หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV 8


มติคณะรัฐมนตรี แต่งตั้ง 13 กุมภาพันธ์ 2561

 

      1. เรื่อง การขอเลื่อนฐานะกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐอิตาลีประจำจังหวัดภูเก็ต เป็น กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์สาธารณรัฐอิตาลี ณ จังหวัดภูเก็ต และการขอยกระดับสถานกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐอิตาลีประจำจังหวัดภูเก็ต เป็น สถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์สาธารณรัฐอิตาลี ณ จังหวัดภูเก็ต (กระทรวงการต่างประเทศ)

     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ กรณีรัฐบาลสาธารณรัฐอิตาลีมีความประสงค์ ดังนี้

     1. เลื่อนฐานะ นายฟรันเชสโก เปนซาโต (Mr. Francesco Pensato) กงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐอิตาลีประจำจังหวัดภูเก็ต เป็น กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์สาธารณรัฐอิตาลี ณ จังหวัดภูเก็ต

     2. ยกระดับสถานกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐอิตาลีประจำจังหวัดภูเก็ต เป็น สถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์สาธารณรัฐอิตาลี ณ จังหวัดภูเก็ต โดยมีเขตกงสุลครอบคลุมจังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรัง นครศรีธรรมราช ปัตตานี พังงา พัทลุง นราธิวาส ยะลา สงขลา สตูล และสุราษฎร์ธานี

     2. เรื่อง รัฐบาลสาธารณรัฐแซมเบียเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐแซมเบียประจำประเทศไทย (กระทรวงการต่างประเทศ)

     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ กรณีรัฐบาลสาธารณรัฐแซมเบียมีความประสงค์ขอแต่งตั้ง นายวาลูบีทา อีมาคันโด (Mr. Walubita Imakando) ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐแซมเบียประจำประเทศไทย คนใหม่ โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย สืบแทน นายลูพันโด ออกัสติน เฟสตัส คาโทโลชี อึมวาพี (Mr. Lupando Augustine Festus Katoloshi Mwape) ซึ่งเป็นเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐแซมเบียประจำประเทศไทยคนล่าสุด ที่ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายอักษรสาส์นตราตั้ง เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2552 ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ

      3. เรื่อง การแต่งตั้งโฆษกกระทรวงวัฒนธรรม

      คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ การเปลี่ยนแปลงโฆษกประจำ วธ. ซึ่งแต่งตั้งให้ นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ รองปลัด วธ. เป็นโฆษก วธ. แทน นางพิมพ์กาญจน์ ชัยจิตร์สกุล รองปลัด วธ. ทั้งนี้ ตามคำสั่ง วธ. ที่ 5/2561

               4. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ (กระทรวงการต่างประเทศ)

               คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 3 ราย ดังนี้

               1. นายพิชยพันธุ์ ชาญภูมิดล เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก

               2. นายทรงพล สุขจันทร์ อธิบดีกรมยุโรป ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

               3. นางศริกานต์ พลมณี อัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงซันติอาโก สาธารณรัฐชิลี

               ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่จะว่าง สับเปลี่ยนหมุนเวียน และทดแทนผู้เกษียณอายุราชการ ซึ่งการแต่งตั้งข้าราชการให้ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศ ตามข้อ 2. และ 3. ได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ

               5. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน)

               คณะรัฐมนตรีมติอนุมัติตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอแต่งตั้ง พลตำรวจตรี รมย์สิทธิ์ วีริยาสรร รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง

               6. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่พ้นจากตำแหน่ง

               คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้ง ศาสตราจารย์พิเศษกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่พ้นจากตำแหน่ง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นไป และให้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน

               7. เรื่อง การปรับปรุงคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน (กขป.)

               คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการปรับปรุงคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน (กขป.) ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ ทั้ง 6 คณะ ตามที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2558 และมอบหมายภารกิจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รายละเอียดดังต่อไปนี้

1. การมอบหมายรองนายกรัฐมนตรีเป็นรองประธานกรรมการฯ

คณะที่ 1.

 

ด้านความรับผิดชอบ

เดิม (มติ ครม. 17 พ.ย.58)

- ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และระบบการศึกษา

- ด้านเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง การลงทุนภาครัฐ และโครงสร้างพื้นฐาน

ใหม่

- ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และระบบการศึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศ

รองนายกรัฐมนตรีที่มอบหมายให้เป็นรองประธาน

เดิม(มติ ครม. 17 พ.ย. 58)

- พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง

ใหม่

- คงเดิม

คณะที่ 2.

ด้านความรับผิดชอบ

เดิม (มติ ครม. 17 พ.ย.58)

- ด้านเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง การลงทุนภาครัฐ และโครงสร้างพื้นฐาน

ใหม่

- ด้านเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง การลงทุนภาครัฐ และโครงสร้างพื้นฐาน ท่องเที่ยว และการกีฬา

รองนายกรัฐมนตรีที่มอบหมายให้เป็นรองประธาน

เดิม (มติ ครม. 17 พ.ย. 58)

- นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์

ใหม่

- คงเดิม

คณะที่ 3.

ด้านความรับผิดชอบ

เดิม (มติ ครม. 17 พ.ย.58)

- ด้านระบบราชการ กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และสร้างความปรองดองสมานฉันท์

ใหม่

- ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน ระบบราชการ กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม สื่อสารมวลชน วัฒนธรรมศาสนา และ

รองนายกรัฐมนตรีที่มอบหมายให้เป็นรองประธาน

เดิม (มติ ครม. 17 พ.ย. 58)

- นายวิษณุ เครืองาม

ใหม่

- คงเดิม

คณะที่ 4.

ด้านความรับผิดชอบ

เดิม (มติ ครม. 17 พ.ย.58)

- ด้านสาธารณสุข

ใหม่

- ด้านสาธารณสุขและสังคม

รองนายกรัฐมนตรีที่มอบหมายให้เป็นรองประธาน

เดิม (มติ ครม. 17 พ.ย. 58)

- พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย

ใหม่

- พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ

คณะที่ 5.

 

ด้านความรับผิดชอบ

เดิม (มติ ครม. 17 พ.ย.58)

- ด้านความมั่นคง ลดความเหลื่อมล้ำ การเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเรื่องที่เป็นวาระเร่งด่วนและการแก้ไขปัญหาการดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศ

ใหม่

- คงเดิม

รองนายกรัฐมนตรีที่มอบหมายให้เป็นรองประธาน

เดิม (มติ ครม. 17 พ.ย. 58)

- พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ

ใหม่

- คงเดิม

คณะที่ 6.

ด้านความรับผิดชอบ

เดิม (มติ ครม. 17 พ.ย.58)

- ด้านการท่องเที่ยว วัฒนธรรม และการกีฬา

ใหม่

- ยกเลิก

รองนายกรัฐมนตรีที่มอบหมายให้เป็นรองประธาน

เดิม (มติ ครม. 17 พ.ย. 58)

- พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร

ใหม่

2. ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ การขับเคลื่อน และการปฏิรูปประเทศ

รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้เป็นรองประธานกรรมการในกขป.

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง กขป. 1 ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระบบการศึกษา และเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

ยุทธศาสตร์ชาติ

- ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์

 

วาระขับเคลื่อน

วาระขับเคลื่อนเดิม

1) พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกช่วงอายุ

2) พัฒนาระบบและกลไกการเรียนรู้ การจัดการศึกษา การปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรการสอน การประกันคุณภาพการศึกษา

3) พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา

4) เชื่อมโยงระบบการศึกษากับตลาดแรงงาน

5) เตรียมความพร้อมแรงงานสู่ประชาคมอาเซียนตามแนวกรอบคุณวุฒิอาเซียน

6) เตรียมความพร้อมสู่สังคมสูงอายุ

วาระปฏิรูป

วาระปฏิรูปเดิม

1) ปฏิรูปการศึกษาและระบบการเรียนรู้

2) ปฏิรูประบบการคลังด้านการศึกษา

3) ปฏิรูประบบวิจัย

4) ปฏิรูประบบสวัสดิการสังคม

5) ปฏิรูปแรงงาน และส่งเสริมชุมชนเข้มแข็ง

(เพิ่มเติม)

6) ปฏิรูปเทคโนโลยีสารสนเทศ

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กขป. 2 ด้านเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง การลงทุนภาครัฐ และโครงสร้างพื้นฐาน ท่องเที่ยว และการกีฬา

ยุทธศาสตร์ชาติ

- ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

 

วาระขับเคลื่อน

วาระขับเคลื่อนเดิม

1) ดูแลค่าครองชีพให้แก่ผู้มีรายได้น้อย

2) ส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม

3) ส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

4) สร้างสังคมผู้ประกอบการ ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม

5) ปรับปรุงการจัดเก็บภาษีเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและปรับโครงสร้างภาษีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

6) พัฒนาอุตสาหกรรมและส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษ

7) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (คมนาคม/ขนส่ง/Logistics)

8) บริหารจัดการพลังงานและส่งเสริมพลังงานทดแทน

9) ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล

10) เตรียมพร้อมเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจ เช่น ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership : TPP)

 

(เพิ่มเติม)

11) การพัฒนาการท่องเที่ยวทุกมิติ ทั้งแหล่งท่องเที่ยว การตลาด ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม บุคลากรด้านการท่องเที่ยว

12) ส่งเสริมให้ศิลปวัฒนธรรมมีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ

13) ส่งเสริมการกีฬา โดยเฉพาะกีฬาอาชีพ

วาระปฏิรูป

วาระปฏิรูปเดิม

1) ส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

2) ปฏิรูปการเงิน ฐานราก

3) ปฏิรูปสหกรณ์

4) ปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ

5) ปฏิรูประบบข้อมูลเพื่อการพัฒนาประเทศ

 

(เพิ่มเติม)

6) ส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยวในภูมิภาค และการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

7) ปฏิรูปเศรษฐกิจ

8) ปฏิรูปด้านพลังงาน

9) ปฏิรูปภาคการผลิตและบริการ ให้มุ่งสู่ความเป็นเลิศในระดับโลกและในระดับภูมิภาค

นายวิษณุ เครืองาม กขป. 3 ด้านการเมือง ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ระบบราชการ กฎหมาย กระบวนการยุติธรรม ด้านสื่อสารมวลชน วัฒนธรรมศาสนา และสร้างความปรองดองสมานฉันท์

ยุทธศาสตร์ชาติ

- ยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

 

วาระขับเคลื่อน

วาระขับเคลื่อนเดิม

1) ปรับปรุงกฎหมายที่ล้าสมัย หมดความจำเป็น ซ้ำซ้อน

2) เพิ่มประสิทธิภาพและส่งเสริมคุณธรรมในการบริหารงานภาครัฐ

3) ปรับบทบาทองค์การมหาชน

4) กำกับดูแลให้คดีทางการเมืองเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียมกัน

(เพิ่มเติม)

5) ส่งเสริมสถาบันศาสนา

6) การป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน

วาระปฏิรูป

วาระปฏิรูปเดิม

1) ปฏิรูปการกระจายอำนาจท้องถิ่น

2) ปฏิรูปองค์กรยุติธรรมและองค์กรอิสระ

3) ปรับโครงสร้างอำนาจส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น

4) สร้างความสมานฉันท์ในสังคม

 

(เพิ่มเติม)

5) ปฏิรูปการเมือง

6) ปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน

7) ปฏิรูปกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม

8) สื่อสารมวลชน

พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ กขป. 4 ด้านสาธารณสุข และสังคม

ยุทธศาสตร์ชาติ

- ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม

วาระขับเคลื่อน

วาระขับเคลื่อนเดิม

1) ให้บริการสุขภาพอย่างทั่วถึง สร้างระบบหลักประกันสุขภาพ ดูแลและส่งเสริมสุขภาพทุกช่วงอายุ

2) ส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางสุขภาพ (Medical Hub)

3) ส่งเสริมแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก

4) ป้องกันโรคอุบัติใหม่

(เพิ่มเติม)

5) สร้างโอกาสการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพของรัฐให้ครอบคลุมและทั่วถึง

6) พัฒนาระบบหลักประกันทางสังคมให้มีประสิทธิภาพ

วาระปฏิรูป

1) ปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข

2) ปฏิรูประบบการคลังสุขภาพ

3) ปฏิรูประบบประกันสุขภาพ

(เพิ่มเติม)

4) ปฏิรูปสาธารณสุข

5) ปฏิรูประบบสวัสดิการสังคม

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ กขป. 5 ด้านความมั่นคง ลดความเหลื่อมล้ำ การเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเรื่องที่เป็นวาระเร่งด่วนและการแก้ไขปัญหาการดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศ

ยุทธศาสตร์ชาติ

- ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านความมั่นคง ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

วาระขับเคลื่อน

วาระขับเคลื่อนเดิม

1) แก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยยึดหลัก เข้าใจ เข้าถึง พัฒนาตามแนวทางสันติวิธี

2) แก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย

3) ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

4) จัดที่ดินทำกิน จัดหาที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อย

5) จัดระเบียบสังคมและดูแลผู้ได้รับผลกระทบ

6) ปรับโครงสร้างการเพาะปลูกพืชเกษตร (Zoning)

7) บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

8) ปกป้องฟื้นฟูพื้นที่อนุรักษ์และทรัพยากรป่าไม้ จัดการภัยพิบัติและภัยแล้ง จัดการขยะมูลฝอย

9) ป้องกันและปราบปรามการทุจริต

10) ดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศ เช่น การปรับปรุงมาตรฐานการบินพลเรือนของไทยตามแนวทางขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization : ICAO)

11) การดำเนินการเกี่ยวกับการทำประมง ที่ผิดกฎหมาย (Illegal Unreported and Unregulated Fishing: IUU Fishing)

 

วาระปฏิรูป

วาระปฏิรูปเดิม

1) ปฏิรูปภาคเกษตร

2) ปฏิรูปการจัดการที่ดิน

3) ปฏิรูปการผังเมือง

4) การจัดการภัยพิบัติและภาวะโลกร้อน

(เพิ่มเติม)

               5) ปฏิรูปด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

               3. ให้รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นรองประธานกรรมการ พิจารณาทบทวนปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการฯ ให้สอดคล้องกับวาระการขับเคลื่อนและปฏิรูป แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีรวบรวมเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

               4. มอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ) รับผิดชอบการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนและท้องถิ่นในการพัฒนาเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

               5. มอบหมายให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล) รับผิดชอบการประสานและขับเคลื่อนการบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

               8. เรื่อง การปรับปรุงชื่อหน่วยงานขององค์ประกอบภายใต้คณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรีตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2560

               คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบเกี่ยวกับการปรับปรุงชื่อหน่วยงานขององค์ประกอบภายใต้คณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรีตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2560 จำนวน 3 คณะ ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้

               1. คณะกรรมการผู้แทนรัฐบาลเพื่อพิจารณาทำความตกลงเกี่ยวกับการขนส่งทางบกกับรัฐบาลต่างประเทศเป็นประจำ

               1.1 เดิม ผู้อำนวยการสำนักความร่วมมือระหว่างประเทศ กรรมการและเลขานุการ เป็น ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ กรรมการและเลขานุการ

               1.2 เดิม เจ้าหน้าที่สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ เป็น เจ้าหน้าที่กองการต่างประเทศ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

               2. คณะกรรมการอำนวยความสะดวกการขนส่งแห่งชาติ

               2.1 เดิม ผู้อำนวยการสำนักความร่วมมือระหว่างประเทศ กรรมการและเลขานุการ เป็น ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ กรรมการและเลขานุการ

               2.2 เดิม เจ้าหน้าที่สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ เป็น เจ้าหน้าที่กองการต่างประเทศ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

               3. คณะกรรมการประสานการขนส่งผ่านแดนแห่งชาติ

               3.1 เดิม ผู้อำนวยการสำนักความร่วมมือระหว่างประเทศ กรรมการและเลขานุการ เป็น ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ กรรมการและเลขานุการ

               3.2 เดิม เจ้าหน้าที่สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ เป็น เจ้าหน้าที่กองการต่างประเทศ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

                    ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561 

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!