หมวดหมู่: พาณิชย์

01 CFABAF8อาหารทะเล


กรมเจรจาฯ หนุน 'ปลากุเลาเค็ม-ผ้าบาติก-ผลไม้-อาหารทะเล'3 จังหวัดใต้ใช้เอฟทีเอส่งออก

   กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศลงพื้นที่ติวเข้มเกษตรกร ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอในการส่งออกสินค้าเจาะตลาดอาเซียน ชี้สินค้ามีศักยภาพ ปลากุเลาเค็ม ผ้าบาติก ผลไม้ อาหารทะเลแปรรูป พร้อมนำทีมผู้เชี่ยวชาญช่วยแนะนำการปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้ตรงตามความต้องการของตลาด

      นายดวงอาทิตย์ นิธิอุทัย รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงผลการลงพื้นที่ จ.นราธิวาส เพื่อจัดทำโครงการ “สร้างเครือข่ายพาสินค้าและผู้ประกอบการจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สู่ตลาดอาเซียน” ระหว่างวันที่ 27-28 ส.ค.2562 ที่ผ่านมา ว่า กรมฯ ได้จัดสัมมนาชี้แจงให้เกษตรกร ผู้ประกอบการ และวิสาหกิจชุมชน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เห็นถึงความสำคัญของความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ที่สามารถใช้ประโยชน์จากการลดภาษีนำเข้า และผลักดันการส่งออกสินค้าชุมชน สินค้าท้องถิ่นที่มีศักยภาพไปยังตลาดอาเซียนได้ โดยเฉพาะมาเลเซียและสิงคโปร์ ซึ่งเป็นตลาดเพื่อนบ้านของไทย โดยมีเกษตรกร ผู้ประกอบการในพื้นที่กว่า 160 คนเข้าร่วม

      ทั้งนี้ ยังได้ลงพื้นที่ไปพบปะกับผู้ผลิตปลากุเลาเค็มตากใบ ซึ่งเป็นสินค้าที่ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) และหารือกับกลุ่มผู้ประกอบการผ้าบาติก ซึ่งเป็นผ้าย้อมสีที่รวมศิลปะด้านฝีมือและเทคนิคการย้อมสีเข้าด้วยกัน และนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เสื้อ ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ เป็นต้น รวมทั้งพบปะกับเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ เช่น ทุเรียน เงาะ ลองกอง มังคุด และสินค้าประมงแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป โดยได้เน้นย้ำถึงโอกาสธุรกิจและความเป็นไปได้ของสินค้าท้องถิ่นในการขยายการส่งออกโดยใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอ แต่ผู้ประกอบการต้องพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพ ความปลอดภัยของอาหาร สินค้าฮาลาล เพื่อสร้างความแตกต่าง และจำหน่ายได้ในราคาที่สูงขึ้น  

       ส่วนช่องทางการส่งออกของผู้ประกอบการในจังหวัดนราธิวาส ปัจจุบันมีการส่งออกไปยังมาเลเซียและสิงคโปร์ ผ่านด่านถาวร 3 แห่งในจังหวัด คือ ด่านสุไหงโกลก ด่านตากใบ และด่านบูเก๊ะตา

      นอกจากนี้ ในช่วงการลงพื้นที่ กรมฯ ยังได้นำผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าการตลาดมาช่วยวิเคราะห์สินค้า การปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้ตรงตามความต้องการของตลาด และแนะนำโอกาสทางการตลาดที่เหมาะสมให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการ โดยมีการนำสินค้ามาให้วิเคราะห์และร่วมจำหน่ายเป็นจำนวนมาก เช่น ผลิตภัณฑ์ผ้าบาติก น้ำผึ้งชันโรง ปลากุเลาเค็ม ทุเรียนกวน ข้าวเกรียบปลากรือโป๊ะ โดยสามารถทำให้ผู้ประกอบการเห็นถึงช่องทางการเพิ่มมูลค่าสินค้า และการใช้เอฟทีเอในการส่งออก

 

กรมเจรจาฯ เสริมแกร่งผู้ประกอบการ 3 จังหวัดชายแดนใต้ใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอ ลุยตลาดอาเซียน

     กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ลงพื้นที่นราธิวาส ติวเข้มผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ชี้ช่องนำสินค้าศักยภาพของจังหวัดชายแดนใต้ อาทิ ปลากุเลาเค็ม ผ้าบาติก อาหารทะเลแปรรูป และผลไม้สด ใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอ กระจายสินค้าสู่ตลาดพรีเมี่ยมในอาเซียน

     นายดวงอาทิตย์ นิธิอุทัย รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ลงพื้นที่ จ.นราธิวาส จัดโครงการ “สร้างเครือข่ายพาสินค้าและผู้ประกอบการจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สู่ตลาดอาเซียน” ระหว่างวันที่ 27-28 สิงหาคม 2562 เพื่อเผยแพร่ความสำคัญของการจัดทำความตกลงการค้าเสรี หรือเอฟทีเอ โดยเน้นสินค้าท้องถิ่นที่มีศักยภาพ เพื่อเปิดตลาด ลดภาษีนำเข้าสินค้า และลดต้นทุนการทำธุรกิจ รวมถึงใช้ความได้เปรียบในพื้นที่จังหวัดชายแดนซึ่งเป็นประตูการค้า และความใกล้ชิดด้านวัฒนธรรม กระตุ้นการส่งออกสินค้าโดยใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอไปตลาดอาเซียน โดยเฉพาะมาเลเซียและสิงคโปร์

     นายดวงอาทิตย์ กล่าวเสริมว่า กรมฯ ได้จัดเสวนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ช่องทางรวยของสินค้าเกษตรจากเอฟทีเอ” และ “ทำอย่างไรให้สินค้าเกษตรสู่ตลาดเอฟทีเอ” เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2562 ณ โรงแรม ดิอิมพีเรียล นราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ซึ่งได้รับผลตอบรับอย่างดีจากผู้ประกอบการและเกษตรกรที่เข้าร่วมกว่า 160 คน ให้ได้รับทราบช่องทางการใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอ และการทำการตลาด นอกจากนี้ ยังมีผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าการตลาดมาติวเข้มวิเคราะห์สินค้า และแนะนำตลาดส่งออกที่เหมาะสมให้กับผู้ประกอบการ และเกษตรกรได้นำสินค้ามาวิเคราะห์ และร่วมจำหน่ายอย่างคับคั่ง อาทิ ผลิตภัณฑ์ผ้าบาติก น้ำผึ้งชันโรง ปลากุเลาเค็ม ทุเรียนกวน ข้าวเกรียบปลากรือโป๊ะ โดยกรมฯ เชื่อมั่นว่า การจัดงานครั้งนี้ จะช่วยให้ผู้ประกอบการมองเห็นช่องทางการเพิ่มมูลค่าสินค้าและขยายช่องทางการจำหน่ายไปตลาดโลกด้วยการใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอ โดยเฉพาะตลาดอาเซียน ซึ่งได้ยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าส่วนใหญ่เหลือร้อยละศูนย์แล้ว

     นอกจากนี้ กรมฯ ยังได้ลงพื้นที่พบปะผู้ผลิตปลากุเลาเค็มตากใบ ซึ่งเป็นสินค้าที่ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือสินค้า GI แล้ว ทำให้จำหน่ายสินค้าได้ราคาสูง เป็นสินค้าที่มีเฉพาะในพื้นที่ มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ เป็นที่ต้องการของตลาด และได้หารือกับกลุ่มผู้ประกอบการผ้าบาติกที่แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เสื้อ ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ เป็นต้น ซึ่งเป็นผ้าย้อมสีที่รวมศิลปะด้านฝีมือและเทคนิคการย้อมสีเข้าด้วยกัน โดยมีกลุ่มลูกค้าเป็นชาวไทยและมาเลเซีย และยังมีสินค้าที่น่าสนใจอีกหลายรายการ เช่น สินค้าเกษตร ทั้งทุเรียน เงาะ ลองกอง มังคุด และสินค้าประมงแช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปต่างๆ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันส่งออกไปยังมาเลเซียและสิงคโปร์ ผ่านด่านถาวร 3 แห่ง ในจังหวัดคือ ด่านสุไหงโกลก ด่านตากใบ และด่านบูเก๊ะตา เป็นประตูเชื่อมโยงกับตลาดอาเซียน โดยกรมฯ ได้เน้นย้ำถึงโอกาสธุรกิจและความเป็นไปได้ของสินค้าท้องถิ่นในการขยายการส่งออก แต่ผู้ประกอบการต้องพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพ ความปลอดภัยของอาหาร สินค้าฮาลาล สร้างความแตกต่างจากสินค้าอาเซียน เพื่อให้จำหน่ายสินค้าในราคาที่สูงขึ้น  

     ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนแรก ของปี 2562 (ม.ค.-ก.ค.) การค้ารวมในอาเซียนมีมูลค่า 63,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นมูลค่าส่งออกจากไทยไปอาเซียน 36,00 ล้านเหรียญสหรัฐ และมูลค่านำเข้า 26,400 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไทยได้ดุลการค้า 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าส่งออกจากจังหวัดชายแดนภาคใต้มุ่งสู่ตลาดอาเซียนตอนล่าง ได้แก่ มาเลเซีย โดยการค้าไทย-มาเลเซีย คิดเป็นร้อยละ 25 ของการค้าทั้งหมดในอาเซียน และการค้ากว่าร้อยละ 70 ของการค้าไทย-มาเลเซีย เป็นการค้าชายแดน เช่น อาหาร สินค้าประมง สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เครื่องใช้พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยางพาราแปรรูป เป็นต้น ส่วนสินค้านำเข้าสำคัญ เช่น เครื่องสำอาง ขนมขบเคี้ยว เครื่องดื่ม เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ แผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90

banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!