่าที่ควร

   6).การตรวจสอบทางบัญชีการเงินในช่วง ปี 2559 ก่อนที่คณะกรรมการตรจสอบชุดนี้ จะเข้ามา ผลจากการตรวจสอบจากงบปี 59 มีข้อสังเกตถึงการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญหรือตั้งสำรองถึงกว่า 1,800 ล้าน ทำให้บริษัทฯ เกิดความเสียหายจาการลงทุน

   7).จากรายงานงบปี 2559 ผู้สอบบัญชีอนุญาตของบริษัทฯ ไม่แสดงความคิดเห็นถึงความเสียหายจากการลงทุนในต่างประเทศได้แก่ กัมพูชา เวียดนาม ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และทางคณะกรรมการตรวจสอบได้มีการเรียกขอเอกสารที่เกี่ยวข้องกันไม่ว่าจะเป็น GL หรือ Bank Statement ทุกบริษัทที่เกี่ยวข้องแต่ไม่ได้รับความร่วมมือ

   8).การซื้อโรงแรมดาราเทวีแพงกว่าความเป็นจริงมากอีกทั้งมีหนี้ปลอมใส่เข้ามาอีกกว่า 1,000 ล้านบาท และไม่มีการทำ Due diligences ตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง อีกทั้งมีการจ่ายเงินออกไปก่อนมีการเซ็นสัญญาจะซื้อจะขายในจำนวนที่ไม่เหมาะสม

       ทั้งนี้ ในส่วนรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ผมยกมาแสดงให้ท่านเห็นนั้น รวมทั้ง เรื่องอื่นๆ ที่อยู่ในข่ายต้องสงสัยว่ามีการบริหารจัดการที่ไม่โปร่งใส ส่อไปในทางทุจริตคอรัปชั่น นั้น ผมขออนุญาตให้ คุณฉัตรณรงค์ นำเสนอให้ท่านทราบต่อไป

      โดยก่อนที่คุณฉัตรณรงค์จะชี้แจงรายละเอียดต่อท่าน นั้น กระผมใคร่ขอเรียนให้ทุกท่านทราบว่า คณะกรรมการตรวจสอบชุดของกระผมนี้ ได้พยายามทุกวิถีทางในการติดตามทวงถามข้อมูลเอกสารเพื่อนำมาตรวจทานตรวจสอบตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ และนอกจากก็ยังได้พยายามชี้แนะให้ฝ่ายบริหารจัดการให้ถูกต้องตามหลักธรรมาภิบาลให้มากที่สุด เพราะด้วยพวกเราคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น นักลงทุน เจ้าหนี้ผู้ถือตั๋วทุกประเภท และเจ้าหนี้ต่างๆ เป็นสำคัญ และก็ยินดีที่จะให้ความร่วมมือแก่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ในการขจัดปัญหาและป้องกันการทุจริตคอรัปชั่น การทุจริตและนิติกรรมทางการเงินในองค์กรแห่งนี้ แต่ก็เป็นที่น่าเสียใจว่าเราไม่ได้รับความร่วมมือจากฝ่ายบริหารเท่าที่ควร

 

แถลงข่าว IFEC โดย คุณฉัตรณรงค์ ฉัตรภูติ กรรมการตรวจสอบ

     คุณฉัตรณรงค์ กล่าวว่า ในฐานะกรรมการตรวจสอบซึ่งได้รับการแต่งตั้งเข้ามาดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2560พร้อมกับท่าน พลตรี บุญเลิศฯ ตัวกระผมนั้นมีประวัติการทำงานเป็นผู้บริหารมืออาชีพทั้งจากภาครัฐ และเอกชน เคยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมาหลายแห่ง ซึ่งเคยบริหารกองทุนทางการเงินที่มีวงเงินลงทุนหลักล้านๆ บาทมาแล้ว และมีเชี่ยวชาญเรื่องการบริหารจัดการเชิงธรรมาภิบาลมามาก ซึ่งในระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมากระผมพยายามใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่สะสมมา ให้ความแนะนำแก่ฝ่ายบริหารของ IFEC และชี้ให้เห็นถึงแนวทางแก้ปัญหาของบริษัทฯ เพื่อหวังว่าจะนำพา IFEC ไปสู่บริษัทที่มีศักยภาพ รุ่งเรือง ประสบความสำเร็จทั้งในเชิงการบริหารจัดการ การบริหาร เชิงรายได้ และลดต้นทุน ต้องการเห็น IFEC มีการบริหาร เชิงยุทธศาสตร์ การบริหารการเงินและบัญชี การปรับโครงสร้างหนี้ให้สอดรับกับรายได้ของบริษัทฯ

       แต่ผมก็ประจักษ์แก่ตัวเองแล้วว่า ภายใต้โครงสร้างขององค์กร และเงื่อนไขการบริหารจัดการในรูปแบบของ IFEC ที่ไม่พยายามทำทุกสิ่งทุกอย่างให้โปร่งใสชัดเจนดังที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ไม่สมารถทำให้ความพยายามและความหวังของกระผมเกิดผลเป็นรูปธรรมได้เลย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียใจอย่างยิ่ง แต่กระผมก็ยอมไม่ได้ที่จะปล่อยให้IFEC ซึ่งเป็นบริษัทมหาชนจำกัดและเป็นบริษัทจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีผู้ถือหุ้น 30,000 กว่าคน ต้องได้รับความเสียหายไปมากกว่านี้ กระผมและท่านประธานกรรมการตรวจสอบจึงจำเป็นจะต้องมาเปิดเผยข้อมูลและปัญหาต่างๆ ให้ท่านผู้สื่อข่าวได้ทราบ เพื่อที่ท่านจะได้นำข้อมูลข่าวสารนี้ไปรายงานให้ประชาชนได้ทราบต่อไป

      กระผม จึงขอเรียนชี้แจงรายละเอียดข้อสงสัยของคณะกรรมการตรวจสอบในการบริหารจัดการของฝ่ายบริหาร IFEC ที่เห็นว่าเป็นการดำเนินการที่ไม่โปร่งใส และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำทุจริต ฉ้อฉลขึ้น โดยจะขออนุญาตสรุปเป็นประเด็นๆ ดังนี้ นะครับ

      1). การบริหารจัดการที่ผ่านมาอำนาจเด็ดขาดในการตัดสินใจที่แท้จริงอยู่ที่คนๆ เดียวทั้งหมด ทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการบริหารจัดการ และแม้ว่า อดีตผู้บริหารดังกล่าวจะ ถูก ก.ล.ต. กล่าวโทษจนต้องออกจากตำแหน่งไปแล้ว ก็ยังฝ่าฝืนข้อห้ามของ ก.ล.ต. เข้ามาบงการสั่งการฝ่ายบริหารอยู่เบื้องหลังตลอดเวลา

      2). การสร้างอาณาจักรบุคคลล้อมรอบกายของอดีตผู้บริหารที่กุมอำนาจไว้ บุคคลต่างๆ เหล่านั้นเป็นผู้ที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเชิงบริหาร และได้ข้อมูลผิดๆ รวมทั้งขาดความรู้ประสบการณ์และพื้นฐาน ทางการศึกษาที่เหมาะสมกับการทำงานตามตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

      3). มีการปกปิดข้อมูลเชิงลึกซึ่งควรรายงานให้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ก.ล.ต. ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้สถาบันการเงิน และเจ้าหนี้ตราสาร ได้รับทราบและตรวจสอบตรวจทาน

      4). มีการทุจริต/ฉ้อโกงเกิดขึ้นในบริษัทฯ ตั้งแต่ปี2557-2559 เป็นต้นมาและมีการต่อสู้ฟ้องร้องกันไปมาอยู่ ในขณะนี้ ยิ่งนานวันยิ่งเสียหายมากขึ้น

      5). การตรวจสอบและรับรองงบการเงินโดยผู้สอบบัญชีอนุญาต คือ บริษัท กรินทน์ ออดิท จำกัด ในปี2559 มีการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญจำนวนที่สูงมากราว 1,800 ล้านบาทเศษ

      6) สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือการที่ผู้สอบบัญชีไม่ขอแสดงความคิดเห็นต่อการลงทุนในโครงการลงทุนในต่างประเทศได้แก่ กัมพูชา เวียดนาม ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย รวมทั้ง ทุกโครงการมิได้มีการทำดิวแคร์ (Due Care) แต่อย่างใด ก่อให้เกิดคำถามในสังคมว่าเงินลงทุนจำนวนมหาศาลหายไปไหนหรือถูกใช้ไปอย่างเหมาะสมหรือไม่เพียงใด ซึ่งผู้สอบบัญชีได้เพียงแต่บอกว่าในทุกโครงการไม่มีเอกสาร หรือไม่ได้รับข้อมูลที่เพียงพอต่อการตรวจสอบ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สมควรเกิดขึ้นอย่างยิ่ง

     7). การระดมเงินทุนจากการออกตราสารหนี้ซึ่งเป็น instrumental ทางการเงินประเภทต่างๆกว่า 6,500 ล้านบาท และยังไม่รวมส่วนเงินกู้จากสถาบันการเงิน (Bank Loan) ไม่สามารถตรวจสอบเชิงลึกว่าเงิน หายไปไหน ถูกใช้ไปอย่างไรบ้าง เหมาะสมหรือไม่เพียงใด แม้จะมีการสอบทานด้วยวิธี bank reconcile ก็ยากลำบากเพราะมีการปิดบังข้อมูลตลอดเวลา แม้ว่าท่านประธานกรรมการตรวจสอบจะร้องขอไปหลายครั้งแล้วก็ตาม ภาระหนี้สินดังกล่าวทำให IFEC มียอดหนี้รวมดอกเบี้ยถึงปัจจุบัน ประมาณ 8,500 ล้านบาท ในขณะที่มีสินทรัพย์ราว 12,000 ล้านบาท ซึ่งหากถูกตั้งค่า depreciation , impairment ,force sale คุณภาพและราคาสินทรัพย์ก็อาจจะมีมูลค่าต่ำลงไปอีก

      8).การเข้าไปซื้อกิจการโรงแรมดาราเทวีราว 4,170 ล้านบาทในลักษณะเร่งรีบทำให้ราคาซื้อสูงเกินกว่ามูลค่าความเป็นจริงซึ่งเมื่อมีการคำนวณถึง income/cost approach ราคาที่ได้มาไม่น่าคุ้มค่าต่อการลงทุน อีกทั้ง ก่อนซื้อกิจการก็มิได้ทำ due diligence อย่างถูกต้องตามาตราฐาน อีกทั้ง มีหนี้ที่น่าจะปลอมเกิดขึ้นในบัญชีอีกกว่าร้อยล้านบาท และมีการชำระเงินออกไปหลายล้านบาทก่อนเซ็นสัญญาซื้อ-ขาย มีการเช่าหน้าบาน เช่าอุปกรณ์ตกแต่งนอกเหนือจากราคาซื้อ ปัญหาเรื่องโรงแรมตั้งอยู่คร่อมลำรางสาธารณะซึ่งจะมีปัญหาต่อใบอนุญาตกิจการและการขออนุมัติเรื่องรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA ในส่วนของห้องพักที่เกินจำนวน 80 ห้อง อีกทั้งมีปัญหาเรื่องการบริหารจัดการที่มีไม่โปร่งใส มีการไล่ผู้บริหารมืออาชีพออก รายได้ตกต่ำสุดขีด ในขณะที่สภาพโรงแรมทรุดโทรม และมีการนำเงินออกมาเลี้ยง IFEC และจ่ายดอกเบี้ยให้ IFEC จนทำให้โรงแรมขาดสภาพคล่องอย่างหนักรายได้ตกพนักงานได้รับผลกระทบตามมามากมาย

     9).บริษัทฯ มิได้วางรูปแบบบริหารตามหลักCorporate Governance ไม่ว่าจะเป็น Vision , Mission, Strategy, Tactic , Planning, Project Grouping , BSC, KPI , Risk Management Appraisal , Accountabilities Outcome, Ultimate Outcome ซึ่งถือเป็นหลักการบริหารเชิงลึกในการทำงานนอกเหนือจาก Legal Compliance และ Internal Auditor แล้ว

      10).เรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นประเด็นสำคัญเนื่องจาก IFEC มีภาระหนี้จากการออกตราสารหนี้ทุกประเภทราว 8,500 ล้านบาทไม่รวมดอกเบี้ย และBank Loan ทำให้ IFEC เริ่มมีปัญหาค้างชำระหนี้และถูกเจ้าหนี้รุมฟ้อง รวมทั้งไม่สามารถชดใช้ดอกเบี้ยผิดนัดได้อย่างเช่น กับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน โซลาริส จำกัดกว่า 1,000 ล้านบาท และศาลได้ตัดสินให้ IFEC ชดใช้หนี้แล้ว อีกทั้ง ปัจจุบันเจ้าหนี้รายอื่นๆ ก็ทยอยฟ้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ ที่ผ่านมาผมพยายามที่จะช่วยเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้ทุกราย จนตกผลึกว่าในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2560 เวลา 10.00 น. เรากับเจ้าหนี้จะประชุมร่วมกันที่โรงแรม MercureFortune โดยมีสาระสำคัญของข้อตกลงคือ IFEC ขอขยายระยะเวลาตั๋ว ทุกประเภท 3-6 เดือนออกไปเป็น 5 ปี

      โดยในไตรมาสแรกของปี 2561 จะชำระเงินต้นให้ราว 25-28%ของมูลหนี้ด้วยดอกเบี้ยราว 7% สูงสุด เงินต้นส่วนที่เหลือจะขยายไป 5 ปีและเมื่อใดที่ IFEC ขายทรัพย์สินได้ก็ให้นำมาชำระหนี้เพื่อลดภาระดอกเบี้ยอีกทั้งรูปแบบการผ่อนชำระ 5 ปีอาจจะมีวิธีชำระในลักษณะ Progressive Rate, Balloon Payments และหรือกรรมวิธีอื่นๆที่จะเป็นประโยชน์และรองรับ Cash Flow ของบริษัทให้เดินไปได้ก่อนจนกว่าจะแข็งแรง ซึ่งเจ้าหนี้ทุกรายมีความคิดเห็นตรงกัน แต่ปรากฏว่าก่อนถึงวันประชุมราวช่วง 20.00 น. ของคืนวันที่ 1 พฤศจิกายน ก็มีคำสั่งมาไม่ให้มีการประชุมโดยอ้างว่าผิดกฎหมาย และวันรุ่งขึ้นก็ไม่แจ้งเจ้าหนี้/ผู้ถือตั๋ว/ผู้ถือหุ้น ปล่อยให้ทุกคนมาประชุมเก้อ ทำให้ผมถูกต่อว่าด่าทอ ชื่อเสียงเสียหายหมดเคารพนับถือจากทุกฝ่ายและสังคม นอกจากนั้น ทางเจ้าหนี้ก็มีความคิดเห็นที่จะเรียกประชุมเองและเชิญ IFEC ไปรับฟัง แต่ก็ถูกขู่ด้วยจดหมายที่ลงนามโดยผู้บริหาร ของ IFEC ว่าจะเอาโทษทางกฎหมาย หากเจ้าหนี้กระทำการดังกล่าว

       การบริหารจัดการที่ไม่น่าไว้วางใจดังกล่าวและขาดความโปร่งใสไม่น่าเชื่อถือซ้ำแล้วซ้ำเล่า และอาจมีการยักย้ายถ่ายเทข้อมูล รวมถึงการไม่ให้ข้อมูลขั้นต้นและเชิงลึกต่อคณะกรรมการตรวจสอบ ทำให้การทำงานของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นไปด้วยความยากลำบาก อีกทั้งมี การกระทำที่เข้าข่ายล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ด้วยการติดตั้งกล้องวงจรปิดหลายจุดพร้อมเครื่องมือดักฟังการสนทาของกรรมการตรวจสอบมาโดยตลอด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความกลัวว่ากรรมการตรวจสอบจะล้วงรู้ข้อมูลหรือจะทำการตรวจสอบเข้มงวดอย่างไรบ้าง และได้มีการกล่าวหาว่ากรรมการบางท่านได้ทำลายทรัพย์สินของบริษัท ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ซึ่งกรรมการท่านนั้นก็ได้แจ้งความต่อเจ้าพนักงานสอบสวนให้ลงบันทึกประจำวันไว้แล้ว

     11).ในเรื่องของการตรวจสอบความไม่โปร่งใสที่คณะกรรมการตรวจสอบให้ข้อคิดเห็นและตั้งประเด็นสงสัยและสอบถามหลายครั้ง แต่ก็ไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร ทำให้การทำงานยากลำบากมาก แต่ ณ วันนี้ พวกเรา คณะกรรมการตรวจสอบรู้สึกสบายใจและยินดีมากที่ ก.ล.ต. และ DSI ได้เข้ามาตรวจค้นและตรวจสอบข้อมูล เอกสารที่สำนักงานของบริษัทฯ เมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งก็น่าจะยึดเอกสาร ข้อมูลจากอุปกรณ์ดักฟัง/กล้องวงจรปิดและเอกสารทางบัญชีการเงินที่สามารถตรวจสอบการลงทุนในต่างประเทศ การซื้อโรงแรมดาราเทวี การลงทุนของบริษัทลูกทุกบริษัท เพื่อนำไปตรวจสอบและสามารถดำเนินคดีลงโทษต่อผู้ที่กระทำความผิดและผู้ที่ เกี่ยวข้องสนับสนุนได้ในเร็ววันนี้

       ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบเห็นควรให้คืนสิทธิกลับไปยังผู้ถือหุ้นเพื่อให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริษัท ขึ้นมาใหม่ และเมื่อได้คณะกรรมการที่ประกอบไปด้วยบุคคลทีผู้ถือหุ้นเห็นชอบร่วมกันว่ามีคุณสมบัติเหมาะสม แล้ว คณะกรรมการบริษัทจะได้ทำการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการของกลุ่มบริษัท IFEC กันไหม้ เพื่อให้การดำเนินงานและการบริหารจัดการของ IFEC เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลที่ดีอย่างแท้จริงต่อไป

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!