หมวดหมู่: ธปท.

BOA copy


ธปท.แจงทุนสำรองระหว่างประเทศ 23 ก.พ. อยู่ที่ US$ 213.3 พันล้าน

    ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานตัวเลขทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของไทย

     วันที่ 23 ก.พ.61 อยู่ที่ 213.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากวันที่ 16 ก.พ.61 ที่ 213.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

      ขณะเดียวกันฐานะฟอร์เวิร์ดสุทธิของไทย วันที่ 23 ก.พ.61 อยู่ที่ 36.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯเมื่อเทียบกับวันที่ 16 ก.พ.61 ซึ่งอยู่ที่ 36.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

      เงินสำรองระหว่างประเทศในรูปเงินบาทวันที่ 23 ก.พ.61 อยู่ที่ 6,702.7 พันล้านบาท จาก6,666.4 พันล้านบาท เมื่อวันที่ 16 ก.พ.61

16 ก.พ.61 23 ก.พ.61

เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ (พันล้านบาท) 6,666.4 6,702.7

(พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 213.4 213.3

ฐานะสุทธิ Forward(พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 36.8 36.4

สินเชื่อสุทธิที่ให้กับรัฐบาล(พันล้านบาท) 157.0 183.2

สินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงิน(พันล้านบาท) -5,511.0 -5,493.5

ฐานเงิน(พันล้านบาท) 1,797.5 1,862.3

ธปท.เผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ก.พ.ปรับลดลงตามกำลังซื้อภาคเอกชนที่ยังไม่เข้มแข็ง

     ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือน ก.พ.61 ดัชนีฯ ปรับลดลงเล็กน้อยจาก 52.1 ในเดือนก่อนมาอยู่ที่ 51.8 โดยปรับลดลงจากองค์ประกอบด้านผลประกอบการและด้านการผลิตเป็นสำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการในภาคที่มิใช่การผลิตเช่น ภาคการค้าที่มีความเชื่อมั่นด้านปริมาณการค้าลดลงตามกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังไม่เข้มแข็งนักและภาคก่อสร้างที่มีความเชื่อมั่นด้านปริมาณการก่อสร้างลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากที่ยังไม่เห็นโครงการก่อสร้างของภาคเอกชนเพิ่มขึ้นมากเท่าที่ควร

      ในขณะที่ผู้ประกอบการในภาคการผลิตมีความเชื่อมั่นปรับดีขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย อาทิ ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ผู้ผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ และผู้ผลิตสิ่งทอและเครื่องแต่งกาย เป็นต้น จากความเชื่อมั่นด้านคำสั่งซื้อที่ปรับดีขึ้นโดยเฉพาะคำสั่งซื้อจากต่างประเทศตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก

     ส่วนในอีก 3 เดือนข้างหน้า ดัชนีฯ ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ 57.3 สูงสุดในรอบ 5 ปีสะท้อนความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่มีต่อการขยายตัวเศรษฐกิจที่ชัดเจนขึ้น โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในเกือบทุกองค์ประกอบ โดยเฉพาะองค์ประกอบด้านคำสั่งซื้อ การผลิต และการจ้างงานที่คาดว่าจะปรับดีขึ้น สอดคล้องกับแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก

    สำหรับ ภาคการผลิต ความเชื่อมั่นทางธุรกิจ 3 เดือนข้างหน้าเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และการผลิตสิ่งทอและเครื่องแต่งกายขณะที่ผู้ประกอบการภาคที่มิใช่การผลิตมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นในกลุ่มคลังสินค้าและกิจกรรมขนส่ง เป็นต้น

    ด้านดัชนีความเชื่อมั่นด้านต้นทุนปรับลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อยทั้งในภาคการผลิตและภาคที่มิใช่การผลิต เช่นเดียวกับข้อจำกัดด้านต้นทุนการผลิตสูงที่ยังคงเป็นข้อจำกัดสำคัญอันดับ 1 ของผู้ประกอบการต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 สะท้อนความกังวลด้านต้นทุนที่สูงขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมัน รวมถึงแรงกดดันจากการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ

     ขณะเดียวกัน การคาดการณ์เงินเฟ้อในอีก 12 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 2.1% ลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย สอดคล้องกับผู้ประกอบการจำนวนมากขึ้นที่เห็นว่าการปรับราคาสินค้าทำได้ยาก และดัชนีความเชื่อมั่นด้านราคาขายที่ปรับลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อยแม้จะยังอยู่เหนือระดับ 50 สะท้อนถึงความสามารถในการปรับราคาของผู้ประกอบการที่ยังมีจำกัด

ธปท.คาดศก.ปี 61 โตต่อเนื่องจากปีก่อนที่โต 3.9% ฟาก ม.ค.61 สดใสรับส่งออกโตกระฉูด 16.7% นิวไฮในรอบ 5 ปี 2 เดือน

     ธปท.ประเมินศก.ปี 61 ยังขยายตัวต่อเนื่อง หลังศก.สมดุลเพิ่มขึ้น-ส่งออก -ท่องเที่ยวสดใสตามศก.คู่ค้าขยายตัวชัดเจน และแรงกระตุ้นจากโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐฯต่อเนื่องจากปี 60 ศก.ไทยโต 3.9% - เงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 0.66% -เงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.56% ชี้เสถียรภาพสถาบันการเงิน -การคลัง และทุนสำรองของประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี ด้านเงินบาททั้งปีแข็งค่า 9.9% ส่วนเดือนม.ค.61 ศก.ยังโตต่อตามท่องเที่ยวสดใส -ส่งออกโตกระฉูด 16.7% สูงสุดในรอบ 5 ปี 2 เดือน เป็นแรงหนุน

    ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยผ่านเอกสาร รายงานภาวะเศรษฐกิจ ประจำปี 2560 ว่า ในปี 2561 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องและมีแรงส่งเศรษฐกิจที่สมดุลขึ้น โดยแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจมาจากการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยวที่ดีขึ้นต่อเนื่องตามเศรษฐกิจคู่ค้าที่ขยายตัวชัดเจนการใช้จ่ายภาคเอกชนที่ขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปและเริ่มกระจายตัวมากขึ้น รวมทั้งแรงกระตุ้นจากภาครัฐที่มีแนวโน้มเร่งขึ้นโดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้การลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นตามส่าหรับอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มทยอยปรับเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่อเนื่อง ต้นทุนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันและผลต่อเนื่องของการขึ้นภาษีสรรพสามิตในบางรายการสินค้าเมื่อปลายปี 2560

      สำหรับ ปี 2560 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 3.9 ตามการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยว สอดคล้องกับเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวชัดเจนและกระจายตัวมากขึ้น อุปสงค์ในประเทศขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากภาครัฐชะลอลงจากปีก่อนเนื่องจากได้เร่งเบิกจ่ายไปแล้วในปีก่อน รวมทั้งผลของ พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐพ.ศ. 2560 ซึ่งท าให้การจัดซื้อจัดจ้างต้องใช้ระยะเวลาเพิ่มขึ้น

     ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยการใช้จ่ายขยายตัวดีในหมวดสินค้าคงทนโดยเฉพาะรถยนต์ จากก าลังซื้อที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มครัวเรือนรายได้สูงนอกภาคเกษตรกรรม

     อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ร้อยละ 0.66 และ 0.56 ตามลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับเพิ่มขึ้นจากปีก่อนตามราคาน้ำมันขายปลีกภายในประเทศเป็นสำคัญ ขณะที่ราคาอาหารสดลดลงเนื่องจากผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมออกมามากตามสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยกว่าปีก่อน สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในระดับต่ำสอดคล้องกับอุปสงค์ในประเทศที่ทยอยฟื้นตัวอย่างช้าๆ

     เสถียรภาพระบบสถาบันการเงินมีความแข็งแกร่งสะท้อนจากสัดส่วนเงินสำรองหนี้สงสัยจะสูญและเงินกองทุนที่อยู่ระดับสูงเพียงพอที่จะรองรับผลกระทบจากระดับหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นได้ แต่ยังต้องติดตามคุณภาพสินเชื่อธุรกิจ SMEs และกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อยที่ยังไม่ได้รับผลดีจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจเท่าที่ควร ส่วนเสถียรภาพภาคอสังหาริมทรัพย์โดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อนทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัว

     เสถียรภาพด้านการคลังยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ก าหนดไว้ที่ร้อยละ 60 แม้ภาครัฐจะมีการดำเนินนโยบายขาดดุลทางการคลังโดยสัดส่วนดังกล่าวปรับสูงขึ้นเล็กน้อยจากสิ้นปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 41.2 เป็นร้อยละ 41.8 ณ สิ้นปี 2560

      สำหรับ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่องที่ 49.3 พันล้านดอลลาร์ ด้านเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2560 อยู่ที่ 202.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้น 30.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากสิ้นปี2559 ทำให้สัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อมูลค่าการนำเข้าและสัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้นเพิ่มขึ้นเป็น 9.8 และ 3.3 เท่าสูงกว่าเกณฑ์สากลซึ่งกำหนดไว้ที่ 3 และ 1 เท่า ตามลำดับ

      ด้านอัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทเทียบกับดอลลาร์ ณ สิ้นปีอยู่ที่ 32.57 บาทต่อดอลลาร์ โดยแข็งค่าขึ้นร้อยละ 9.9 จากสิ้นปีก่อน สอดคล้องกับทิศทางของเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค โดยเป็นผลมาจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ เนื่องจากนักลงทุนกังวลต่อการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐโดยเฉพาะนโยบายภาษีของสหรัฐฯ ที่ไม่มีความชัดเจนมาเกือบตลอดทั้งปีจนกระทั่งปลายปี 2560 ประกอบกับเศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนามีทิศทางฟื้นตัวชัดเจนและขยายตัวได้ดี ทำให้โดยภาพรวมแล้ว ดัชนีค่าเงินบาท(NEER) ณ ปลายปีแข็งค่าขึ้นประมาณร้อยละ 4.4 จากสิ้นปีก่อน ขณะที่ดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง (REER)แข็งค่าขึ้นประมาณร้อยละ 3.2 และยังอยู่ในล าดับกลางๆ เมื่อเทียบกับการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อของไทยที่อยู่ในระดับต่ำกว่าคู่ค้าคู่แข่ง

      สำหรับ เศรษฐกิจไทยในเดือนมกราคม 2561 ขยายตัวต่อเนื่อง จากการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวสูงและภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวดีสอดคล้องกับอุปสงค์ต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ด้านการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดีในทุกหมวดการใช้จ่าย ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวตามสําหรับการใช้จ่ายภาครัฐกลับมาขยายตัวจากรายจ่ายลงทุน ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อน

      โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวสูงที่ร้อยละ 16.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ62 เดือน และหากหักทองคําขยายตัวร้อยละ 18.1 ตามการส่งออกที่เพิ่มขึ้นในทุกตลาดส่งออกสําคัญและเกือบทุกหมวดสินค้า ส่วนมูลค่าการนําเข้าสินค้าขยายตัวสูงที่ร้อยละ 22.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน และหากหักทองคําขยายตัวร้อยละ 28.6 ตามการนําเข้าที่ขยายตัวในทุกหมวดสินค้าสําคัญ

     ขณะที่ดุลการค้าเดือนมกราคม ที่ผ่านมาเกินดุล 1,331 ล้านดอลลาร์ ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 5,211 ล้านดอลลาร์

      ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 0.68 ชะลอลงจากร้อยละ 0.78 ในเดือนก่อนตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ขยายตัวชะลอลงจากผลของฐานราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับสูงในปีก่อน ประกอบกับราคาอาหารสดโดยเฉพาะราคาเนื้อสัตว์ยังคงหดตัวหลังจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดมาก อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.58

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

        อินโฟเควสท์

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!